ลักษณะของการจาริกตามนัยพระไตรปิฎก ของ จาริก

การจาริก มีองค์ 4 เป็นบาทพระคาถา ว่า ไม่ไปด้วยพาหนะ 1 ถ้าจำเป็นอาจสามารถขึ้นเรือโดยประสงค์ข้ามฟากได้ (โดยไม่ประสงค์ล่องตามลำน้ำ ) 1 ไม่ไปด้วยฤทธิ์ 1 ไปด้วยกำลังแห่งปลีแข้ง ( คือเดินเอา) 1 ประสงค์ให้ถือเพื่อใช่ในการเผยแผ่มักถือร่วมกับธุดงค์เพื่อประกาศพรหมจรรย์ เพราะการจาริกไปย่อมพบเจอเข้าถึงผู้คนมากกว่า เช่นถ้านั่งรถไปก็จะไม่ค่อยพบผู้คน หรือญาติโยมไม่กล้าเข้ามาพูดคุย อาจทอดทิ้งคนที่อาจอยากสนทนาด้วย และเพื่อให้ผู้พบมีจิตศรัทธาจากการประพฤติธรรมหรือการเผยแผ่ด้วยการไม่พูดสอน แต่ทำให้ดู ดังคำพุทธพจน์ที่ให้แก่พระภิกษุสงฆ์กลุ่มแรก (60 รูป) ในการส่งไปประกาศพระศาสนาว่า "จรถ ภิกขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย ธมมํ ภิกขเว เทเสถ" แปลว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป จงแสดงซึ่งธรรม (ประกาศพรหมจรรย์) เพื่อประโยชน์ อนุเคราะห์ เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก"

ใกล้เคียง

จาริก จาริกแสวงบุญ การจาริกแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ จารึกพ่อขุนรามคำแหง จารึกเมร์เนปทาห์ จารึกวัดพระยืน จารึก อารีราชการัณย์ จารึกวัดศรีชุม จารกรรม จารึกวัดพระงาม