การออกแบบ ของ จักรยานเสือภูเขา

จักรยานเสือภูเขาสามารถแบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทตามพื้นฐานของระบบกันสะเทือนดังนี้:

  • ริกิด (Rigid): เฟรมเชื่อมต่อกับตะเกียบหน้าหลังแบบตายตัว ไม่มีระบบกันสะเทือน
  • ฮาร์ดเทล (Hard Tail): เฟรมที่มีระบบกันสะเทือนหน้า แต่ตะเกียบหลังเป็นโครงแข็ง ไม่มีระบบกันสะเทือนหลัง
  • ซอร์ฟเทล (Soft tail): เฟรมที่มีระบบกันสะเทือนหลังแบบที่ยุบได้เล็กน้อย โดยสร้างจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นแทนที่จะใช้แกนหมุน
  • ดูอัล (Dual) หรือ ฟูลซัสเพนชั่น (Full suspension): มีระบบกันสะเทือนหน้าแทนที่ตะเกียบหน้าและระบบกันสะเทือนหลังที่ใช้โช้ค ซึ่งมีแกนเชื่อมต่อไปยังล้อหลังเพื่อให้ล้อหลังสามารถเคลื่อนที่โดยผ่านแกนหมุน

พื้นฐานการออกแบบ

2008 GT Zaskar Pro Carbon Hardtail cross country mountain bike with carbon frame and disc brakesMountain bikes are built tough to withstand jumps and drops.

จักรยานเสือภูเขามีรูปแบบที่หลากหลาย โดยทั่วไปจะแบ่งประเภทโดยลักษณะภูมิประเทศที่ใช้ และลักษณะของผู้ใช้งาน รูปแบบของการขับขี่จักรยานเสือภูเขาและ รูปแบบของลักษณะของจักรยานเสือภูเขา ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่คำว่า ฟรีไรด์ และ "เทลไบค์" ซึ่งนำไปเป็นประเภทหนึ่งของจักรยานเสือภูเขาโดยที่คำจำกัดความของจักรยานเสือภูเขาประเภทต่าง ๆ ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายแสดงไว้ตามด้านล่างนี้

ครอสคันทรี หรือเรียกว่าเอ็กซี(XC) จักรยานประเภทนี้ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นพื้นฐานของการใช้งานแบบการปั่นในทางที่เป็นทางแข่งขันระหว่างเมือง การแข่งขันระหว่างเมืองหรือ ครอสคันทรี่จะเน้นไปในทางขี่ขึ้นเขาที่มีผิวทางขรุขระซึ่งต้องการความเร็วและความทนทาน จักรยานที่ต้องการสำหรับทางแบบนี้คือ ต้องมีทั้งประสิทธิภาพและ น้ำหนักเบา ในปี 1980 และช่วงต้นของปี 1990 จักรยานแบบครอสคันทรี จะใช้เฟรม ฮาร์ดเทล ที่ทำจากโละผสมน้ำหนักเบา และใช้ตะเกียบ จนกระทั่งปี 1990 จักรยานครอสคันทรี ได้พัฒนาโดยการผสม เฟรมอลูมิเนียนน้ำหนักเบา และมีระบบกันสะเทือนหน้าที่โช้คมีช่วงยุบสั้น ๆ (65 ถึง 110 มิลลิเมตร) เมื่อไม่นานมานี้การออกแบบให้มีการใช้งาน ระบบกันสะเทือนแบบฟูลซัสเพนชั่น และการใช้เฟรมที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งมันจะทำให้จักรยานที่ใช้ระบบกันสะเทือนแบบหน้าหลังสามารถมีน้ำหนักรวมทั้งคัน ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม รูปทรงของจักรยานเสือภูเขาแบบครอสคันทรีจะนิยม ให้มีความสามารถในการปีนขึ้นที่สูง และตอบสนองต่อการกดบันไดอย่างรวดเร็ว และการลงเขาอย่างมีเสถียรภาพที่ดีซึ่งมุมของคอจักรยานจะอยู่ที่ช่วง 70–71 องศา แม้ว่าการออกแบบมาเพื่อการใช้งานในทางออฟโรด จักรยานเสือภูเขาแบบครอสคันทรี ก็ยังได้รับการออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบา และไม่ได้ออกแบบมาให้มีความทนทานต่อทางขึ้นลงเขาที่ชันมาก ๆ

