ผลงานที่สำคัญ ของ จาโกโม_บัลลา

Dynamism of a Dog on a Leash

"Dynamism of a Dog on a Leash" ถือเป็นภาพวาดในฟิวเจอริสม์ภาพแรก ในฐานะทีทำให้คำแถลงการณ์ของฟิวเจอริสม์ แสดงออกมาเป็นภาพได้อย่างชัดเจน เขาได้แบ่งการเคลื่อนไหวของผู้หญิงที่กำลังเดินและสุนัขของเธอ โดยแยกการเคลื่อนไหวอย่างเป็นลำดับ ดั่งม้าไม่ได้สี่ขาแต่มียี่สิบขา ซึ่งเป็นการรักษาไว้ซึ่ง "แถลงการณ์ของภาพวาดฟิวเจอริสม์" เครื่องมืออันหลากหลายแตกแขนงมาจากการพัฒนา โดยอ้างอิงจาก chronophotography ของ Étienne-Jules Marey ซึ่งย้อนกลับไปในปี 1882 การทำซ้ำอย่างเป็นลำดับของท่าเดินหรือกิจวัตรต่างๆของมนุษย์ สัตว์ และนก อันเป็นสิ่งพิเศษที่สร้างขึ้น รู้จักในชื่อ Photographic gun การวิเคราะห์ของ Marey ส่งผลให้เกิดภาพที่เคลื่อนไหวอย่างเป็นลำดับ เป็นสิ่งที่บัลลาต้องการที่จะเลียบแบบอย่างแท้จริง ในการสร้างผลงานราวปี 1912 อย่างไรก็ตาม เขาได้ย่นย่อระยะในการเคลื่อนไหว เพื่อสร้างผลกระทบที่พร่ามัว ชวนให้นึกถึง ภาพถ่ายแบบเคลื่อนไหว ที่สร้างในช่วงเดียวกัน โดยช่างภาพฟิวเจอร์ริสซึม Anton Giulio และ Arturo Bragaglia

ภาพถ่ายและภาพยนตร์ บัลลาได้ร่วมเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ Vita futurista (Futurist life) สร้างโดย Arnaldo Ginna ในปี 1916 เป็นจุดสำคัญในการอ้างอิงสำหรับงานศิลปะในช่วงนี้ ซึ่งเป็นอิทธิพลที่เห็นในภาพ Dynamism of a Dog on a Leash ในความผิดแปลกจากปกติ ที่ตัดตอนมาจากภาพที่เห็นได้ตามท้องถนน เรามองข้ามระยะของทางเดิน และมองเพียงเท้าของผู้หญิงที่ผ่านไป ซึ่งมีสุนัขที่ดูยุ่งวุ่นวาย ในบริเวณส่วนกลางจุดสนใจของภาพ

บัลลาได้นำสองปรากฏการณ์ในประวัติศาสตร์ศิลปะที่คุ้นเคย คือ สัตว์เลี้ยง และ ผู้คนที่เดินเล่นในถนนใหญ่ของปารีส ที่จะค้นพบได้จากความคิดที่เป็นจุดสำคัญของงานศิลปะ Impressionism และ Post-Impressionism ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา (1859-1891) ภาพ "บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต"(A Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte,1884-86) แบบ Pointillist หรือ ลัทธิผสานจุดสี ที่มีมีชื่อเสียง ลิงและสุนัขถูกใส่เข้าไปเป็นในภาพจัดวางตามหลักการมองเห็น

