จักรพรรดิยงเจิ้ง
จักรพรรดิยงเจิ้ง

จักรพรรดิยงเจิ้ง

สมเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง (จีน: 雍正; พินอิน: Yōngzhèng) ทรงพระราชสมภพเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิน , อิ้นเจวิน (ภาษาจีน : 胤禛) เล่ากันว่า พระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) องค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช" (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีแม้จะเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนได้เฉพาะฉบับที่เป็นตัวอักษรฮั่นเท่านั้น แต่ฉบับอักษรแมนจูที่มีการเขียนคู่กันด้วยไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ)เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำคือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาทจากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีตเป็นแต่งตั้งโดยเป็นความลับโดยเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรงและจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เองอีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคตแต่ในระหว่างที่ครองราชย์ต้องพบกับปัญหากบฏหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกันยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครองการบริหารเอาไว้หลายด้านกิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ ตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น รวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง) จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน และนำไปเสริมเติมแต่งเพื่อสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง จักรพรรดิย่งเจิ้งสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2278 ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน โดยมีสาเหตุคล้ายกับการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีอ่องเต้ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังก์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนามเมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง[1] [2]

จักรพรรดิยงเจิ้ง

พระราชบุตร องค์ชายหงฮุย
องค์ชายหงจุน
องค์ชายหงสือ
องค์ชายหงลี่
องค์ชายหงจาน
องค์ชายหงซาน
องค์ชายฟูยี่
องค์ชายฟูฮุย
องค์ชายฟูเป่ย
องค์ชายหงโจ้ว
พระราชธิดาพระองค์แรก(ไม่ทราบพระนาม)
พระราชธิดาเหอซั่วหวายเค่อ
พระราชธิดาพระองค์ที่3(ไม่ทราบพระนาม)
พระราชธิดาพระองค์ที่สี่(ไม่ทราบพระนาม)
พระนามเต็มรัชศกพระนามหลังสิ้นพระชนม์วัดประจำรัชกาล
พระนามเต็ม
Chinese: Aixin-Jueluo Yinzhen 愛新覺羅胤禛
Manchu: Aisin-Gioro In Jen
รัชศก
ยงเจิ้ง (Yongzheng , 1722 - 1735)
พระนามหลังสิ้นพระชนม์
จักรพรรดิ จิงเถียน Changyun Jianzhong Biaozheng เหวินหวู่ Yingming Kuanren Xinyi Ruisheng Daxiao Zhicheng Xian
敬天昌運建中表正文武英明寬仁信毅睿聖大孝至誠憲皇帝
วัดประจำรัชกาล
Qing Shizong
清世宗
ก่อนหน้า จักรพรรดิคังซี
ฝังพระศพ สุสานไท่หลิง สุสานพระราชวงศ์ชิงฝ่ายตะวันออก
ครองราชย์ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1722 - 8 ตุลาคม ค.ศ. 1735
(700112000000000000012 ปี 7002285000000000000285 วัน)
จักรพรรดินี สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวจิงเสี้ยน
สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวเซิงเสี้ยน
พระราชมารดา สมเด็จพระพันปีหลวงกงเหริน
พระราชบิดา จักรพรรดิคังซี
สวรรคต 8 ตุลาคม ค.ศ. 1735 (56 ปี)
ปักกิ่ง, จักรวรรดิชิง
ถัดไป จักรพรรดิเฉียนหลง
ประสูติ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1678(1678-12-13)
องค์ชายอิ่นเจิง

ใกล้เคียง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิ จักรพรรดิคังซี จักรพันธ์ แก้วพรม จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย