จักรพรรดิเอากุสตุส
จักรพรรดิเอากุสตุส

จักรพรรดิเอากุสตุส

อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส (ละติน: IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS AVGVSTVS; 23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 19 สิงหาคม ค.ศ. 14) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 14จักรพรรดิเอากุสตุสมีชื่อเกิดว่า กาอิอุส อ็อกตาวิอุส ทูรินุส (GAIVS OCTAVIVS THVRINVS) เขามาจากสายขุนนางที่เก่าแก่และมั่งคั่งสายหนึ่งของตระกูลอ็อกตาวิอุสซึ่งเดิมเป็นตระกูลสามัญชน ต่อมา จูเลียส ซีซาร์ (พี่ชายของยายของเขา) ถูกลอบสังหารเมื่อ 44 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปรากฏว่าอ็อกตาวิอุสได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบุตรบุญธรรมและทายาททางการเมืองตามพินัยกรรมของซีซาร์ เขาจึงเปลี่ยนชื่อตามธรรมเนียมโรมันเป็น กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ อ็อกตาวิอานุส (GAIVS IVLIVS CAESAR OCTAVIANVS) ไม่นานนักเขาก็ตัดชื่อ "อ็อกตาวิอานุส" ออก และเปลี่ยนชื่ออีกสองครั้งเป็น กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส (GAIVS IVLIVS CAESAR DIVI FILIVS) และ อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส (IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS) แต่ระหว่างนี้ นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันยังคงเรียกชื่อเขาอย่างสั้นว่า "อ็อกตาวิอานุส"[1] จนกระทั่งในปีที่ 27 ก่อนคริสต์ศักราช วุฒิสภาโรมันได้ลงคะแนนเสียงถวายพระนามเฉลิมพระเกียรติว่า เอากุสตุส (AVGVSTVS, แปลว่า "ผู้ได้รับความเคารพนับถือ") ทำให้พระนามอย่างเป็นทางการกลายเป็น อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส นับแต่นั้นในปีที่ 43 ก่อนคริสต์ศักราช อ็อกตาวิอานุสเข้าร่วมกองกำลังกับมาร์ก แอนโทนี และมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส ในการปกครองระบอบเผด็จการทหารซึ่งรู้จักกันในชื่อคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สอง ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการ ออกเตเวียนมีอำนาจปกครองเหนือโรมและอีกหลายจังหวัดของสาธารณรัฐ แต่ในที่สุดคณะผู้สำเร็จราชการดังกล่าวก็ล่มสลายลงเพราะความทะเยอทะยานของผู้ร่วมคณะทั้งสามเอง แลปิดุสถูกเนรเทศ และแอนโทนีได้ทำอัตวินิบาตกรรมหลังจากความพ่ายแพ้ในยุทธนาวีที่อักติอูงโดยกองเรือของอ็อกตาวิอานุส (ภายใต้บังคับบัญชาของมาร์กุส วิปซานิอุส อากริปปา) ในปีที่ 31 ก่อนคริสต์ศักราชหลังจากการล่มสลายของคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สอง อ็อกตาวิอานุสได้ฟื้นฟูสาธารณรัฐโรมัน โดยให้อำนาจบริหารอยู่ภายใต้วุฒิสภา แต่ในทางปฏิบัติเขาเป็นผู้ผูกขาดอำนาจเผด็จการไว้แต่เพียงผู้เดียว อ็อกตาวิอานุสใช้เวลาหลายปีเพื่อพัฒนาโครงสร้างที่ชัดเจนที่ซึ่งสาธารณรัฐจะสามารถอยู่ภายใต้การนำของผู้นำเพียงคนเดียวได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งผลที่ได้กลายมาเป็นจักรวรรดิโรมัน ตำแหน่งจักรพรรดิมิใช่ตำแหน่งอย่างผู้เผด็จการโรมันที่ซีซาร์และซุลลาเคยรับตำแหน่งมาก่อนหน้านี้ ด้วยเขาได้ยุบตำแหน่งดังกล่าวเมื่อมหาชนโรมัน "ยอมรับให้เขามีอำนาจเผด็จการ"[2] ตามกฎหมาย เอากุสตุสทรงมีอำนาจหลายประการที่มีอยู่ตลอดพระชนม์ชีพโดยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา รวมไปถึงตริบูนุสของสภาสามัญชนและเกงซอร์ พระองค์ทรงเป็นกงสุลจนกระทั่งปีที่ 23 ปีก่อนคริสต์ศักราช[3] พระราชอำนาจสำคัญของพระองค์มาจากความสำเร็จทางการเงินและทรัพยากรซึ่งได้รับระหว่างการสงคราม การสร้างระบบอุปถัมภ์ตลอดทั้งจักรวรรดิ ความจงรักภักดีของนายทหารและทหารผ่านศึกจำนวนมาก อำนาจซึ่งได้รับจากวุฒิสภา[4] และความเคารพจากประชาชน การที่พระองค์ควบคุมกองทัพโรมันส่วนใหญ่ได้ถือเป็นภัยติดอาวุธที่อาจใช้คุกคามวุฒิสภา โดยทำให้พระองค์สามารถบีบบังคับการตัดสินใจของวุฒิสภาได้ และด้วยความสามารถในการกำจัดคู่แข่งในวุฒิสภาโดยการใช้กำลัง วุฒิสภาที่เหลือจึงยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์ การปกครองด้วยระบบอุปถัมภ์ อำนาจทางการทหาร และการสะสมตำแหน่งในระบบสาธารณรัฐเดิมได้กลายมาเป็นรูปแบบการปกครองสำหรับจักรพรรดิในเวลาต่อมา

จักรพรรดิเอากุสตุส

ราชวงศ์ ยูลิอุส-เกลาดิอุส
ฝังพระศพ สุสานเอากุสตุส, โรม
ครองราชย์ 16 มกราคม 27 ปีก่อน ค.ศ. –
19 สิงหาคม ค.ศ. 14 (40 ปี)
พระราชมารดา อาติอา บัลบา ไกโซนิอา
พระราชบิดา
พระนามเต็ม
พระนามเต็ม
  • กาอิอุส อ็อกตาวิอุส ทูรินุส
    (ชื่อเกิด จนถึง 44 ปีก่อน ค.ศ.)
  • กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ อ็อกตาวิอานุส
    (44–42 ปีก่อน ค.ศ.)
  • กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส
    (42–38 ปีก่อน ค.ศ.)
  • อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส
    (38–27 ปีก่อน ค.ศ.)
  • อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส
    (27 ปีก่อน ค.ศ. จนกระทั่งสวรรคต)
สวรรคต 19 สิงหาคม ค.ศ. 14 (75 ปี)
โนลา, อีตาลิอา, จักรวรรดิโรมัน
ถัดไป จักรพรรดิติแบริอุส
ประสูติ 23 กันยายน 63 ปีก่อน ค.ศ.
โรม, สาธารณรัฐโรมัน
กาอิอุส อ็อกตาวิอุส ทูรินุส
คู่อภิเษก
ศาสนา ศาสนาโรมันโบราณดั้งเดิม

ใกล้เคียง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิ จักรพรรดิคังซี จักรพันธ์ แก้วพรม จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย