ส่วนประกอบ ของ จักรยาน

เฟรม

ดูบทความหลักที่: Bicycle frame
Diagram of a bicycle.

ในปัจจุบัน จักรยานส่วนใหญ่มีเฟรมที่ที่มีลักษณะท่อนั่งตั้งตรงซึ่งดูเหมือนจักรยานที่ขับเคลื่อนด้วยโซ่ในยุคแรก ๆ [3] จักรยานที่เฟรมมีลักษณะเช่นนี้ ส่วนมากมักจะเรียกว่า จักรยานที่เป็น ไดมอนด์ เฟรม การยึด ส่วนประกอบที่เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มี 2 ชิ้น: สามเหลี่ยมที่เป็นส่วนประกอบด้านหน้า และสามเหลี่ยมที่เป็นส่วนประกอบด้านหลัง สามเหลี่ยมที่เป็นส่วนประกอบด้านหน้าประกอบด้วย ถ้วยคอ, ท่อนอนบน, ท่อล่าง, และท่อนั่ง ถ้วยคอ ประกอบด้วย ชุดลูกปืนแบรริ่ง เพื่อใส่ ตะเกียบหน้า เพื่อใช้ในการบังคับเลี้ยวมีความลื่นและทรงตัวได้ดี ท่อนอนบนจะเชื่อมต่อกับถ้วยคอ และเชื่อมต่อไปยังท่อนั่งส่วนบน ท่อล่างจะเชื่อมต่อระหว่างถ้วยคอ ไปยัง กะโหลก สามเหลี่ยมที่เป็นส่วนหลัง ประกอบด้วย ท่อนั่ง และ ตะกียบโซ่ และ ตะเกียบหลัง ตะเกียบโซ่ จะวางขนานกับ โซ่ เชื่อมต่อจาก กะโหลก ไปยัง ดรอปเอาท์ ที่แกนล้อหลัง สอดไว้ ตะเกียบหลังจะเชื่อมต่อจากท่อนั่งส่วนบน (จุดเดียวกัน หรือใกล้กันของ ท่อนอนบน) ไปยังปลายตะเกียบหลัง

A Triumph with a step-through frame.

ในอดีต เฟรมจักรยานสำหรับผู้หญิง จะมีท่อบนเชื่อมต่อไปยังกลางท่อนั่ง แทนที่จะเป็นท่อนั่งส่วนบน เพื่อลดความสูง ขณะยืนคราอมจักรยานมีส่วนสูงลดลง แต่เป็นการลดความแข็งแรงของโครงสร้างลง ความแข็งแรงในการรับน้ำหนักของท่อนั่งลดลง และเฟรมจักรยานทั่วไป จะมีจุดอ่อนที่จุดนี้ การออกแบบนี้ เรียกว่า เฟรมผู้หญิง step-through frame หรือ open frame โดยผู้ขี่สามารถขึ้นนั่งบนอานหรือลงจากอานโดยที่ไม่ต้องยกขาสูง หรือขึ้นลงง่ายแม้ว่าสวมกระโปรง ในขณะที่ เฟรมแบบผู้หญิง พัฒนาไปใช้เฟรมอีกแบบหนึ่งคือ เฟรมผ่าหวาย (mixte) โดยแยกท่อบนออกเป็น 2 ส่วน เล็ก ๆ วิ่งผ่านท่อนั่งไปยังตะเกียบหลังทั้งสองข้าง เฟรมแบบผู้หญิง จะมีข้อจำกัดที่จุดเชื่อมจะไม่แข็งแรง เพราะว่า ภาพลักษณ์ ที่เป็นเฟรมสำหรับผู้หญิง ทำให้ถูกมองว่าไม่จำเป็นต้องแข็งแรงมากเหมือนเฟรมทั่ว ๆ ไป

เฟรมแบบผู้หญิง ได้รับความนิยมใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะว่าขับขี่ง่าย สะดวกสบายกว่า สำหรับผู้หญิงที่นุ่งกระโปรงยาว มากกว่าเฟรมที่มีท่อบนสูง นอกจากนี้ ยังดูไม่สุภาพที่ผู้หญิงจะขี่จักรยานแล้วต้องเปิดขาเพื่อขึ้นลง และขณะปั่น ในสมัยเก่า ผู้หญิงที่ขี่จักรยานจะถูกมองว่าไม่สุภาพ

เฟรมอีกแบบหนึ่งคือ เฟรมจักรยานแบบนอนปั่น ซึ่งมีความแอร์โร่ไดนามิกสูงมากกว่าเฟรมจักรยานแบบนั่ง โดยที่ผู้ขี่จะนอนราบไปด้านหลัง โดยมีบันไดปั่นอยู่ในระนาบเดียวกับเบาะนั่ง โดยจักรยานที่ปั่นได้เร็วที่สุดในโลก คือ จักรยานแบบนอนปั่น แต่จักรยานชนิดนี้ ไม่ได้ถูกให้ใช้ในการแข่งขัน ในปี 1934 จากสมาคมจักรยาน (Union Cycliste Internationale)[33]

ในอดีต วัสดุที่ใช้ทำจักรยาน จะเป็นลักษณะเดียวกับที่ใช้ทำเครื่องบิน โดยมีเป้าหมายหลักที่ความแข็งแรง และน้ำหนักที่เบา ตั้งแต่ปี 1930 โลหะผสมได้ถูกใช้สำหรับทำเฟรมและตะเกียบหน้า ที่มีคุณภาพสูง ในปี 1980 เทคนิคการเชื่อมอะลูมิเนียมได้รับการพัฒนาไปมาก จุดนี้เป็นการทำให้การนำอะลูมิเนียมมาใช้ทำเฟรมแทนที่เหล็ก เพราะว่า อะลูมิเนียมมีน้ำหนักที่เบากว่า และจักรยานราคาแบบกลาง ๆ จะใช้อะลูมิเนียมผสมแบบต่าง ๆ ในขณะที่จักรยานที่ราคาสูง ๆ จะใช้ คาร์บอนไฟเบอร์มาทำเฟรม เพราะว่ามีน้ำหนักที่เบากว่ามาก และสามารถออกแบบให้มีรูปร่างยืดหยุ่นมากกว่าอะลูมิเนียม เพื่อให้มีความแข็งแรง วัสดุอื่น ๆ ที่ใช้ทำเฟรมและส่วนประกอบ รวมถึง ไทเทเนียม โครโมลี่จะนิยมนำมาใช้ทำเฟรมรถ จักรยานทัวริ่งเพราะช่วยให้บรรทุกสัมภาระได้ดีและช่วยให้การปั่นทางไกลไหลลื่น และโลหะผสมพิเศษอื่น ๆ ไม้ไผ่ วัสดุผสมจากธรรมชาติ ที่มีอัตราส่วนความแข็งแรงต่อ น้ำหนักสูง [34] ถูกนำมาใช้ทำจักรยานตั้งแต่ปี 1894 [35]เฟรมไม้ไผ่รุ่นล่าสุด ใช้ในการทำเฟรมหลัก และใช้กาวเชื่อมต่อโลหะ ยึดแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน [35][36][37]

ชุดขับเคลื่อน และ เกียร์

A set of rear sprockets (also known as a cassette) and a derailleur
ดูบทความหลักที่: Bicycle drivetrain systems

ชุดขับเคลื่อนเริ่มต้นจาก บันได ไปทำการหมุนจานหน้า ซึ่งเชื่อมติดอยู่กับ ขาจานและกะโหลก จักรยานโดยทั่วไปใช้โซ่เพื่อขับเคลื่อนพลังงานไปยังล้อหลัง จักรยานจำนวนน้อย ใช้ เพลาในการขับเคลื่อนพลังงาน หรืออาจจะใช้สายพานแทน ชุดขับเคลื่อนแบบไฮดรอลิคก็มีการพัฒนาขึ้นมา แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพพอและยังมีความซับซ้อนอยู่มาก

