แบบรูปแอรีที่มีการบังแสงตรงกลาง ของ จานแอรี

การเลี้ยวเบนในลักษณะเดียวกันนี้ยังเกิดขึ้นในกรณีที่รูรับแสงมีการบดบังเป็นวงกลมที่ส่วนใจกลางด้วย โดยแบบรูปการเลี้ยวเบนของแสงรูปวงแหวนที่เกิดจากรูรับแสงที่มีตัวบังแสงเป็นวงกลมที่ศูนย์กลางของรูรับแสงวงกลมจะแสดงได้ดังสูตรนี้[5][6]

I ( θ ) = I 0 ( 1 − ϵ 2 ) 2 ( 2 J 1 ( x ) x − 2 ϵ J 1 ( ϵ x ) x ) 2 {\displaystyle I(\theta )={\frac {I_{0}}{(1-\epsilon ^{2})^{2}}}\left({\frac {2J_{1}(x)}{x}}-{\frac {2\epsilon J_{1}(\epsilon x)}{x}}\right)^{2}}

ในที่นี้ ϵ {\displaystyle \epsilon } คืออัตราส่วนที่รูรับแสงวงกลมถูกบดบัง กล่าวคือ อัตราส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของแผ่นบังต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของรูรับแสงวงกลม ( 0 ≤ ϵ < 1 ) {\displaystyle \left(0\leq \epsilon <1\right)} และ x {\displaystyle x} นิยามเป็น x = k a s i n ( θ ) ≈ π R λ N {\displaystyle x=kasin(\theta )\approx {\frac {\pi R}{\lambda N}}} โดยที่ R {\displaystyle R} คือเส้นผ่านศูนย์กลางบนแกนเชิงแสงของระนาบโฟกัส λ {\displaystyle \lambda } คือความยาวคลื่น และ N {\displaystyle N} คือค่าเอฟของระบบเชิงแสง พลังงานแสงที่โฟกัส (อัตราส่วนของพลังงานทั้งหมดที่รวบรวมได้ในวงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง R {\displaystyle R} ที่มีจุดกึ่งกลางอยู่บนแกนเชิงแสงของระนาบโฟกัส) คำนวณโดย

E ( R ) = I 0 ( 1 − ϵ 2 ) 2 ( 1 − J 0 2 ( x ) − J 1 2 ( x ) + ϵ 2 [ 1 − J 0 2 ( ϵ x ) − J 1 2 ( ϵ x ) ] − 4 ϵ ∫ 0 x J 1 ( t ) J 1 ( ϵ t ) t d t ) {\displaystyle E(R)={\frac {I_{0}}{(1-\epsilon ^{2})^{2}}}\left(1-J_{0}^{2}(x)-J_{1}^{2}(x)+\epsilon ^{2}\left[1-J_{0}^{2}(\epsilon x)-J_{1}^{2}(\epsilon x)\right]-4\epsilon \int _{0}^{x}{\frac {J_{1}(t)J_{1}(\epsilon t)}{t}}\,dt\right)}

เมื่อ ϵ → 0 {\displaystyle \epsilon \rightarrow 0} จะได้สูตรออกมาเหมือนกับสูตรที่กล่าวไปข้างต้นในกรณีที่ไม่มีการบังตรงกลาง