การเมืองการปกครอง ของ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติการแบ่งเขตการปกครอง

ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการแบ่งการปกครองในราชธานีออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ การปกครองภายในบริเวณกำแพงเมือง และภายนอกบริเวณกำแพงเมือง โดยในบริเวณกำแพงเมืองก็จะแบ่งออกเป็น 4 แขวง ได้แก่ แขวงขุนธรณีบาล แขวงขุนโลกบาล แขวงขุนธราบาล และแขวงขุนนราบาล ต่อมาในสมัยอาณาจักรธนบุรีจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รวมทั้ง 4 แขวงภายในกำแพงเมืองเป็นแขวงเดียวกัน เรียกว่า แขวงรอบกรุง และขยายอาณาเขตออกมาเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และต่อมาเปลี่ยนมาเป็นอำเภอรอบกรุง อำเภอกรุงเก่า และอำเภอพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ตามลำดับ

ส่วนการปกครองภายนอกบริเวณกำแพงเมือง บริเวณนอกกำแพงเมืองแบ่งออกเป็น 3 แขวง ได้แก่ แขวงขุนนคร แขวงขุนอุทัย และแขวงขุนเสนา และต่อมามีการแบ่งออกเป็นแขวงต่าง ๆ ดังนี้

  • แขวงขุนนคร อยู่ทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของกำแพงพระนครตั้งแต่ลำน้ำลพบุรีและลุ่มน้ำป่าสัก ต่อมามีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ ทางด้านตะวันตกเป็นแขวงนครใหญ่ และด้านตะวันออกเป็น แขวงนครน้อย
  • แขวงขุนอุทัย อยู่ทางใต้ตั้งแต่เขตของแขวงขุนนครตลอดลงมายังมายังแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออก ต่อมาได้มีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ แขวงอุทัยใหญ่ และแขวงอุทัยน้อย
  • แขวงขุนเสนา อยู่ทางด้านตะวันตกมีอาณาเขตด้านเหนือจรดตะวันตกเฉียงใต้ของแขวงขุนนครและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาได้มีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ แขวงเสนาใหญ่ ทางด้านตะวันตก และแขวงเสนาน้อย ทางด้านตะวันออก

ดังนั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แขวงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงมีทั้งหมด 7 แขวง ได้แก่ แขวงรอบกรุง แขวงนครใหญ่ แขวงนครน้อย แขวงอุทัยใหญ่ แขวงอุทัยน้อย แขวงเสนาใหญ่ และแขวงเสนาน้อย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดระเบียบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล มีการรวมเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑล เปลี่ยนคำเรียกเมืองเป็นจังหวัด แขวงจึงต้องเปลี่ยนเป็นอำเภอตามไปด้วย และต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นได้ทรงดำริว่า อำเภอแต่ละอำเภอมีพลเมืองมากและมีท้องที่กว้าง จึงให้แบ่งเขตการปกครองออกไปอีกในทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอรอบกรุง อำเภออุทัยใหญ่ และอำเภออุทัยน้อย ดังนี้

  • อำเภอนครใหญ่ ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอนครใหญ่ และแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็นอำเภอนครใน
  • อำเภอนครน้อย ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอนครน้อย และแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็นอำเภอนครกลาง
  • อำเภอเสนาใหญ่ ให้ทางด้านทิศเหนือคงเป็นอำเภอเสนาใหญ่ และแบ่งเขตท้องที่ด้านทิศใต้ออกเป็นอำเภอเสนากลาง
  • อำเภอเสนาน้อย ให้ทางด้านทิศใต้คงเป็นอำเภอเสนาน้อย และแบ่งเขตท้องที่ด้านทิศเหนือออกเป็นอำเภอเสนาใน

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอต่าง ๆ โดยในปี พ.ศ. 2443 เปลี่ยนชื่ออำเภออุทัยน้อยเป็นอำเภอพระราชวัง ในปี พ.ศ. 2446 เปลี่ยนชื่ออำเภอนครกลางเป็นอำเภอนครหลวงมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2450 ได้แบ่งเขตท้องที่อำเภอพระราชวังด้านตะวันออกรวมกับอำเภออุทัยใหญ่ด้านใต้ แล้วยกขึ้นเป็นอำเภออุทัยน้อย แทนอำเภออุทัยน้อยเดิมที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพระราชวังเมื่อปี พ.ศ. 2443 และมีการเปลี่ยนชื่ออำเภอต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อใหม่ ดังนี้[6]