ขาของนักปั่น มีประสิทธิภาพมากที่สุดในช่วงรอบของการปั่นช่วงหนึ่งของ รอบขา เป็นตัวแปรของ อัตราทดเกียร์ ซึ่งจะช่วยให้นักปั่นสามารถคงรอบการปั่นให้คงที่ ขณะที่พื้นทางเปลี่ยนไป จักรยานบางส่วนใช้ เกียร์ดุมมีอัตราทดระหว่าง 3 - 14 เกียร์ แต่โดยส่วนมากใช้ระบบตีนผีเป็นตัวขยับโซ่ให่เปลี่ยนไปมาระหว่างเฟืองที่มีขนาดต่าง ๆ กัน เรียกว่า จานหน้า และ เฟืองหลัง ตามลำดับ เพื่อใช้เปลี่ยนอัตราทด ระบบตีนผีโดยปกติจะมีสองชุด ชุดหนึ่งจะอยู่ด้านหน้า ทำหน้าที่เลือกเปลี่ยนไปมาระหว่าง จานหน้า และ อีกชุดหนึ่งจะอยู่ด้านหลังใช้ทำหน้าที่เลือกเปลี่ยนไปมาระหว่างเฟืองหลังแต่ละตัว จักรยานส่วนใหญ่จะมีจานหน้าสองหรือสามจาน และจะมีเฟืองหลังห้าถึงสิบเอ็ดเฟือง จำนวนเกียร์ทางทฤษฎี คำนวณได้โดย จำนวนของจานหน้า คูณด้วยจำนวนของเฟืองหลัง แต่ในความเป็นจริง เกียร์จะซ้ำกันหรือไม่สามารถใช้งานในแนวทแยงเกินไปได้ ดังนั้นจำนวนเกียร์ที่ใช้ได้จริงจึงน้อยลง

ทางเลือกอื่นของชุดขับเคลื่อนคือใช้สายพานซึ่งมีฟันเล็ก ๆ อยู่เพื่อทำหน้าที่คล้ายเฟือง เป็นที่นิยมสำหรับ เดินทาง หรือการปั่นทางไกลเพราะว่าไม่ต้องการการบำรุงรักษาที่มาก แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถใช้การเปลี่ยนเกียร์ด้วยระบบตีนผีได้ สามารถใช้งานได้แบบ เกียร์เดียว หรือ ต้องใช้งานแบบ เกียร์ดุมเท่านั้น และยังมีระบบขับเคลื่อนด้วยเพลาแต่ไม่ได้รับความนิยม

ขนาดของเกียร์และช่วงเกียร์ จะมีความเหมาะสมแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล จักรยานที่มีหลายเกียร์นักปั่นสามารถเลือกใช้เกียร์ ให้เหมาะสมได้ตามแต่ละสถานการณ์ : นักปั่นอาจจะใช้เกียร์สูงเมื่อปั่นลงเขา เลือกใช้เกียร์ปานกลางสำหรับปั่นทางเรียบ และ ใช้เกียร์ต่ำ เมื่อปั่นขึ้นเขา การใช้เกียร์ต่ำหมายถึงการปั่นบันไดหลายครั้ง แต่เฟืองหลังจะหมุนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ล้อหลังหมุนเล็กน้อยเช่นกัน ดังนั้นสิ่งนี้จะทำให้การใช้พลังงานในการขับเคลื่อนโดยมีระยะทางเท่ากันแต่ออกแรงกดบันไดน้อยลง ทำให้สามารถเฉลี่ยแรงในการปั่นได้ การปั่นขึ้นเขา ที่ต้องออกแรงผลักมากขึ้น หรือการปั่นต้านลมแรง หรือการปั่นโดยบรรทุกน้ำหนักมาก เกียร์สูงจะให้ความเร็วโดยการปั่นบันไดเพียงเล็กน้อย จะไปหมุนล้อหลังหลายรอบ จะได้ความเร็วแต่ ต้องออกแรงกดบันไดมากขึ้น