"เทลไบค์" (trail Bikes) ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมจาก จักรยานแบบครอสคันทรี โดยทั่วไปใช้ในทางที่สร้างขึ้น หรือทางธรรมชาติ โดยมีช่วงยุบของระบบกันสะเทือนหลังยาวประมาณ 5 นิ้ว (120–140 มิลลิเมตร น้ำหนักทั้งคันประมาณ 11 to 15 กิโลกรัม (24 to 33 ปอนด์), และมีรุปทรงที่ท่านั่งถอยไปทางด้านหลังมากกว่า ครอสคันทรีเล็กน้อย แต่ไม่ถึงกับจักรยานออลเมาเท่น ตัวอย่างของรุ่นที่เป็นเทลไบค์เช่น ไจเอ้นเทรนซ์ (Giant Trance), เทรคตระกูลฟูเอลอีเอ็ก (Trek Fuel EX series), และสเปเชี่ยลไลซ์ สตัมจัมเปอร์ (Specialized Stumpjumper FSR), และรุ่นอื่น ๆ โดยที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องน้ำหนักมากนัก เทลไบค์ส่วนมากจะสร้างมาโดยให้สามารถควบคุมรถในทางที่มีความขรุขระที่มากกว่าจักรยานครอสคันทรี โดยมีคอแฮนด์ที่มีมุมเอียงน้อยกว่า อยู่ที่ประมาณ 69-68 องศา ซึ่งจะให้การควบคุมที่นิ่งขึ้นในการลงเขา

เอ็นดูโร่ หรือ ออลเมาเท่น (AM) จักรยานประเภทนี้ เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างครอสคันทรี่กับ ฟรีไรด์ เช่นจักรยานเทรครุ่น รีมาดี (Trek Remedy), สเปเชี่ยลไลซ์ เอ็นดูโร่ น้ำหนักรวมทั้งคันจะอยู่ที่ประมาณ 13 to 16 กิโลกรัม (29 to 35 ปอนด์) จักรยานประเภทนี้จะมีระบบกันสะเทือนที่มากกว่าเทลไบค์ โดยทีระบบกันสะเทือนหลังจะมีความยาว ที่ 6 นิ้ว (150 มม.) หรือ 7 นิ้ว ของทั้ง หน้าและหลัง โดยส่วนมากจะปรับได้ สำหรับรุ่นกลางและสูง การออกแบบจะเน้นไปในการขี่ทั้งขึ้นและลงเขาได้เป็นอย่างดี จักรยานประเภทนี้จะออกแบบให้สามารถปั่นได้ทั้งทางขึ้นชันและลงชันโดยสามารถไปได้ทุกที่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า ออลเมาเท่น

This is an upgraded entry level Downhill/Freeride bike: Specialized Bighit 2006 with 203 มม. (8.0 นิ้ว) of travel in the front and 190 มม. (7.5 นิ้ว) of travel in the back

ดาวฮิลล์ (DH) จักรยานประเภทนี้จะมีระบบกันสะเทือนที่มีระยะยุบที่แปดนิ้ว หรือมากกว่า (200 มิลลิเมตร) มันถูกสร้างขึ้นมาด้วยเฟรมที่มีความแข็งแรง น้ำหนักค่อนข้างมาก โดยส่วนมากต้องใช้อะลูมิเนียมที่มีความแข็งแรงและราคาสูง และเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการใช้งานคาร์บอนไฟเบอร์มาทำเฟรม ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา จักรยานดาวฮิลล์ที่มีน้ำหนักเบาจะมีน้ำหนักทั้งคันอยู่ที่ 40 ปอนด์ (18 กิโลกรัม) มีช่วงการใช้เกียร์ที่มีอัตราทดสูง, ขนาดที่ยาวกว่า, มีรูปทรงที่เยื้องหลังมากกว่า, จักรยานประเภทดาวฮิลล์ สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ขี่ในทางลงเขาเท่านั้น จักรยานประเภทนี้จะมีระยะยุบของระบบกันสะเทือนที่มากกว่าจักรยานทั่วไปเนื่องจากใช้รับการกระแทกในขณะลงเขาด้วยความเร็ว มุมคอส่วนมากจะอยู่ที่ 62 องศา ในหลายๆครั้งที่ จักรยานที่เร็วที่สุด จะเป็นจักรยานประเภทดาวฮิล์ การใช้งานที่ความเร็วสูงเนื่องจากการขี่ลงเขาทำให้จักรยานดาวฮิลล์ส่วนมากจะมีจานหน้าเพียงแค่จานเดียว และมี บัชการ์ด (เพื่อไม่ให้โซ่หลุดออกจากจานหน้า)ขนาดใหญ่ ดังนั้นในการแข่งขัน นักแข่งมักจะใช้ เชนไกด์โดยที่ไม่มีบัชการ์ด เพื่อลดน้ำหนัก บางบริษัทที่ผลิตจักรยานได้มีการออกแบบระบบเกียร์ที่มีตัวเปลี่ยนเกียร์ติดอยู่ที่เฟรม การออกแบบนี้เพื่อแก้ปัญหาความต้องการใช้งานตีนผีด้านหลัง แต่ไม่ให้มีอุปกรณ์ยื่นออกมาเพื่อให้มีความคงทนในขณะแข่งขัน

