โรคการกิน ของ จิตพยาธิวิทยาสัตว์

สัตว์ป่าดูจะไม่มีโรคการกิน (eating disorders) แม้ว่า โครงสร้างไขมันในร่างกายจะต่าง ๆ กันไปขึ้นอยู่กับฤดูและวัฏจักรการผสมพันธุ์แต่ว่า สัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงรวมทั้งสัตว์ในฟาร์ม สัตว์ในห้องปฏิบัติการ และสัตว์เลี้ยง ทั้งหมดมีโรคกลุ่มนี้ความเหมาะสมทางวิวัฒนาการเป็นตัวขับเคลื่อนพฤติกรรมการกินของสัตว์ป่าทฤษฎีพยากรณ์ว่า สัตว์ในฟาร์มก็จะมีลักษณะเช่นนี้เหมือนกัน แต่ว่า หลักเดียวกันใช้ได้กับสัตว์ในห้องปฏิบัติการและสัตว์เลี้ยงหรือไม่ยังไม่ชัดเจน

ภาวะเบื่ออาหารเหตุกิจกรรม (Activity anorexia)

ภาวะเบื่ออาหารเหตุกิจกรรม (Activity anorexia, AA) เป็นภาวะที่หนูเริ่มออกกำลังกายอย่างเกินควรในขณะที่ลดอาหารไปพร้อม ๆ กัน คล้ายกับโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (anorexia nervosa) หรือโรคออกกำลังกายเกินควร (hypergymnasia) ในมนุษย์เมื่อมีทั้งอาหารและล้อวิ่ง หนูมักจะทำกิจวัตรที่สมดุลระหว่างการออกกำลังกายกับการกิน ทำให้เป็นหนูที่สุขภาพดีแต่ว่า ถ้าจำกัดอาหารเป็นเวลาแต่ไม่จำกัดล้อวิ่ง หนูจะเริ่มออกกำลังกายเพิ่มขึ้นและกินน้อยลง ทำให้ลดน้ำหนักและในที่สุดก็จะตาย

ในสถานการณ์อื่น โรค AA จะไม่เกิดการไม่จำกัดอาหารแต่จำกัดล้อวิ่งจะไม่เปลี่ยนกิจวัตรในการออกกำลังกายและการกินอย่างสำคัญนอกจากนั้น ถ้าจำกัดทั้งอาหารและล้อวิ่ง หนูก็จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และจริง ๆ ถ้าหนูเรียนรู้เวลากินก่อน แล้วจึงมีล้อให้วิ่งโดยไม่จำกัด ก็จะไม่มีโรค AAนี่เป็นหลักฐานแสดงว่า การวิ่งขัดขวางการปรับตัวให้เข้ากับเวลากินใหม่ และสัมพันธ์กับระบบรางวัลในสมอง[3]

ทฤษฎีที่ใช้อธิบายอย่างหนึ่งก็คือการวิ่งเหมือนกับการหาอาหาร ซึ่งเป็นพฤติกรรมธรรมชาติในหนูป่าดังนั้น หนูในห้องปฏิบัติการจึงวิ่ง (เพื่อหาอาหาร) เพิ่มขึ้นตอบสนองต่อการขาดอาหารผลของภาวะกึ่งอดอยากกับการมีกิจกรรม ก็ได้ศึกษาในสัตว์อันดับวานรแล้วด้วยลิงวอกตัวผู้จะขะมักเขม้นมาก (hyperactive) ตอบสนองต่อการจำกัดอาหารเรื้อรังระยะยาว[4]

กลุ่มอาการแม่หมูผอม

กลุ่มอาการแม่หมูผอม (Thin Sow Syndrome, TSS) เป็นพฤติกรรมที่พบในหมูเลี้ยงในคอก เป็นโรคคล้ายกับ AA ที่แม่หมูบางตัวเมื่อตั้งท้องตั้งแต่อายุน้อย ๆ จะขะมักเขม้นมาก กินน้อย และผอมจนกระทั่งมักจะตายและจะมีอาการผอมแห้ง ตัวเย็น ไม่หิวอาหาร อยู่ไม่สุข และทำอะไรมากเกินไป[4]แต่อาการอาจสัมพันธ์กับตัวสร้างความเครียดทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

มีงานศึกษาความแออัดยัดเยียดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 (โดย John B. Calhoun) ที่เอาหนูนอร์เวย์ที่มีท้อง รวมไว้ในห้องที่มีน้ำและอาหารมากเพื่อดูการเพิ่มประชากรหนูจะเพิ่มขึ้นจนถึงจำนวนหนึ่งแล้วไม่เพิ่มอีกต่อไปเพราะว่า ความแออัดยัดเยียดทำให้เครียดและเป็นโรคจิตและแม้ว่าจะมีน้ำและอาหารมาก หนูก็จะหยุดกินอาหารและหยุดมีลูก[5]