A bicycle with shaft drive instead of a chain

ด้วยการขับเคลื่อนด้วยโซ่ จานหน้าที่ต่ออยู่กับขาจานจะเป็นตัวขับเคลื่อนโซ่ เมื่อนักปั่นกดบันได จะไปหมุนล้อหลัง ผ่านเฟืองหลัง (เฟืองหลัง หรือ ฟรีล้อหลัง) มีสี่ตัวเลือกสำหรับชุดเกียร์: ชุดจานหน้าที่มีเกียร์ดุมสองสปีด, จานหน้าที่มีสามจาน, เฟืองหลัง 11 เฟือง, เกียร์ดุม ที่ล้อหลัง (สามถึงสิบสี่สปีด) โดยทั่วไป จะใช้เกียร์ดุมที่ล้อหลัง แต่จานหน้าแบบหลายจานร่วมกัน และใช้เฟืองหลังหลายเฟือง (การประกอบแบบอื่น ๆ สามารถใช้งานได้ แต่ไม่ค่อยมีการใช้งานกันโดยทั่วไป)

การบังคับเลี้ยว และ เบาะนั่ง

แฮนด์ ทำหน้าที่หมุนตะเกียบหน้า ซึ่งไปหมุนล้อหน้าผ่าน คอแฮนด์ ซึ่งการหมุนจะเกิดขึ้นภายใน ถ้วยคอ แฮนด์ โดยทั่วไปมีสามแบบ แฮนด์โค้ง ใช้ทั่วไปในยุโรป และที่อื่น ๆ จนถึงปี 1970 แฮนด์ โค้งไปด้านหลัง ทิศทางเดียวกับผู้ขี่ ส่งผลให้ การจับแฮนด์เป็นธรรมชาติในท่านั่งปกติ แฮนด์หมอบ "ก้ม" เป็นการพุ่งไปข้างหน้าและม้วนลง เป็นผลให้นักปั่นได้ใช้พลังจากระบบแอร์โร่ไดนามิกเพิ่มขึ้นจากท่านั่งหมอบ ซึ่งก้มตัวลงมากกว่าท่านั่งปกติมาก มือเบรกจะอยู่ช่วงแฮนด์ด้านหน้าที่โค้งลง เพื่อการจับที่มั่นคง หรือบางครั้งจะอยู่ด้านบนในส่วนที่เรียบ ๆ ใช้สำหรับท่านั่งปกติได้ จักรยานเสือภูเขาส่วนมากใช้แฮนด์ตรง หรือ แฮนด์ยก ที่มีหลายองศา ทั้งกวาดไปด้านหลังและยกขึ้นด้านบน ซึ่งขนาดแฮนด์ที่กว้างจะเพิ่มการบังคับควบคุมล้อหน้าได้ดีขึ้น

A Selle San Marco saddle designed for women

เบาะนั่ง แตกต่างกันไปตามลักษณะที่นักปั่นต้องการ นักปั่นระยะสั้นจะชอบใช้เบาะที่มีพื้นที่ข้างขามาก เพื่อให้ขาสามารถควงได้อย่างสะดวก ความสบายของเบาะนั่งขึ้นอยู่กับท่านั่ง ของนักปั่น จักรยานปกติ หรือ กึ่งทางเรียบ นักปั่นจะนั่งบนเบาะ โดยที่น้ำหนักจะสามารถส่งไปที่ขาเพื่อ กดบันไดได้อย่างเต็มที่ เบาะที่กว้างและนุ่มจะเป็นที่นิยม สำหรับจักรยานที่ใช้แข่งขัน นักปั่นจะนั่งในลักษณะที่ก้มลงมากกว่าปกติ น้ำหนักจะกระจายไปยัง แฮนด์และเบาะ สะโพกจะต้องจะต้องอยู่กับที่ เบาะที่ยาวและแข็งจะเพิ่มประสิทธิภาพให้นักปั่นได้ การออกแบบเบาะชนิดพิเศษ โดยแบ่งตามเพศของนักปั่น ชายหรือหญิง เพื่อความสะบายตามสรีระของแต่ละเพศที่ต่างกันแม้ว่าจักรยานส่วนใหญ่ที่จำหน่าย จะมีเบาะที่แถมมาที่เหมาะกับผู้ชายมากกว่า