แสดงให้เห็นถึงสัตว์เลี้ยงในเมืองใหญ่ โดยสร้างส่วนผสมที่แตกต่างจากความโดดเดี่ยวของผู้คน และมองไปที่รายละเอียดของท้องถนน บางทีอาจเป็นความไม่ได้ตั้งใจ ที่จะสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ซึ่งสัตว์เลี้ยง โดยปรกติคือสุนัขหรือแมว กว่าศตวรรษแล้วที่ได้รับสิทธิพิเศษจากชนชั้นสูง แต่ตอนนี้ เริ่มจากศตวรรษที่ 20 ชนชั้นกลาง เริ่มใช้สัตว์เลี้ยงเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ใหม่สื่อถึงความมั่งคั่ง ลูกจ้างที่ทำงานภายในแผนกของโรงงานที่กำลังเจริญเติบโตหรือoffice ในสังคมเมืองรอบนอก แสดงให้เห็นถึง สถานะทางสังคมแบบใหม่ โดยกำลังเดินไปพร้อมกับเพื่อนสี่ขาผ่านไปในเมือง

สิ่งนี้เป็นเป้าสายตาของคนทั้งหลาย และบัลลาได้แสดงออกมาอย่างสอดคล้อง ผ่านสุนัขในส่วนกลางภาพ และการตัดรูปร่างของผู้หญิง เขายังล้อเลียนไม่เพียงแต่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ แต่ยึดถือในระบบสังคมแบบชาวอิตาลีทั่วไป [8]

Girl Crossing a Balcony

บัลลาได้ประยุกต์เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์ที่เขาสนใจ ในการจำแนกแยกแยะการเคลื่อนไหวและแสงในการวาดภาพ chronophotography ของ Étienne-Jules Marey และ Photodynamism ของ Bragaglia brothers ซึ่งเป็นสมาชิกของฟิวเจอริสท์ สร้างแรงบันดาลใจให้บัลลาหลายหลายรูปแบบ การทดลองของบัลลากับสีและแสง ในทางตรงกันข้าม เป็นการหันกลับไปสู่ French Post-Impressionism ในบางโอกาสก็ได้แสดงผลงานในงานนิทรรศการระดับโลก ซึ่งนำไปสู่การเกี่ยวโยงกับ Divisionism ของ ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา และ พอล ซียัค

ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา ทำงานแบบ Impressionism ในแนวใหม่ แนวคิดที่เป็นจุดสำคัญของงานศิลปะที่เขาสร้างขึ้น จากจุดขนาดเล็ก ที่สัมพันธ์กับค่าของสีบริสุทธิ์ ที่มองแล้วผสมผสานและทำให้เกิดรูปร่างขึ้นในภาพและสายตา หรือ [ผสานจุดสี แหล่งที่มาของ ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา มาจากทฤษฎีสีจากนักเคมีชื่อ Michel Eugène Chevreul จากบทความ simultaneous colour contrasts "De la loi du contraste simultane des couleur et de l'assortiment des objects colories," 1839 แรงบันดาลใจจากศิลปิน เออแฌน เดอลาครัว ที่ทำการทดลองกับสีจากหลักวิทยาศาสตร์เบื้องต้น พร้อมกันนั้นในทางตรงกันข้ามได้อ้างถึง สีเพิ่มเติมที่ตาสามารถมองเห็นได้โดยอัตโนมัติ เมื่อมองไปยังสีบางสี ตัวอย่างเช่น สีเหลือง ก่อให้เกิด สีน้ำเงินแกมแดง สีน้ำเงินแกมเหลือง และสีม่วงเขียว ความเกี่ยวเนื่องกันของคู่สีนี้ ก่อให้เกิดความกลมกลืนกันของภาพโดยรวม ก่อนที่บัลลาจะใช้สิ่งนี้ในงาน "Girl Crossing a Balcony" อย่างไรก็ตามเขาได้ตรวจสอบพฤติกรรมและผลกระทบของสีและแสงได้อย่างสมบูรณ์