และอีก 4 กิ่งอำเภอได้แก่ กิ่งอำเภอลาดบัวหลวง (ขึ้นกับอำเภอบางไทร), กิ่งอำเภอภาชี (ขึ้นกับอำเภออุทัย), กิ่งอำเภอบางซ้าย (ขึ้นกับอำเภอเสนา) และกิ่งอำเภอบ้านแพรก (ขึ้นกับอำเภอมหาราช) ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอตามลำดับจนครบในปี พ.ศ. 2502

การแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน

การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน

ปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วย 16 อำเภอ 209 ตำบล ได้แก่

  1. อำเภอพระนครศรีอยุธยา
  2. อำเภอท่าเรือ
  3. อำเภอนครหลวง
  4. อำเภอบางไทร
  5. อำเภอบางบาล
  6. อำเภอบางปะอิน
  7. อำเภอบางปะหัน
  8. อำเภอผักไห่
  1. อำเภอภาชี
  2. อำเภอลาดบัวหลวง
  3. อำเภอวังน้อย
  4. อำเภอเสนา
  5. อำเภอบางซ้าย
  6. อำเภออุทัย
  7. อำเภอมหาราช
  8. อำเภอบ้านแพรก

การปกครองส่วนท้องถิ่น

จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนทั้งสิ้น 158 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา, เทศบาลเมือง 4 แห่ง, เทศบาลตำบล 31 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 121 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามอำเภอต่าง ๆ ดังนี้

อำเภอพระนครศรีอยุธยา

อำเภอท่าเรือ

อำเภอนครหลวง

  • เทศบาลตำบลนครหลวง
  • เทศบาลตำบลอรัญญิก

อำเภอบางไทร

  • เทศบาลตำบลบางไทร
  • เทศบาลตำบลราชคราม

อำเภอบางบาล

  • เทศบาลตำบลบางบาล
  • เทศบาลตำบลมหาพรามณ์

อำเภอบางปะอิน

  • เทศบาลตำบลบางปะอิน
  • เทศบาลตำบลบ้านสร้าง
  • เทศบาลตำบลธพระอินทราชา
  • เทศบาลตำบลปราสาททอง
  • เทศบาลตำบลคลองจิก
  • เทศบาลตำบลเชียงรากน้อย
  • เทศบาลตำบลบางกระสั้น
  • เทศบาลตำบลบ้านกรด
  • เทศบาลตำบลตลาดเกรียบ

อำเภอบางซ้าย

  • เทศบาลตำบลบางซ้าย

อำเภอบางปะหัน

  • เทศบาลตำบลบางปะหัน

อำเภอผักไห่

อำเภอภาชี

  • เทศบาลตำบลภาชี

อำเภอลาดบัวหลวง

  • เทศบาลตำบลหลาดบัวหลวง
  • เทศบาลตำบลสามเมือง

อำเภอวังน้อย

อำเภอเสนา

  • เทศบาลเมืองเสนา
  • เทศบาลตำบลสามกอ
  • เทศบาลตำบลเจ้าเจ็ด
  • เทศบาลตำบลบางนมโค
  • เทศบาลตำบลหัวเวียง

