สื่อ ของ ชมรมคนรักอุดร

สื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดทำโดย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ประกอบด้วย นิตยสารข่าว มหาประชาชน (พ.ศ. 2550-2551) หนังสือพิมพ์มหาประชาชนฉบับความจริงวันนี้ (พ.ศ. 2552-2553) ซึ่งหลังจากสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน สั่งห้ามการเสนอข่าวเพื่อจำหน่าย หรือเผยแพร่สิ่งพิมพ์ ที่มีข้อความอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร[132] หลังจากนั้นจึงตีพิมพ์ใหม่ในชื่อ มหาประชาชนสุดสัปดาห์ (พ.ศ. 2553-2554)

สื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดทำโดย กลุ่มของคนเสื้อแดง ประกอบด้วย หนังสือพิมพ์วิวาทะฉบับไทยเรดนิวส์ (พ.ศ. 2552-2553) นิตยสารเสียงทักษิณ (Voice of Taksin) ซึ่งต่อมามีคำสั่งห้ามพิมพ์ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 เช่นกัน[133] เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ออกคำสั่งที่ 71/2553 ตามอำนาจของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 ห้ามมิให้นิตยสารฉบับดังกล่าวเสนอข่าวสาร หรือทำให้ปรากฏแพร่หลายซึ่งข่าวสาร ที่มีข้อความและเนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร อันทำให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน และบั่นทอนความเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้นของคนในชาติ[134] จึงเปลี่ยนชื่อเป็น นิตยสารเรดเพาเวอร์ ปัจจุบันนิตยสารเรดเพาเวอร์ รวมถึง สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหมดที่จัดทำโดยกลุ่มของคนเสื้อแดงยุติการจำหน่ายแล้ว

โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย

สำหรับสถานีวิทยุและโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล มีสถานีวิทยุและโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (พ.ศ. 2557-2562)

โทรทัศน์ในระบบเคเบิลและผ่านดาวเทียมในประเทศไทย

สื่อประเภทช่องรายการโทรทัศน์ ผ่านระบบดาวเทียม ประกอบด้วย

สำนักข่าวและโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

[137]

ใกล้เคียง

ชมรมคนรักอุดร ชมรมคนรักวัง ชมรมรัก คลับมหาสนุก ชมรมว่ายน้ำอิวาโทบิ ชมรมนี้มีเรื่องรัก ชมรมอนิเมะฉัน ใครอย่าแตะ! ชมรมนักสืบแคลมป์ ชมรมสาวรักสนุก ชมรมเสียงใส ถือไมค์ตามฝัน ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น