ชนชั้นกลาง

ชนชั้นกลาง (อังกฤษ: middle class) เป็นชนชั้นของประชาชนที่อยู่ตรงกลางในลำดับชั้นทางสังคม คำนี้มักมีความกำกวมว่านิยามในแง่ใด ระหว่างอาชีพ รายได้ การศึกษาหรือสถานภาพทางสังคม ไม่ว่าผู้ใดเป็นผู้นิยามมักได้รับเลือกเพราะมีความหมายโดยนัยทางการเมืองทิ้งสิ้น นักเขียนฝ่ายซ้ายนิยมใช้คำว่า "ชนชั้นทำงาน" (working class) ที่มีสถานภาพต่ำกว่า นักทฤษฎีสังคมสมัยใหม่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเศรษฐศาสตร์ ต่างนิยามและนิยามใหม่ซึ่งคำว่า "ชนชั้นกลาง" เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางสังคมหรือการเมืองของพวกตนในระบบทุนนิยม แรกเริ่ม "ชนชั้นกลาง" หมายความถึง ชนชั้นกระฎุมพี (bourgeoisie) ต่อมา เมื่อมีการแบ่งแยกชนชั้นมากขึ้นเมื่อสังคมทุนนิยมเกิดการพัฒนา คำนี้เป็นไวพจน์กับคำว่า ชนชั้นนายทุนน้อย (petite bourgeoisie)มาตราทั่วไปสำหรับใช้วัดชนชั้นกลางแตกต่างกันตามวัฒนธรรม ในแง่หนึ่ง อาจมองในแง่สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นหลัก บทนิยามอย่างแคบหนึ่งจำกัดชนชั้นกลางว่าอยู่ 20% ตรงกลางของบันไดรายได้ของชาติ (คือ เปอร์เซ็นไทล์ที่ 40–60%) การจำแนกหมวดอย่างกว้างนับรวมทั้งหมดยกเว้นประชาชนที่ยากจนที่สุด 20% และร่ำรวยที่สุด 20%[1] บางทฤษฎีอย่าง "ปฏิทรรศน์ผลประโยชน์" ใช้กลุ่มสิบและข้อมูลการกระจายความมั่งคั่งเพื่อตัดสินขนาดและสัดส่วนความมั่งคั่งของชนชั้นกลาง[2]มีการเติบโตของชนชั้นกลางทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ดิอีโคโนมิสต์ ยืนยันว่าประชากรกว่ากึ่งหนึ่งของโลกจัดเป็นชนชั้นกลาง เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนา ลักษณะของชนชั้นกลางคือมีรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายพื้นฐาน (discretionary income) พอสมควร จึงไม่ต้องอยู่แบบอดมื้อกินมื้อแบบคนยากจน และนิยามว่าเป็นรายได้เหลือตั้งแต่ประมาณหนึ่งในสามขึ้นไปสำหรับการใช้จ่ายอย่างอื่นนอกจากค่าอาหารและที่อยู่อาศัยพื้นฐาน[3]