ในปี 1912 เขาได้วาดภาพชุด "Iridescent Interpenetrations" การสังเคราะห์สีบน Kaleidoscope บัลลาได้เริ่มพัฒนาในระหว่างอยู่ที่ Düsseldorf ที่นี่ศิลปินได้ค้นพบ The colour pyramids ของ Johann Heinrich Lambert ที่เป็นนักฟิสิกส์และนักปรัชญาในศตวรรษที่ 18 ที่อุทิศชีวิตให้กับการวัดความเข้มแสงและกฏการดูดซึมแสง บัลลาตั้งต้นแบ่งแถบสีของแสงลงในสามเหลี่ยมด้านเท่า ใส่ลงไปเป็นสีที่มีความเข้มข้นแตกต่างกัน ใส่สีขาวเป็นสีที่สว่าง และประกอบกันจนเป็นระบบขึ้นมา เมื่อมองอย่างเป็นจังหวะ ออกมาเปรียบเทียบได้กับ Robert Delaunay's disc paintings สี่งที่ศิลปินชาวฝรั่งเศสพยายามสร้างวงจรสี จำแนกบนพื้นฐานของ วงจรสีของChevreul

บัลลาได้สร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้นใน "Girl Crossing a Balcony" แสงสว่างที่ละลายในส่วนระเบียงจนถึงจุดสีมากมาย ถูกแผ่ขยายโดยการเพิ่มจำนวนจากรูปร่าง สิ่งที่แผ่กระจายในแบบจากสีบริสุทธิ์ แยกออกเป็น เด็กผู้หญิง ราวบันได กรอบประตู ละลายกลายเป็นการสั่นสะเทือนในแนวราบ ในสิ่งที่เป็นมุมมองของระยะถูกลบล้างอย่างสิ้นเชิง ความรู้ในเรื่องความสัมพันธ์สีของบัลลาและผลสืบเนื่องต่างๆ บัลลาได้แปลความถึงสิ่งที่เป็นความคิดที่สำคัญในงานศิลปะในเรื่องระบบแนวคิด และการกระทำ ตรวจสอบในกฎที่เป็นต้นแบบหรือรากแห่งความจริงที่ปรากฏขึ้น [9]

Mercury Passing Brfore the Sun as Seen Through a Telescope

บัลลาได้วาดภาพชุด "Mercury Passing Brfore the Sun as Seen Through a Telescope" โดยได้รับแรงบันดาลใจจากปรากฏการธรรมชาติในปี 1914 ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดของงานบนกระดาษที่ทุ่มเทอุทิศให้กับการสังเกตการเกิดคราส เป็นตอนที่ดาวพุธอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด สามารถเห็นการพาดผ่านจากพื้นผิวแผ่นสีดำขนาดเล็กในช่วงที่ไม่เรียบ นี่เป็นเพียงจุดๆหนึ่งในวงโคจรของดาวพุธที่มองเห็นได้จากพื้นโลก

ภาพวาดนี้ยังเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความสนใจในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของบัลลา ซึ่งเป็นแบบฉบับของเขาในช่วงแรกของฟิวเจอริสม์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาวิเคราะห์อย่างจริงจังเกี่ยวกับวิธีการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆ เช่น ท่าเดินของสุนัข หรือการเคลื่อนที่อันรวดเร็วของรถยนต์ และใน "Iridescent Interpenetrations" ปี 1912-13 เขาได้คิดค้นระบบของลำดับแถบสี สำหรับใน "Mercury Passing Brfore the Sun as Seen Through a Telescope" ความเป็นสากลของการเคลื่อนไหวเป็นหัวใจสำคัญของฟิวเจอริสม์ ที่รวมกันกับการแสดงสัญลักษณ์จักรวาลวิทยา ดวงอาทิตย์และดาวพุธปรากฏเป็นแผ่นรูปดาว ประสานกันเป็นกลุ่มดาวด้วยสีและรูปร่าง บัลลาได้ย่นย่อปรากฏการณ์ของคราสที่เป็นการมองเห็นดาราศาสตร์จากธรรมชาติ รูปทรงเรขาคณิตต้นแบบพื้นฐานสะท้อนในรูปทรงวงกลม โค้ง หมุนวน และพื้นผิวแนวระนาบ พลังที่เป็นปัจจัยจากธรรมชาติที่ปรากฏจากสนามพลังผลิตโดยองค์ประกอบเหล่านี้อย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหมุนวน ที่เป็นกระบวนการเคลื่อนที่ และการแทรกซึมเข้าด้วยกัน

