การออกแบบสมัยใหม่ ของ จักรยานเสือภูเขา

A 2002 rigid 21 speed Trek 800 Sport

ชุดขับเคลื่อน

ดูบทความหลักที่: Bicycle gearing

จากปี 1980 จนถึงช่วงปลายปี 2000, จักรยานเสือภูเขาส่วนใหญ่จะมี 21, 24, หรือ 27 สปีด, โดยมี 3 เกียร์ที่เฟืองหน้า และมี 7, 8, หรือ 9 เกียร์ที่เฟืองหลัง จักรยานเสือภูเขาที่มี สามสิบสปีด ยังไม่เป็นที่นิยมในช่วงก่อนหน้า , เนื่องจากการที่โคลนจะเข้าไปติด ที่ เฟืองหลังทั้งสิบเฟือง, และช่องว่างระหว่างตีนผียังไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม, นักจักรยานมืออาชีพหลายคน สามารถใช้งานโซ่สิบสปีดของจักรยานถนน ไปใส่ในเฟืองเก้าสปีดของจักรยานเสือภูเขาได้เพื่อเป็นการลดน้ำหนักลง ในช่วงต้นของปี 2009, อุปกรณ์ ซแรม(SRAM) ได้เปิดตัว ชุดขับเคลื่อนเอ็กเอ็ก( XX) , ซึ่งใช้เฟืองหน้าสองเฟืองและเฟืองหลังสิบเฟือง, ซึ่งเหมือนกับจักรยานถนน การป้องกันการติดโคลนของอุปกรณ์ สิบสปีดนี้ สามารถทำให้เหมาะสมกับจักรยานเสือภูเขาได้ โดยใช้เครื่องกลึง CNC เนื่องจากเวลาและค่าใช้จ่ายทำให้เกิดผลิตภัณฑ์, โดยมีความตั้งใจที่จะผลิตเพื่อการแข่งขันในอุปกรณ์ระดับสูงสุด อย่างไรก็ตาม, 10 สปีดได้กลายเป็นอุปกรณ์ทั่วไปในปี 2011 และผู้นำตลาดอย่าง ชิมาโน ก็ยังให้มีชุดขับเคลื่อนสิบสปีดในชุดอย่าง อะลีวีโอ ซึ่งเป็นชุดขับเคลื่อนรุ่นราคาประหยัด[7] ในเดือนกรกฎาคม 2012, ซแรม ได้นำเสนอชุดขับเคลื่อน 1x11 เรียกว่าเอ็กเอ็กวัน(XX1) ซึ่งไม่ต้องมีชุดเปลี่ยนเฟืองหน้าเพื่อลดน้ำหนักลงและใช้งานง่าย[8] ในปี 2014 ผู้แข่งขัน Commonwealth Games ที่ Glasgow ใช้ชุดขับเคลื่อน 1x11

สัดส่วนของจักรยาน

ดูบทความหลักที่: Bicycle frame geometry

มุมที่สำคัญของ สัดส่วนของจักรยาน คือ มุมคอ (คือมุมของ ถ้วยคอ), และมุมของท่อนั่ง (มุมของ ท่อนั่ง) มุมเหล่านี้วัดจากแนวนอน , และส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้ขับขี่อย่างมาก รูปทรงของจักรยานเสือภูเขาส่วนมากจะมีมุมที่ท่อนั่งประมาณ 73 องศา, และมุมที่ท่อคอประมาณ 60-73 องศา การใช้งานจักรยานที่ต่างประเภทเรื่ององศาของมุมจักรยานมีผลกระทบต่อผู้ใช้อย่างมากโดยทั่วไป มุมตั้ง ที่ใกล้เคียง 90 องศาจากแนวนอน จะเพิ่มประสิทธิภาพในการปั่นขึ้นทางชัน และควบคุมการเลี้ยวได้ง่าย แต่ถ้ามุมต่ำลง (เอนมาทางแนวนอน) จะทำให้ใช้งานในความเร็วสูงและมีความมั่นคงในขณะลงเขามากขึ้น

ระบบกันสะเทือน

A full suspension mountain bike
ดูบทความหลักที่: Bicycle suspension

ในอดีต จักรยานเสือภูเขาไม่มีระบบกันสะเทือน ในช่วงต้นของปี 1990 จักรยานเสือภูเขาที่ใช้ระบบกันสะเทือนคันแรกได้เกิดขึ้น สิ่งนี้ทำให้การปั่นในทางที่ขรุขระ ทำได้โดยง่ายและเสียพลังงานน้อยลง ระบบกันสะเทือนในยุคแรกๆ มีระยะยุบตัวได้เพียง 1½ ถึง 2 นิ้ว (38 ถึง 50 มิลลิเมตร) ในปัจจุบันระบบกันสะเทือนของจักรยานสามารถมีช่วงยุบได้มากถึง 8 นิ้ว (200 มม.) หรือมากกว่า (ดูเรื่องการออกแบบ) จักรยานที่มีระบบกันสะเทือนที่ล้อหน้าและไม่มีระบบกันสะเทือนที่ล้อหลัง หรือเรียกว่า ฮาร์ทเทล ได้กลายเป็นที่นิยม ในขณะที่การออกแบบจักรยานแบบ ฮาร์ทเทลมีจุดมุ่งหมายที่การลดค่าใช้จ่าย, ลดการบำรุงรักษา, และเพิ่มประสิทธิภาพของการออกแรงกดบันได, มันได้ลดความนิยมลง ในขณะที่การออกแบบจักรยานแบบฟูลซัสเพนชั่นมีการพัฒนามากขึ้น

