บทบาทของการพินิจภายใน ของ จุดบอดต่อความเอนเอียง

ศ.ญ.ดร. โพรนินและเพื่อนร่วมงานอ้างว่า ปรากฏการณ์นี้มีเหตุมาจากการแปลการพินิจภายในผิด (introspection illusion)[6]ในงานทดลองของพวกเขา มีการให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินตนเองและผู้อื่น[7] ผลปรากฏว่าผู้ร่วมการทดลองมีความเอนเอียงที่ปกติทั่วไป เช่นให้คะแนนตัวเองสูงกว่าผู้อื่นเกี่ยวกับคุณลักษณะต่าง ๆ ที่น่าชอบใจ (คือแสดง illusory superiority คือความเหนือกว่าลวง)ต่อจากนั้น ผู้ทำการทดลองก็อธิบายเรื่องความเอนเอียงทางประชาน และถามผู้ร่วมการทดลองว่า การประเมินของผู้ร่วมการทดลองได้รับอิทธิพลจากความเอนเอียงหรือไม่ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนตนเองว่า มีโอกาสเสี่ยงต่อความเอนเอียงน้อยกว่าผู้ร่วมการทดลองอื่น (ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่ามีจุดบอดต่อความเอนเอียง)และเมื่อต้องอธิบายเหตุผลการประเมินของตน ผู้ร่วมการทดลองใช้วิธีการประเมินที่ต่างกันเมื่อประเมินความเอนเอียงของตนเอง และเมื่อประเมินผู้อื่น[7]

นักวิจัยกลุ่มนี้ตีความว่า เมื่อเราจะประเมินว่าคนอื่นมีความเอนเอียงหรือไม่ เราจะสังเกตดูพฤติกรรมที่แสดงออกในนัยตรงกันข้ามกัน เมื่อประเมินว่าเราเองมีความเอนเอียงหรือไม่ เราจะมองภายในตัวเรา สังเกตหาความคิดและความรู้สึกที่เป็นเหตุจูงใจให้เกิดความเอนเอียงแต่เนื่องจากว่า ความเอนเอียงต่าง ๆ ทำงานใต้จิตสำนึก ดังนั้น การพินิจภายในเช่นนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์แต่อย่างไรก็ดี เรามักจะเห็นความคิดความรู้สึกเหล่านั้นว่า เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ว่า ตนเองไม่เสี่ยงต่อความเอนเอียงซึ่งไม่เหมือนกับคนอื่น[6][7]

จากนั้นนักวิจัยก็พยายามให้ข้อมูลผู้ร่วมการทดลองเกี่ยวกับการพินิจภายในของผู้อื่นคือ นักวิจัยอัดเสียงของผู้ร่วมการทดลองที่กล่าวเรื่องที่ตนคิดเมื่อกำลังประเมินตนเองว่า คำตอบที่ให้ในคำถามที่ผ่านมามีอิทธิพลจากความเอนเอียงหรือไม่ผลก็คือ แม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองจะเชื่อว่าตนเองมีโอกาสน้อยที่จะมีความเอนเอียงแต่ว่าการรายงานการพินิจภายในของตน กลับไม่มีอิทธิพลต่อผู้อื่นเมื่อผู้อื่นประเมินความเอนเอียงของบุคคลนั้น[7]

ใกล้เคียง

จุดบอดต่อความเอนเอียง จุดบอด จุดมองโกเลีย จุดคอนซายคลิก จุดยอด (ทฤษฎีกราฟ) จุดอ่อนของฉันอยู่ที่หัวใจ จุดจอมฟ้า จุดอาราโก จุดไอโซอิเล็กทริก จุดยอด (คอมพิวเตอร์กราฟิกส์)