ปรากฏการณ์เช่นเดียวกันก็พบด้วยในด้วงที่อยู่อย่างยัดเยียดซึ่งเมื่อเกิดขึ้น แม่ด้วงจะทำลายไข่ตัวเองแล้วเริ่มกินด้วงด้วยกันเองตัวผู้ก็จะไม่สนใจตัวเมียแม้ว่าจะมีอาหารและน้ำมาก และกลุ่มประชากรก็จะไม่เพิ่มจำนวนปรากฏการณ์เช่นเดียวกันก็พบด้วยในกระต่ายแจ็กในรัฐมินนิโซตา และกวางในชะวากทะเลอ่าวเชซาพีก (ในรัฐแมริแลนด์และรัฐเวอร์จิเนีย)[6]

กรงตั้งครรภ์ ที่ใช้เลี้ยงแม่หมูเมื่อมีท้องในฟารม์แบบเข้ม

ความเครียดของหมูที่เลี้ยงในคอกมองว่ามาจากผลการกักขังสัตว์ในระบบการเลี้ยงหมูแบบเข้มหมูที่มีทุกข์มากที่สุดจากการถูกขังก็คือหมูที่กำลังมีนมหรือท้อง เพราะว่าไม่มีที่จะขยับไปมา และเพราะถูกขังในกรงตั้งครรภ์ หรือถูกผูกไว้เป็นเวลา 16 สัปดาห์ที่ตั้งครรภ์ ซึ่งขัดกับพฤติกรรมสังคมและพฤติกรรมตามธรรมชาติ[7]

แต่ว่า การมีอิสระกลับสร้างความเครียดให้หมูตัวเมียที่โตแล้ว ซึ่งก็คือหลังจากเลิกนมแม่แล้วเพราะว่า เมื่ออยู่ในกลุ่ม ก็จะสู้กับหมูตัวเมียตัวที่ใหญ่ที่สุด ที่จะกินอย่างตะกละตะกลามแล้วอ้วนใหญ่เป็นไปได้สูงด้วยว่าหมูแต่ละกลุ่มจะมีหมูตัวเมียที่ยอมจำนน 2 ตัว ที่หลีกเลี่ยงสถานการณ์แย่งกิน และจะถูกข่มเหงโดยหมูตัวเมียที่ใหญ่ที่สุดหมูทั้งสองจะไม่ค่อยอยากอาหาร แต่จะแสดงอาการ pica (อาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร) กินน้ำมาก และมีเลือดจาง[2]

อาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร

อาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร (Pica) เป็นพฤติกรรมที่ยังมีการศึกษาน้อยในสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ในห้องปฏิบัติการ มีงานศึกษาที่ดูหนูกินดินขาวเคโอลิน (kaolin)โดยทำให้หนูกินดินโดยให้ยาอาเจียนหลายอย่าง เช่น copper sulfate, apomorphine, cisplatin, และการเคลื่อนไหวที่ทำให้อาเจียนเนื่องจากหนูไม่สามารถอาเจียนเมื่อกินสิ่งที่มีโทษ ดังนั้น การกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารของหนูจึงเหมือนกับการอาเจียนในสปีชีส์อื่น ๆเป็นวิธีที่หนูใช้บรรเทาปัญหาการย่อยอาหาร[8]

ในสัตว์บางชนิด การกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารดูเหมือนจะเป็นลักษณะการปรับตัว (adaptive trait) แต่ในสัตว์อื่น ดูเหมือนจะเป็นโรคจิตดังที่พบในไก่คือ ไก่จะกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเมื่อให้อดอาหาร (เช่น อุตสาหกรรมไข่ไก่จะจำกัดอาหารเพื่อบังคับให้สลัดขน)โดยเพิ่มการจิกกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารที่อยู่รอบ ๆ ตัวเช่น ไม้ หรือสายไฟ หรือรั้ว หรือขนของไก่อื่นเป็นการตอบสนองโดยปกติที่เกิดเมื่อจำกัดหรือไม่ให้อาหารเลยซึ่งอาจเป็นพฤติกรรมทดแทนการหาอาหารปกติ[9]

สัตว์อีกอย่างที่มีอาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารที่ซับซ้อนกว่าก็คือวัวคือ วัวจะกินกระดูกเมื่อขาดฟอสฟอรัสแต่ว่า ในบางกรณี วัวจะกินกระดูกต่อไปแม้ว่าระดับฟอสฟอรัสจะกลับเป็นปกติแล้ว และได้ฟอสฟอรัสที่เพียงพอจากอาหารในกรณีนี้ หลักฐานสนับสนุนการตอบสนองแบบปรับตัวทั้งทางกายใจคือ วัวที่คงกินกระดูกต่อไปหลังจากปกติแล้วกินเพราะมีการเสริมแรงทางใจ"สภาพที่คงยืนของการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารแม้ดูเหมือนจะไม่มีเหตุทางสรีรภาพ อาจเป็นเพราะการได้อาการโรคแบบมีเงื่อนไขโดยบังเอิญ ในช่วงที่มีปัญหาทางสรีรภาพ"[10]