จักรยานเสือภูเขารุ่นใหม่ๆได้มีการเพิ่มส่วนของระบบกันสะเทือนทั้งหน้าและหลัง เรียกว่า "ฟูลซัสเพนชั่น" หรือ "ฟูลซัส", หมายถึงทั้งล้อหน้าและล้อหลังต่างก็มี โช้คเพื่อรองรับการสั่นสะเทือนทั้งคู่ สิ่งนี้จะทำให้การขี่จักรยานราบลื่นขึ้นในทาง ขี้นเขาลงเขา หรือการขี่ผ่านอุปสรรคเล็กๆน้อยๆ ระบบกันสะเทือนหน้าหลัง ที่มีประสิทธิภาพสูง ก็จะมีราคาที่สูงตามไปเช่นกัน , แต่ราคาที่เพิ่มขึ้นจะนำมาสู่ประสิทธิภาพ การขี่ในทางขรุขระ ซึ่งจะทำให้สามารถขี่แบบดาวฮิลล์ ได้เร็วขึ้นสามารถผ่านอุปสรรค รากไม้สิ่งกีดขวางได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคจากผู้ขี่มากนัก สิ่งที่ทำให้ช้าลงเมื่อขับขี่บนทางขรุขระคือเมื่อล้อกระทบกับสิ่งกีดขวาง จะเกิดแรงกระแทกกลับขึ้นมา ทำให้แรงที่จะไปข้างหน้าลดลง รถจึงวิ่งช้าลงเช่นกันระบบกันสะเทือนจะช่วยแก้ปัญหานี้โดยรับแรงที่กระแทกขึ้นมาเก็บไว้ที่โช้คทั้งหน้าและหลัง, ซึ่งจะส่งผลต่อแรงผลักไปข้างจะลดลงจากเดิมไม่มากนัก ดังนั้นก็จะไม่มีผลในการลดความเร็วของรถในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ข้อเสียของระบบกันสะเทือนหลังคือ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น , ราคาที่สูงขึ้น, และในบางครั้งการออกแบบที่แตกต่างกันของระบบกันสะเทือน ก็มีผลต่อการลดประสิทธิภาพของพลังที่ส่งจากการกดบันได, สิ่งนี้จะสังเกตได้ชัดเจน เมื่อปั่นจักรยานบนถนนด้วยรถฮาร์ทเทล ในตอนแรก, การออกแบบระบบกันสะเทือนหลังนั้นออกแบบได้หนักมาก, และทำให้เกิดการบ็อบ(คือการเสียแรงกดบันได เพื่อให้รถวิ่งไปข้างหน้าจะถูกดูดกลืนพลังงานไปที่ระบบกันสะเทือนแทนที่จะส่งไปที่ล้อทั้งหมด) หรือ ล็อกเอ้าท์

ดิสเบรก

A front disc brake, mounted to the fork and hub
สำหรับfurther information see ดูที่ Bicycle brake#Disc brakes สำหรับgeneral information ดูที่ Disc brake

จักรยานเสือภูเขารุ่นใหม่ๆส่วนมากจะใช้ดิสเบรก ซึ่งให้แรงในการหยุดรถที่มากกว่า(ออกแรงกดที่ก้านมือเบรกน้อยกว่า แต่ให้แรงเบรกมากกว่า) ในระบบเบรกที่ขอบล้อ โดยเฉพาะในเวลาที่มีสิ่งสกปรกสามารถไปติดที่ขอบล้อได้ง่ายกว่า , เพราะว่าระบบดิสเบรกมีจานเบรกอยู่ที่กลางล้อคือ ดุมล้อ ดังนั้นจานเบรกจะยังคงสะอาดอยู่ มากกว่า บริเวณขอบล้อ, ซึ่งทรายหรือสิ่งสกปรกอื่นๆอาจทำให้เบรกเสียหายได้ ข้อเสียของระบบดิสเบรกคือ ราคาที่สูงกว่า และโดยทั่วไป น้ำหนักของเบรกจะมีมากกว่าด้วย ในส่วนของการติดตั้ง วีเบรก หรือเบรกผีเสื้อ , ในสภาพการใช้งานแบบปกติ จะให้ผลเท่ากัน , ถ้าไม่ต้องการประสิทธิภาพในการหยุดมากนัก ดิสเบรกจะไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสม ขึ้นที่ยางใน แต่ความร้อนของดิสเบรกจะไปเกิดที่จานเบรกแทนและมีความร้อนที่มากกว่าเป็นอย่างมาก

ใกล้เคียง

จักรยาน จักรยานเสือภูเขา จักรยานยนต์ตำรวจ จักรยานชิงแชมป์โลก 2023 จักรยานยนต์ จักรยานลู่ชิงแชมป์โลก 2021 จักรยานลู่ชิงแชมป์โลก 2019 จักรยานสีแดง จักรยานลู่ชิงแชมป์โลก 2020 จักรยานเสือภูเขาชิงแชมป์โลก

แหล่งที่มา

WikiPedia: จักรยานเสือภูเขา http://www.bikeradar.com/mtb/news/article/sram-xx1... http://www.bikeradar.com/news/article/interview-sp... http://www.bikerumor.com/2011/03/16/bikerumor-chai... http://diablofreeridepark.com/indycross.html http://oldglorymtb.com/how-to-build-mountain-bike-... http://sheldonbrown.com/brandt/mtb-history.html http://www.sheldonbrown.com/tire-sizing.html http://web.archive.org/web/20080503100742/http://d... http://www.rsf.org.uk/history.htm https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Mounta...