พระราชประวัติ ของ จิ่นเฟย์

พระสนมจิ่น ได้เข้าสู่พระราชวังต้องห้ามเมื่อปี พ.ศ. 2431 พร้อมกันกับน้องสาวคือพระสนมเจิน เป็นธิดาของนายจางซู (พินอิน: Changxu) ชาวแมนจูเผ่าตาตาลา ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 ได้รับการสถาปนาเป็นพระสนมจิ่น โดยผ่าน หยกผักกาด โดยปัจจุบันสมบัติชิ้นนี้ได้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงไทเป, ไต้หวัน[1] ท่านไม่เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่เท่าพระสนมเจิน

ระหว่างในช่วงกบฏนักมวย ในปี พ.ศ. 2443 ราชวงศ์ลี้ภัยไปยังเมืองซีอาน ซึ่งว่ากันว่าพวกคนในราชวงศ์ต่างลืมพระสนมจิ่นไว้ที่พระราชวังต้องห้าม แต่ในที่สุดแล้วพระองค์ก็ได้ตามกลุ่มของบรรดาราชวงศ์ไปยังเมืองซีอานโดยความช่วยเหลือขององค์ชายพระองค์หนึ่งในราชวงศ์ชิง หลังจากที่สนมเจินพระน้องนางของพระองค์พึ่งจะถูกสำเร็จโทษไปโดยพระราชเสาวนีย์ของพระนางซูสีไทเฮา โดยการโยนพระนางลงไปในบ่อ และต่อมาถึงมีทฤษฎีออกมากล่าวอ้างว่าพระนางอาจทำอัตตวินิบาตพระองค์เอง

หลังจากที่บรรดาบุคคลในราชวงศ์เสด็จกลับมายังพระราชวังต้องห้ามในปี พ.ศ. 2445 ราชวงศ์ชิงสูญเสียพระราชอำนาจเป็นอย่างมาก สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่พระสวามีของนางเสด็จสวรรคตในปี 6 ปีต่อมาในปี พ.ศ. 2451 ต่อจากนั้นพระนางซูสีไทเฮาก็สิ้นพระชนม์หลังจากรพะจักรพรรดิเพียงหนึ่งวัน จึงถือเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลสำคัญที่สุดของราชวงศ์ชิง ก่อนที่พระนางจะสิ้นพระชนม์ พระนางซูสีไทเฮาได้แต่งตั้งผู่อี๋ โอรสในเจ้าชายชุนที่ 2 เป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่ พระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิกวางสูคือสมเด็จพระจักรพรรดินีหรงยู ได้กลายมาเป็นพระพันปีหลงยฺวี่ในสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับเจ้าชายชุนที่ 2 และพระสนมเจินก็ได้กลายเป็นพระสนมเอกจิน

นอกจากพระราชมารดาแท้ๆของพระจักรพรรดิผู่อี๋แล้ว พระองค์ยังมีพระราชมารดาบุญธรรมอีก 5 พระองค์ โดยใน 5 พระองค์นี้ สมเด็จพระจักรพรรดินีหรงยู มีพระอิสริยยศสูงที่สุด และพระสนมเอกจินมีพระอิสริยยศต่ำที่สุด และพระราชมารดาบุญธรรมอีก 3 พระองค์ก็เป็นพระสนมในสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ

ในปี พ.ศ. 2455 สมเด็จพระจักรพรรดินีหลงยวี่ได้ทรงลงพระนามาภิไธยสละราชสมบัติ และต่อมาในปี พ.ศ. 2456 สมเด็จพระจักรพรรดินีหรงยู่ก็สิ้นพระชนม์ พระสนมเอกจินจึงกลายเป็นผู้ที่มีพระอิสริยยศสูงสุดในพระราชวังต้องห้าม (แต่ว่าก่อนหน้านั้นพระนางมียศต่ำที่สุด) และพระนางได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น พระสนมเอกหม้ายต้วนคัง (端康太妃) ในปี พ.ศ. 2464 พระราชมารดาแท้ๆของสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ได้กระทำอัตตวินิบาตพระองค์เองด้วยการอมฝิ่นเป็นจำนวนมากหลังจากที่พระสนมเอกตวนคังได้ว่ากล่าวพระนางต่อสาธารณชนในกรณีที่สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ประพฤติตนไม่เหมาะสมต่อพระนาง

ภายในหนังสืออัตชีวประวัติของสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ พระองค์ได้ทรงเขียนถึงพระสนมเอกหม้ายต้วนคังว่า พระนางทรงเห็นพระนางซูสีไทเฮาเป็นต้นแบบ ถึงแม้ว่าพระน้องนางของพระองค์คือมเหสีเจิน จะถูกประหารโดยพระนางซูสีไทเฮา พระนางทรงควบคุมพฤติกรรมของพระองค์ทุกย่างก้าว จนทำให้พระองค์พิโรธออกมา หลังจากการสิ้นพระชนม์พระราชมารดาของพระองค์ พระสนมเอกหม้ายต้วนคังจึงได้เปลี่ยนพฤติกรรมของพระองค์ไปกลายเป็นคนที่สบายๆไม่เป็นพิธีรีตองอะไรมากนัก

ต่อมาเมื่อถึงเวลาที่สมเด็จพระจักรพรรดิผูอี๋ทรงมีวัยพอที่จะอภิเศกสมรสได้นั้น พระสนมหม้ายสองพระองค์คือ พระสมเอกหม้ายต้วนคังและจิงยี่ ได้ทรงโต้เถียงกันว่าผู้ใดเหมาะสมที่จะมาเป็นพระมเหสีของพระจักรพรรดิ โดยที่พระสนมเอกหม้ายทรงเลือก วั่นหรง เป็นมเหสีของพระจักรพรรดิ ในขณะที่พระสนมหม้ายจิงยี่ทรงเลือกเหวินซิ่ว ในมุมมองของพระสนมเอกหม้ายต้วนคังนั้นเหวินซิ่วไม่มีพระสิริโฉมงดงามพอที่จะเป็นพระมเหสีและครอบครัวของนางก็มีศักดิ์ต่ำกว่าครอบครัวของวั่นหรง อย่างไรก็ตามพระจักรพรรดิปูยีทรงเลือกเหวินซิ่วเป็นพระมเหสี ทำให้พระสนมเอกหม้ายต้วนคังผิดหวังพระทัยเป็นอย่างมากถึงกับออกหมายเรียกราชนิกูลและข้าราชการระดับสูงมาประชุมในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพวกเขาเหล่านั้นก็ได้โน้มน้าวให้ผู่อี๋เลือกวั่นรงเป็นมเหสี ในที่สุดแล้วปูยีก็ได้เลือกวั่นหรงเป็นมเหสีและเหวินซิ่วเป็นพระสนมเอก