นอกจากนี้การวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องของเขาก่อนหน้าการเคลื่อนไหวทางเครื่องกล บัลลาได้ทำให้พื้นผิวของรูปทรงที่นี่มีลักษณะโปร่งใส โดยแนวระนาบและปริมาณ จะใช้เป็นสีดำบาง น้ำเงิน และเขียว เส้นแรเงา ชวนให้นึกถึงรูปทรงทั้ง 3 ขนาด และด้วยสีเหลืองแกมน้ำตาล เป็นเส้นแสงสว่างที่ทะลุผ่านไปทั่วทั้งพื้นผิวของภาพ รังสีสีขาวสว่างที่ปล่อยออกมาจากดาวบริเวณด้านมุมบนซ้ายที่ซ้อนกันและแผ่ไปทั่วจรดขอบ เป็นการเน้นถึงการซึมผ่านไปทั่วทั้งหมดขององค์ประกอบ และความเข้มของแสง เน้นยำถึงความประทับใจของการหักเหของแสงผ่านแก้วผลึก

คริสตัล เป็นส่วนประกอบพื้นฐานจากธรรมชาติกับเป็นโครงสร้างเรขาคณิตเบื้องต้น และมีลักษณะโปร่งใส ซึ่งไม่ได้เป็นความคิดที่สำคัญ การเล่นกับโครงสร้างและการอุปมาบทบาทในการวาดภาพ การผ่านของดาวพุธ ของบัลลา ที่มีมาอย่างยาวนานแล้วในประวัติศาสตร์ของศิลปะ เนื้อหาสำคัญของคริสตัลและลักษณะที่โปร่งใส มักจะถูกใช้โดยศิลปินที่เริ่มต้นในศตวรรษที่ 20 เป็นการจินตนาการถึงภาพของพระเจ้าทั่วทุกหนแห่งของโลก อีริค แฮคเคล จากตัวอย่าง ที่แสดงถึงการกระโจนของคนอาบน้ำ ลงในภูมิภาพที่เป็นเหลี่ยม ในภาพ "The Crystal Day" 1913 ดังนั้นทำให้เกิดความเป็นเอกภาพของคน ธรรมชาติ และจักรวาล ศิลปินชาวรัสเซีย David Burliuk หันกลับไปสู่อะตอมและการก่อสร้างตึกจากคริสตัล ในปี 1916 และสถาปนิกเช่น Bruno Taut และ Hans Scharoun ได้ออกแบบสถาปัตยกรรรมแก้ว โดยสร้างโมเดลบนโครงสร้างที่โปร่งแสง เกือบจะตลอดเวลาที่สิ่งที่ทำจากคริสตัลได้ถูกนำมา สื่อถึงสัมผัสของความโรแมนติกที่กลายเป็นศิลปะ บัลลาก็เช่นกัน แม้จะมีความเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจอย่าง "Mercury Passing Brfore the Sun" [10]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: จาโกโม_บัลลา http://centrefortheaestheticrevolution.blogspot.co... http://identicaleye.blogspot.com/2010/05/bragaglia... http://www.colorsystem.com/?page_id=792&lang=en http://www.italianways.com/casa-balla-a-color-expl... http://www.serafinomacchiati.com/ http://www.sprovieri.com/rome/ http://saffrongirls.typepad.com/my_weblog/2009/06/... http://www.academia.edu/1935534/Ara_H._Merjian_A_F... http://www.vogue.it/en/encyclo/fashion/f/futurism/ http://www.elearning-art.net/art-net_courses/Movin...