อำเภออุทัย

  • เทศบาลตำบลอุทัย

อำเภอมหาราช

  • เทศบาลตำบลมหาราช
  • เทศบาลตำบลโรงช้าง

อำเภอบ้านแพรก

  • เทศบาลตำบลบ้านแพรก

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับชื่อระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1เจ้าพระยาชัยวิชิตสิทธิสงครามสมัยรัชกาลที่ 1
2พระยาชัยวิชิตสิทธิสาตรามหาประเทศราชสุรชาติเสนาบดีสมัยรัชกาลที่ 3
3พระยามหาสิริธรรมพโลปถัมภ์เทพทราวดีศรีรัตนธาดามหาปเทศาธิบดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุสมัยรัชกาลที่ 4
4พระยาสีหราชฤทธิไกรยุตินัเนติธรรมธาดามหาปเทศาธิบดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุสมัยรัชกาลที่ 4
5พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดามหานคราธิการสมัยรัชกาลที่ 4
6พระยาชัยวิชิตสิทธิสาตรามหาปเทศาธิบดี (สิงห์โต)สมัยรัชกาลที่ 5
7พระยาเพชรชฎา (นาค ณ ป้อมเพชร)
(ภายหลังรับพระราชทานบรรดาศักดิ์ใหม่เป็น พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดามหานคราธิการ)
สมัยรัชกาลที่ 5
8หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (พร เดชะคุปต์)
(ภายหลังเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระอนุรักษ์ภูเบศร์, พระยาโบราณบุรานุรักษ์,
และพระยาโบราณราชธานินทร์ ตามลำดับ)
สมัยรัชกาลที่ 5
9พระยาพิทักษ์เทพธานี (ชุ่ม อรรถจินดา)สมัยรัชกาลที่ 5
10หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร)สมัยรัชกาลที่ 5
11พระยาอมรฤทธิธำรง (ฉี่ บุนนาค)พ.ศ. 2454–2455
12หลวงพิทักษ์ฤทธิรงค์ (บุญ บุญอารักษ์)พ.ศ. 2455
13พระพิทักษ์เทพธานี (พร พิมพะสุต)พ.ศ. 2456–2459
14พระพิทักษ์เทพธานี (ปุ่น อาสนจินดา)พ.ศ. 2459–2462
15พระยาอมรฤทธิธำรง (บุญชู บุนนาค)พ.ศ. 2462–2465
16พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยประภา)พ.ศ. 2465
17พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิชูโต)พ.ศ. 2465–2468
พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยประภา) ครั้งที่ 2พ.ศ. 2468–2472
18พระยาสัจจาภิรมย์ (สรวง ศรีเพ็ญ)พ.ศ. 2472–2474
19พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิชูโต)พ.ศ. 2474–2476
20พระณรงค์ฤทธิ์ (ชาย ดิฐานนท์)พ.ศ. 2476–2479
21พระชาติตระการ (หม่อมราชวงศ์จิตร คเนจร)พ.ศ. 2479–2482
22หลวงบริหารชนบท (ส่าน สีหไตรย์)พ.ศ. 2482–2484
23หลวงประสิทธิบุรีรักษ์ (ประยงค์ สุขะปิยังคุ)พ.ศ. 2484–2489
24ขุนปฐมประชากร (สมบูรณ์ จันทรประทีป)พ.ศ. 2489–2490
25พระราชญาติรักษา (ประกอบ บุนนาค)พ.ศ. 2490–2495
26.ถนอม วิบูลษ์มงคลพ.ศ. 2495–2495
27ขุนธรรมรัฐูธุราทร (ธรรมรัตน์ โรจนสุนทร)พ.ศ. 2495–2496
ลำดับชื่อระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
28เกียรติ ธนกุลพ.ศ. 2496–2497
29สง่า ศุขรัตน์พ.ศ. 2497–2498
30สุทัศน์ สิริสวยพ.ศ. 2498–2502
31พ.ต.อ. เนื่อง รายะนาคพ.ศ. 2502–2510
32จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยาพ.ศ. 2510–2514
33วรวิทย์ รังสิโยทัยพ.ศ. 2514–2516
34ร.ต.ท. ระดม มหาศรานนท์พ.ศ. 2516–2517
35วิทยา เกษรเสาวภาคพ.ศ. 2517–2519
36สมพร ธนสถิตย์พ.ศ. 2519–2520
37วิเชียร เวชสวรรค์พ.ศ. 2520–2521
38สุชาติ พัววิไลพ.ศ. 2521–2523
39ฉลอง วงษาพ.ศ. 2523–2524
40ร.ต. กิติ ประทุมแก้วพ.ศ. 2524–2529
41ชัยวัฒน์ หุตะเจริญพ.ศ. 2529–2534
42ปรีดี ตันติพงศ์พ.ศ. 2534–2537
43บรรจง กันตวิรุฒพ.ศ. 2537–2540
44ยุวัฒน์ วุฒิเมธีพ.ศ. 2540–2542
45ฐิระวัตร กุลละวณิชย์พ.ศ. 2542–2545
46สุรพล กาญจนะจิตราพ.ศ. 2545–2546
47สมศักดิ์ แก้วสุทธิพ.ศ. 2546–2548
48สมชาย ชุ่มรัตน์พ.ศ. 2548–2549
49เชิดพันธ์ ณ สงขลาพ.ศ. 2550–2551
50ปรีชา กมลบุตรพ.ศ. 2551–2552
51วิทยา ผิวผ่องพ.ศ. 2552–2557
52อภิชาติ โตดิลกเวชช์พ.ศ. 2557–2558
53ประยูร รัตนเสนีย์พ.ศ. 2558–2559
54สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์พ.ศ. 2559–2562
55ภานุ แย้มศรีพ.ศ. 2562–ปัจจุบัน

ใกล้เคียง

จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดชลบุรี จังหวัดของประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา http://www.ayutthayacitypark.com/ http://maps.google.com/?ie=UTF8&ll=14.36,100.57&sp... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=14.36&l... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://thailandexpo2020.com http://www.ayutthaya.org http://www.globalguide.org?lat=14.36&long=100.57&z... http://www.wikimapia.org/maps?ll=14.36,100.57&spn=... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.ayutthaya.go.th/