จักรยานนอนปั่น จะมี เบาะที่เหมือนเก้าอี้ ซึ่งนักปั่นบางคนจะบอกว่ามันนั่งสบายกว่าเบาะจักรยานปกติ โดยเฉพาะส่วนที่รองรับด้านหลัง คอ และไหล่ หรืออาการปวดข้อมือ จักรยานนอนปั่นอาจมีทั้งพวงมาลัยบนเบาะและใต้เบาะ

เบรก

ดูบทความหลักที่: Bicycle brake
Linear-pull brake, also known by the ชิมะโนะ trademark: V-Brake, on rear wheel of a mountain bike

เบรกของจักรยาน อาจจะเป็นเบรกแบบจับที่ขอบล้อ ซึ่งอาศัยความฝืดของผ้าเบรก และแรงกดที่ขอบล้อ เพื่อชลอความเร็ว ดุมเบรก จะเป็นเบรกที่รวมอยู่กับดุมล้อ หรือ ดิสเบรก ผ้าเบรกจะจับที่จานเบรก ที่ติดอยู่กับดุมล้อ จักรยานส่วนมากนิยมใช้ เบรกแบบจับขอบล้อ แต่ก็มีบ้างที่ใช้ ดิสเบรก [38] ดิสเบรก ส่วนใหญ่ใช่กับจักรยานเสือภูเขา, จักรยานสองตอน และจักรยานนอนปั่น มากกว่าจักรยานประเภทอื่น เนื่องจากต้องการแรงเบรกที่มาก เพราะว่าน้ำหนักตัวรถที่มากขึ้น และมีความซับซ้อน[39]

A front disc brake, mounted to the fork and hub

ด้วยมือเบรก แรงที่กระทำบนมือเบรกที่ติดอยู่กับ แฮนด์ และส่งผ่านแรงเบรก โดยสายเคเบิล หรือ น้ำมันเบรก ต่อไปยังผ้าเบรก การเกิดแรงฝืดบนผ้าเบรกไปยังพื้นผิวที่เคลื่อนที่ จะทำให้ชลอความเร็วของจักรยานลง ดุมเบรกหลัง อาจจะใช้แรงจากมือเบรก หรือแรงจากการปั่นถอยหลัง ซึ่งใช้เบรกแบบ คอสเตอร์ ซึ่งเป็นที่นิยมในอเมริกาเหนือ จนถึง ปี 1960

จักรยานลู่ ไม่มีเบรก เพราะว่า นักปั่นทุกคน ปั่นไปในทิศทางเดียวกัน รอบ ๆ สนาม ซึ่งไม่มีโค้งที่ต้องชลอความเร็ว นักปั่นจักรยานลู่ ยังคงสามารถที่จะชลอความเร็วของรถ เพราะว่าจักรยานลู่ใช่กียร์แบบฟิกซ์ หมายความว่า เฟืองหลังจะไม่สามารถฟรีได้ การที่ไม่มี ฟรีวิล การต้านขาจะทำให้ลดความเร็วลงได้ เมื่อล้อหลังหมุน จานหน้าก็จะหมุนด้วย ในการลดความเร็ว นักปั่นสามารถฝืนบันได เพื่อทำให้มีลักษณะเหมือนเบรกได้ ซึ่งมีประสิทธิภาพเหมือนเบรกหลัง แต่ประสิทธิภาพ ไม่เท่ากับเบรกที่ล้อหน้า[40]

ระบบกันสะเทือน

ดูบทความหลักที่: Bicycle suspension

ระบบกันสะเทือนของจักรยาน หมายถึง ระบบที่ลดการสั่นสะเทือนให้กับนักปั่นและอุปกรณ์ที่อยู่บนจักรยาน มีวัตถุประสงค์สองอย่างคือ เพื่อให้ล้อสัมผัสพื้นทางอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มการควบคุมของนักปั่นจากความสะเทือนบนพื้นและความสบายในการปั่น

ระบบกันสะเทือนของจักรยาน ใช้เป็นหลักใน จักรยานเสือภูเขา แต่จักรยานกึ่งทางเรียบก็มีใช้บ้างเช่นกัน ซึ่งสามารถช่วยลดความสะเทือนที่เกิดจากผิวทางที่ไม่เรียบ ระบบกันสะเทือนจำเป็นมากสำหรับจักรยานนอนปั่น เนื่องจากจักรยานปกติ นักปั่นสามารถยกตัวขึ้นยืนบนบันได ขณะปั่นผ่านทางพิ้นที่ไม่เรียบได้ แต่จักรยานนอนปั่นไม่สามารถทำได้