แมวก็มีพฤติกรรมกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารตามธรรมชาติ และมีหลักฐานสนับสนุนว่า พฤติกรรมนี้ดูจะเกี่ยวกับใจแมวบางพันธุ์ (เช่น แมววิเชียรมาศ) มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมนี้มากกว่า แต่ว่าก็มีหลักฐานว่ามีหลายพันธุ์ที่มีพฤติกรรมเช่นนี้มีการเห็นแมวเคี้ยวและดูดสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเช่น ขนแกะ ฝ้าย ยาง พลาสติก และแม้แต่กระดาษแข็ง แล้วอาจจะถึงกินสิ่งเหล่านั้นพฤติกรรมเช่นนี้เกิดในสี่ปีแรกของชีวิต แต่สังเกตเห็นโดยหลักในช่วงสองเดือนแรกที่ย้ายเข้าบ้านใหม่[11]

ทฤษฎีที่อธิบายว่า ทำไมจึงมีพฤติกรรมเช่นนี้ในเวลานี้เสนอว่า การอดนมแม่เร็ว และความเครียดที่เป็นผลจากการจากแม่กับพี่น้องและจากการมีสถานการณ์ใหม่ เป็นเหตุการกินขนแกะหรือสิ่งอื่น ๆ อาจเป็นกลไกปลอบใจที่แมวมีเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้การกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารก็พบบ่อยในช่วงอายุ 6-8 เดือน ที่พฤติกรรมหวงที่และพฤติกรรมทางเพศเริ่มปรากฏและการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารอาจเกิดจากความเครียดทางสังคมเช่นนี้[11]ทฤษฎีอื่นพิจารณาว่า พฤติกรรมเป็นการทดแทนการจับเหยื่อกินเพราะถูกขังในบ้าน ซึ่งสามัญในแมวพันธุ์ตะวันออกเพราะเสี่ยงถูกขโมย[11]

ในธรรมชาติ การกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารพบด้วยในนกแก้ว (เช่น มาคอว์) นกอื่น ๆ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีมาคอว์เขตแอมะซอนที่เลียดินจากก้นแม่น้ำเพื่อแก้พิษเม็ดพืชที่กินคือพบว่า มาคอว์แอมะซอนจะใช้เวลาเลียดิน 2-3 ชม. ต่อวัน[12]โดยดินช่วยแก้พิษของแทนนินและแอลคาลอยด์ในเมล็ดพืชที่กิน ซึ่งก็เป็นกลยุทธ์ที่ใช้โดยคนพื้นเมืองในเทือกเขาแอนดีสประเทศเปรูด้วย

การกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารก็พบบ่อยในสัตว์เลี้ยงด้วยแม้ว่ายาเช่นฟลูอ๊อกซิตินบ่อยครั้งจะช่วยบรระเทาพฤติกรรมปัญหาในสุนัขเลี้ยง แต่ก็จะไม่ช่วยโรคการกินมีสุนัขเลี้ยงพันธุ์ wire fox terrier ชื่อบัมบลีย์ที่ได้ออกรายการทีวี 20/20 ในสหรัฐอเมริกา[โปรดขยายความ]เพราะโรคการกินของหมา ข้อความต่อไปนี้มาจากหมอคนหนึ่ง

อาการของหมาตัวนี้ก็คือไล่แสง (หรือเรียกว่า ไล่เงา [shadow chasing]) มันไล่เงาไม่รู้จักหยุด แม้แต่ขุดเจาะแผ่นผนังเพื่อตามไล่ภาพลวงตาที่มันเห็น สิ่งหนึ่งที่ไม่ชัดในรายการทีวีก็คือ บัมบลีย์กินทุกอย่างที่ขวางหน้า และที่บ้านจึงต้องทำการ "ป้องกันบัมบลีย์" เพื่อไม่ให้กินทุกอย่างที่เจ้าของทิ้งเอาไว้ หมาได้เคยผ่าตัดเพื่อเอาสิ่งที่อุดลำไส้ออกเนื่องจากนิสัยมันมาแล้ว และทุกวัน เจ้าของก็จะกลับเข้าบ้านอย่างกังวลใจว่า บัมบลีย์อาจจะได้กินอะไรเข้าไปอีก[13]

หมอได้กล่าวถึงงานวิจัยที่สัมพันธ์โรคหิวไม่หาย (Bulimia nervosa) และอาการย้ำกินเกิน (compulsive overeating) กับการชักในมนุษย์แล้วเสนอว่า ยากันชักอาจสามารถใช้รักษาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารในสัตว์ได้

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: จิตพยาธิวิทยาสัตว์ http://psychclassics.yorku.ca/Cronbach/construct.h... http://www.care2.com/causes/can-dogs-lead-us-to-a-... http://cbass.com/Breakout.htm http://www.curedisease.com/Perspectives/vol_1_1989... http://www.nature.com/scientificamerican/journal/v... http://www.petmd.com/dog/conditions/behavioral http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10632228 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11488439 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12055324