ความแตกต่างในการรับรู้ ของ จุดบอดต่อความเอนเอียง

เรามักจะประเมินความเอนเอียงอย่างไม่สมมาตรเมื่อเรารู้ต่างจากคนอื่น เรามักจะกล่าวว่าคนอื่นมีความเอนเอียง และตนเองมีการรับรู้ที่แม่นยำและไม่มีความเอนเอียงดร. โพรนินมีสมมุติฐานว่าการยกคนอื่นว่ามีความเอนเอียงอย่างผิด ๆ เช่นนี้ อาจจะเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันในระหว่างบุคคลยกตัวอย่างเช่น เมื่อคิดว่าคนอื่นมีความเอนเอียง เราอาจจะตั้งความสงสัยในเจตนาของคนนั้นแต่เมื่อเราสำรวจการรับรู้ของเราเอง เราจะประเมินตนเองโดยใช้เจตนาที่ดีของเราดังนั้นในกรณีนี้ มีโอกาสเป็นไปได้ที่เราจะโทษความเอนเอียงของคนอื่นว่าเป็นเจตนาที่ไม่ดี ไม่ใช่ว่าเป็นกระบวนการใต้จิตสำนึก[8]

ดร. โพรนินยังมีสมมุติฐานเกี่ยวกับการใช้ความสำนึกในเรื่องจุดบอด เพื่อลดความขัดแย้ง และเพื่อการคิดโดยมีข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ดีกว่าแม้ว่าเราจะไม่สามารถควบคุมความเอนเอียงที่เกิดในระบบประชานของเรา[4] เราอาจจะทำไว้ในใจได้ว่า ความเอนเอียงนั้นเกิดขึ้นกับทุกคนดร. โพรนินเสนอว่า เราอาจจะใช้ความรู้นี้ ในการแยกเจตนา (ที่ดี) และการกระทำของผู้อื่น (ที่อาจประกอบด้วยความเอนเอียงที่ไม่ได้ตั้งใจ)[8]

ใกล้เคียง

จุดบอดต่อความเอนเอียง จุดบอด จุดมองโกเลีย จุดคอนซายคลิก จุดยอด (ทฤษฎีกราฟ) จุดอ่อนของฉันอยู่ที่หัวใจ จุดจอมฟ้า จุดอาราโก จุดไอโซอิเล็กทริก จุดยอด (คอมพิวเตอร์กราฟิกส์)