จักรยานเสือภูเขาแบบธรรมดา และจักรยานกึ่งทางเรียบ มักจะมีระบบกันสะเทือนที่ล้อหน้าเท่านั้น ในขณะที่ระบบที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จะมีระบบกันสะเทือนล้อหลังมาด้วย จักรยานทางเรียบจะไม่มีระบบกันสะเทือน เพราะว่าต้องการน้ำหนักที่เบา และการ มั่นคงจากการกดบันได แม้ว่าจะมีการออกแบบที่พิเศษมากก็ตาม

ล้อและยาง

ดูบทความหลักที่: Bicycle wheel และ Bicycle tire

แกนล้อจะต้องแน่นพอดีกับตะเกียบหน้าและหลัง ล้อทั้งสองล้อหน้าหลัง บางครั้งเรียกว่า ล้อเซ็ต โดยเฉพาะล้อที่ทำมาเป็นพิเศษ ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่สูง

ยางแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ จักรยานเสือหมอบ ใช้ยางที่มีขนาดหน้ายางกว้าง 18 ถึง 25 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่จะเป็นยางที่มีดอกยางเรียบหรือ ลื่น และทนต่อแรงดันลมที่สูง เพื่อการหมุนที่เร็วบนพื้นทางที่เรียบ ยางสำหรับจักรยานเสือภูเขา หรือจักรยาน ออฟโรด โดยทั่วไปจะมีขนาดของหน้ายางที่กว้าง และมีดอกยาง สำหรับการยึดเกาะในสภาพเส้นทางที่เป็นโคลน หรือมี ปุ่มโลหะ สำหรับสภาพเส้นทางที่เป็นหิมะ

อุปกรณ์เสริม

Touring bicycle equipped with front and rear racks, fenders/mud-guards, water bottles in cages, four panniers and a handlebar bag.

อุปกรณ์บางอย่าง มักจะใช้ในจักรยานสำหรับจักรยานในทางกีฬา เพื่อการกำหนดมาตรฐาน ของการใช้งานให้มีประสิทธิภาพสูง และเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน บังโคลนจักรยาน ใช้เพื่อป้องกันนักปั่นและชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว ชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ จากละอองน้ำที่กระเด็นเมื่อปั่นจักรยานผ่านพื้นที่เปียก และบังโซ่ จะช่วยป้องกันเสื้อผ้าของนักปั่นจากน้ำมันที่กระเด็นจากโซ่ ในขณะเดียวกันก็ป้องกันการที่เสื้อผ้าเข้าไปติดระหว่างโซ่และ เฟือง ขณะปั่นได้ด้วย ขาตั้งจักรยาน ใช้ในขณะที่ต้องจอดจักรยาน ทำให้จักรยานตั้งตรงอยู่ได้และสายคล้องจักรยานใช้เพื่อป้องกันการโจรกรรม ที่ติดตะกร้าหน้า, ตะแกรงหลัง, และ กระเป๋าข้าง จะติดตั้งอยู่เหนือล้อทั้งสอง ใช้เพื่อขนสิ่งของต่าง ๆ เป็กสามารถใส่ข้างเดียวหรือสองข้างของดุมล้อก็ได้ ใช้สำหรับช่วยให้นักปั่นสามารถเล่นท่าในจักรยานผาดโผน หรือให้คนซ้อนขึ้นไปยืนได้[ต้องการอ้างอิง] ในบางครั้ง พ่อแม่จะติดตั้ง ที่นั่งเด็ก เข้าไปที่ด้านหลังของอานจักรยาน เพื่อให้เด็ก ๆ นั่ง