ฟรีไรด์ (FR) จักรยานประเภทนี้จะเหมือนกับ ดาวฮิลล์ , แต่มีน้ำหนักที่น้อยกว่า และมีความแข็งแรงมากกว่า จักรยานฟรีไรด์ มีความตั้งใจที่จะทำมา เพื่อให้รองรับการใช้งานที่มีการยุบของระบบกันสะเทือนที่มีระยะยุบอย่างน้อยที่ 7 นิ้ว (180 มม.) อุปกรณ์ประกอบอื่นๆทำมาเพื่อความแข็งแรง จึงมีน้ำหนักมาก มันสามารถนำไปปั่นขึ้นเขาได้ ไม่สะดวกมากนัก เพราะว่าองศาของท่อคอที่ไปทางด้านหลัง จะทำให้การถ่ายน้ำหนัก หรือ บาลานซ์น้ำหนักทำได้ยาก ขณะใช้ความเร็วต่ำ มันจะมีประสิทธิภาพสูงเมื่อนำไปขี่ทางลงเขา เฟรมจะมีความชันขององศามากกว่า จักรยานดาวฮิลล์ ซึ่งข้อดีคือสามารถข้ามอุปสรรค ขนาดเล็กได้อย่างคล่องตัว จักรยานฟรีไรด์ โดยทั่วไปจะมีน้ำหนักที่ประมาณ 14 to 20 กิโลกรัม (31 to 44 ปอนด์). จักรยานฟรีไรด์ที่มีความทนทานสูงก็จะมีน้ำหนักที่มากตามไปด้วย และการที่มีระยะยุบตัวของระบบกันสะเทือนที่มากขึ้น ก็จะทำให้ไม่สะดวกในการนำไปปั่นขึ้นเขา อย่างไรก็ตาม ในรถรุ่นใหม่ๆ จะมาพร้อมกับระบบกันสะเทือนชนิดพิเศษที่ช่วยให้สามารถปั่นขึ้นเขาได้ง่ายขึ้นโดย สามารถปรับระยะยุบให้น้อยลงโดยอัตโนมัติเมื่อปั่นขึ้นเขา

สโลปสไตล์ (SS) เป็นส่วนผสมระหว่าง ฟรีไรด์และดาวฮิลล์

ไทรอัล จักรยานประเภทนี้ ถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษ จักรยานจะมี 2 ประเภทคือล้อขนาด 26 นิ้ว (อ้างถึง 'สต็อก') และมีแบบล้อขนาด 20 นิ้ว (อ้างถึง 'ดัดแปลง' - เพราะว่าในอดีต มีการดัดแปลงจาก บีเอ็มเอ็ก) โดยทั่วไปจะไม่มีระบบกันสะเทือนทั้งหมด,แม้ว่าจะได้ประโยชน์จากมันบ้าง แต่ในกฎการแข่งขันบางครั้งจะยอมให้ใช้ล้อขนาด 26 นิ้วเท่านั้น และมีเกียร์ได้หลายเกียร์ แต่ นักแข่งส่วนมากไม่เคยต้องเปลี่ยนเกียร กฎการแข่งขันไม่ต้องการให้จักรยานแบบดัดแปลง ต้องมีหลายเกียร์ นักแข่งส่วนมากจะใช้เกียร์เดียวในการแข่งขัน โดยเลือกเกียร์ที่ให้ความเร็วต่ำ อัตราทดสูง จักรยาน ไทรอัลสมัยใหม่จะไม่มีแม้แต่อาน, ผู้ขี่จะยืนบนบันไดตลอกการแข่งขันโดยไม่นั่ง จักรยานแบบนี้ ถือเป็นจักรยานที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในตระกูลจักรยานเสือภูเขา, โดยน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 7 to 11 กิโลกรัม (15 to 24 ปอนด์) ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนไหวสามารถทำได้โดยง่าย

