การทำงาน ของ ชวน_หลีกภัย

ชวน หลีกภัยเริ่มทำงานเป็นทนายความ และต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ใน พ.ศ. 2534 ชวนเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน ใน พ.ศ. 2533 ชวน หลีกภัยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และต่อมาใน พ.ศ. 2535 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 สมัยที่ 2 ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ชวนเป็นพลเรือนคนที่สอง นับจากหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้[ต้องการอ้างอิง]

ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์พร้อมกับรัฐมนตรีในพรรคประชาธิปัตย์อีก 2 คน คือ ดำรง ลัทธพิพัฒน์ และสุรินทร์ มาศดิตถ์

สรุปประวัติทางการเมือง

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยแรก) พ.ศ. 2512
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สอง) พ.ศ. 2518
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2518[3] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[4]
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สาม) พ.ศ. 2519
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2519
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2519[5][6]
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สี่) พ.ศ. 2522
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2523[7]
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2524[8]
  • รัฐมนตรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2525 - 2526
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ห้า) พ.ศ. 2526
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2526[9]
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่หก) พ.ศ. 2529
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529 - 2531
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เจ็ด) พ.ศ. 2531
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2531 - 2532[10]
  • รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2532 - 26 ส.ค. 2533
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[11] พ.ศ. 2533 (ส.ค.- ธ.ค. พ.ศ. 2533)
  • หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (26 ม.ค.2534 - 4 พ.ค. พ.ศ. 2546)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่แปด) พ.ศ. 2535 (22 มี.ค. พ.ศ. 2535)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เก้า) พ.ศ. 2535 (13 ก.ย. พ.ศ. 2535)
  • นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 (23 ก.ย. พ.ศ. 2535 - 20 ก.ค. พ.ศ. 2538)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบ) พ.ศ. 2538 (2 ก.ค. พ.ศ. 2538)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 (4 ส.ค. พ.ศ. 2538)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบเอ็ด) พ.ศ. 2539 (17 พ.ย. พ.ศ. 2539)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 (21 ธ.ค. พ.ศ. 2539)
  • นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 (9 พ.ย. พ.ศ. 2540 - 8 ก.พ. พ.ศ. 2544)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2540 (14 พ.ย. พ.ศ. 2540-18 ก.พ. พ.ศ. 2544)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบสอง) พ.ศ. 2544 (6 ม.ค. พ.ศ. 2544)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 (11 มี.ค. พ.ศ. 2544)
  • ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบสาม) พ.ศ. 2548 (6 ก.พ. พ.ศ. 2548)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบสี่) พ.ศ. 2550 (23 ธ.ค. พ.ศ. 2550)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบห้า) พ.ศ. 2554 (3 ก.ค. พ.ศ. 2554)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบหก) พ.ศ. 2562
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สอง) พ.ศ. 2562

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชวน_หลีกภัย http://www.atimes.com/reports/CA05Ai01.html http://www-cgi.cnn.com/ASIANOW/asiaweek/features/p... http://www.matichonbook.com/index.php?mnuid=5&selm... http://komchadluek.net/e2548/reference/index.php?s... http://rdd.mcot.net/bio/query.php?id=780 http://www.chuan.org/ http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~ppasuk/corrupt... http://www.psu.ac.th/th/node/6567 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/A/...