บันไดคลิป และ รองเท้าคลิป ช่วยให้เท้าล็อกติดกับบันได ทำให้เท้าวางในตำแหน่งที่เหมาะสม และทำให้นักปั่นสามารถใช้แรงดึงและผลักบันไดได้ อุปกรณ์เสริมที่เป็นไมล์จักรยาน ใช้สำหรับวัดระยะทาง ความเร็ว อัตราการเต้นของหัวใจ ข้อมูลแผนที่ และอื่น ๆ อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ไฟหน้า ไฟท้าย แผ่นสะท้อนแสง ที่ล็อกกันโจรกรรม กระจกมองหลัง ขวดน้ำ และ ขากระติก และ กระดิ่ง[41]

หมวกจักรยาน สามารถช่วยลดการบาดเจ็บจากการปะทะกัน หรือ อุบัติเหตุอื่น ๆ ได้ หมวกจักรยานที่เหมาะสมจะต้องถูกต้องตามกฎหมายของแต่ละท้องที่ตามเขตต่าง ๆ หมวกจักรยานอาจจะจัดอยู่ในหมวดของ อุปกรณ์เสริม[41] หรือจัดอยู่ในหมวดของ เครื่องแต่งกายก็ได้[42]

จักรยานสามารถที่จะติดตั้งตัวลากจูงสำหรับ รถพ่วง สำหรับบรรทุกสิ่งของ เด็ก หรือทั้งสองอย่างได้

มาตรฐาน

การจัดมาตรฐานของอุปกรณ์จักรยาน ให้มีขึ้นเพื่อที่จะช่วยให้การสร้างอะไหล่ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้สำหรับการบำรุงรักษา และความปลอดภัยขั้นต่ำของอุปกรณ์ต่าง ๆ

องค์การมาตรฐานสากล ไอเอสโอ (องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน) มีคณะกรรมการด้านเทคนิคพิเศษสำหรับจักรยาน TC149 ที่มีขอบเขตตามนี้: "มาตรฐานตามส่วนประกอบ และอุปกรณ์เสริมของจักรยาน จะต้องอ้างถึง วิธีการทดสอบ และประสิทธิภาพ รวมถึงความปลอดภัย และการใช้งานร่วมกันได้"

คณะกรรมการยุโรปเพื่อมาตรฐาน (European Committee for Standardization (CEN)) ก็มีคณะกรรมการด้านเทคนิคพิเศษสำหรับจักรยานเช่นกัน TC333 ซึ่งกำหนดไว้เพื่อให้มาตรฐานของจักรยานในเขตยุโรป มีความสอดคล้องกับ องค์การมาตรฐานสากล (ISO standards) มาตรฐานของยุโรปบางข้อเกิดขึ้นก่อนที่ ไอเอสโอ จะประกาศมาตรฐานออกมา ทำให้มาตรฐานของยุโรปดูจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า โดยที่มาตรฐานทางยุโรป มีความพยายามที่จะอธิบายเกี่ยวกับความปลอดภัยขั้นต่ำของอุปกรณ์จักรยาน ในขณะที่มาตรฐานสากล จะไปในทางเกี่ยวกับรูปทรงของจักรยาน ในอดีต[43]

ใกล้เคียง

จักรยาน จักรยานเสือภูเขา จักรยานยนต์ตำรวจ จักรยานชิงแชมป์โลก 2023 จักรยานยนต์ จักรยานลู่ชิงแชมป์โลก 2019 จักรยานลู่ชิงแชมป์โลก 2021 จักรยานสีแดง จักรยานลู่ชิงแชมป์โลก 2020 จักรยานเสือภูเขาชิงแชมป์โลก

แหล่งที่มา

WikiPedia: จักรยาน http://76.12.4.249/artman2/uploads/1/Bikesharing_i... http://76.12.4.249/artman2/uploads/1/China___s_Han... http://cyclingtips.com.au/2013/10/disc-brakes-and-... http://www.sciencetech.technomuses.ca/english/coll... http://www.sciencetech.technomuses.ca/english/coll... http://bicycling.about.com/library/weekly/aa041098... http://www.aboutmyplanet.com/environment/bamboo-bi... http://www.bicyclelaw.com/p.cfm/bicycle-safety/abo... http://www.bikewebsite.com/bikeop.htm http://edition.cnn.com/2012/05/31/business/bamboo-...