A simple dirt jump bike.

เดิร์ทจัมพ์ , เออบาน และ สตรีท เป็นตระกูลเสือภูเขาที่อยู่ระหว่าง บีเอ็มเอ็กและฟรีไรด์ โดยส่วนมากจะมีความแข็งแรงมากซึ่งมีช่วงยุบของระบบกันสะเทือนหน้าประมาณ 4 to 6 นิ้ว (100 to 150 มม.) และไม่ค่อยมีระบบกันสะเทือนหลัง (3 to 4 inches, 76 to 100 mm, ถ้ามี), ส่วนมากจะมีเก้าเฟืองหลังหรือมีอย่างน้อยหนึ่ง ยางสำหรับจักรยานประเภทนี้ส่วนมากใช้ยางทางเรียบ หรือกึ่งทางเรียบ โดยส่วนมากจะใช้เฟรมที่ใช้กับยางขนาด 24-26 นิ้ว , และใช้บัชริง (เป็นเหมือน บัชการ์ด) ใส่แทนที่เฟืองหน้าอันที่ใหญ่ที่สุด จักรยานประเภทเดร์ทจัมพ์ จะมีอานที่ต่ำมาก และใช้แฮนด์ โอเวอร์ไซส์ และมีเบรก หลังที่ต่อด้วยอุปกรณ์พิเศษ และไม่มีเบรกหน้า เพื่อให้ผู้ขี่สามารถหมุนแฮนด์ ได้รอบโดยที่ไม่ติดสายเบรก

ซิงเกิ้ลสปีด (SS) จักรยานเสือภูเขาที่มีเกียร์เดียว โดยใช้เฟืองที่มีอัตราทดขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศที่ใช้ ความแข็งแรงและทักษะของผู้ขี่ และขนาดของจักรยาน(จักรยานที่มีวงล้อขนาด 29 นื้ว ส่วนมากต้องการใช้อัตราทดที่ต่างจากจักรยานที่มีวงล้อขนาด 26 นิ้ว) จักรยานซิงเกิ้ลสปีดส่วนมากจะไม่มีระบบกันสะเทือนหน้าหลัง , เฟรมเหล็ก ซึ่งเหมาะที่จะใช้ปั่นไปในสภาพภูมิประเทศที่มีความขรุขระปานกลาง

เมาเท่นครอส หรือ "โฟร์ครอส" (4X) เป็นรูปแบบใหม่ของการขี่จักรยานดาวฮิลล์ , จักรยานแบบบีเอ็มเอ็ก, สนามแข่ง, เป็นการง่ายที่จะขี่ลงก่อน จักรยานแบบนี้จะมีระบบกันสะเทือนหน้าหลังที่มีระยะยุบ 3 to 4 นิ้ว (76 to 100 มม.) , หรือฮาร์ทเทล, และมีเฟรมที่แข็งแรง มีเชนไกด์หน้าและเกียร์หลัง มีองศาคอที่เอน, เชนสเตย์ที่สั้น และ กะโหลกที่ต่ำ เพื่อการเข้าโค้ง และ การเร่งความเร็วที่ดี

ดูอัลสลาลม (DS) จะเหมือนกับ โฟร์ครอส, แต่แทนที่จะแข่งกันสี่คน , จะมีแค่สองคน สนามแข่งโดยทั่วไปจะมีทางวื่งของใครของมันโดยเฉพาะ แต่บางครั้งก็จะรวมเป็นทางเดียว ในบางที่หรือบางสนาม สนามแข่งโดยทั่วไปจะต้องใช้ทักษะด้วยการโดดเนินขนาดเล็กๆ มากกว่าสนามของโฟร์ครอส การแข่งดูอัลสลาลมแบบดั้งเดิม จัดขึ้นที่ สนามที่เป็นเนินเขามีพ้นเป็นหญ้า โดยมีเนินโดน้อยมาก แต่ในปัจจุบัน จะใช้สนามที่สร้างขี้นมา และใช้จักรยานเหมือนกับที่ใช้แข่ง โฟร์ครอส

อินดี้ครอส (IX) ใช้หลักการเดียวกับเมาเท่นครอสแต่มีความหลากหลายของการแข่งขันมากกว่า[6]

นอร์ทชอร์ ลักาณะจักรยานจะเหมือนกับฟรีไรด์ในรูปทรง และ ดาวฮิลล์ ในเรื่องของอุปกรณ์ เพราะว่า ผู้ที่ขี่นอร์ทชอร์ได้รับการพัฒนาไม่ใช่เฉพาะทางที่มีความง่าย หรือซับซ้อนแต่ยังมีทางดรอปที่สูงและความเร็วที่มากขณะลงเขา โดยทั่วไปจักรยานประเภทนี้จะใช้งานเหมือนดาวฮิลล์และฟรีไรด์ อย่างไรก็ตามด้วยความเร็วและการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วต้องออกแบบเฟรมที่มีน้ำหนักเบา

เซอร์เคิลเดิร์ทแทรค เรซซิ่ง ในการแข่งขันประเภทนี้ จักรยานที่ใช้ส่วนมากจะเป็นฮาร์ทเทล ซึ่งมีระบบกันสะเทือนที่ล้อหน้า ความแตกต่างอยู่ที่การสร้างสนามแข่งที่ต้องการใช้เฟรมที่มี น้ำหนักลดลง เพิ่มแรงเบรกมากขึ้น , ใช้มุมเอียงแบบต่างๆ (เมื่อจักรยานเข้าโค้งที่ระดับต่างๆ หน้ายางจะได้สัมผัสกับทางได้ดีขึ้น ทำให้เกาะพื้นได้ดีขึ้น), และใช้เกียร์ที่มีอัตราทดต่างๆอีก

จะสังเกตได้ว่าในช่วงแรกของจักรยานเสือภูเขา, จักรยานทั้งหมดจะมีการกำหนดเอง, สร้างด้วยเครื่องมือที่บ้านเอง, และใช้โดยตัวแสดงผาดโผน, การแสดงโชว์, การแข่งขันหรือ กิจกรรมอื่นๆ การออกแบบโดยทั่วไปของจักรยานก็จะเหมือนๆกัน เป็นการเติบโตของวงการกีฬา, การออกแบบพิเศษและ อุปกรณ์ใหม่ๆ ได้ถูกนำมาใช้ ส่วนแบ่งทางการตลาดในอนาคต ยังคงเป็น จักรยานเสือภูเขาที่มีระบบกันสะเทือนหน้า แบบ ครอสคันทรี ที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี 1990, ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ อุปกรณ์เสริมของแต่ละบริษัทยังคงตอบสนองต่อผู้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น

ใกล้เคียง

จักรยาน จักรยานเสือภูเขา จักรยานยนต์ตำรวจ จักรยานชิงแชมป์โลก 2023 จักรยานยนต์ จักรยานลู่ชิงแชมป์โลก 2021 จักรยานลู่ชิงแชมป์โลก 2019 จักรยานสีแดง จักรยานลู่ชิงแชมป์โลก 2020 จักรยานเสือภูเขาชิงแชมป์โลก

แหล่งที่มา

WikiPedia: จักรยานเสือภูเขา http://www.bikeradar.com/mtb/news/article/sram-xx1... http://www.bikeradar.com/news/article/interview-sp... http://www.bikerumor.com/2011/03/16/bikerumor-chai... http://diablofreeridepark.com/indycross.html http://oldglorymtb.com/how-to-build-mountain-bike-... http://sheldonbrown.com/brandt/mtb-history.html http://www.sheldonbrown.com/tire-sizing.html http://web.archive.org/web/20080503100742/http://d... http://www.rsf.org.uk/history.htm https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Mounta...