ชันตรมันตระ_(ชัยปุระ)
ชันตรมันตระ_(ชัยปุระ)

ชันตรมันตระ_(ชัยปุระ)

ชันตรมันตระ (อักษรโรมัน: Jantar Mantar) เป็นบริเวณหอดูดาวซึ่งเป็นสถานที่ที่รวบรวมเครื่องมือทางดาราศาสตร์ สร้างโดยมหาราชาสะหวาย จัย สิงห์ ซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่ของจักรวรรดิโมกุล ภายใต้สมเด็จพระจักรพรรดิออรังเซพ โดยต่อมาได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็น "มหาราชา" และ "สะหวาย" จากสมเด็จพระจักรพรรดิโมฮัมมัดชาห์ (Emperor Mohammad Shah) ต่อมามหาราชาสะหวาย จัย สิงห์ที่ 2 แห่งแอมแมร์ ได้สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ที่ชัยปุระในระหว่างปีค.ศ. 1727 และค.ศ. 1734 ซึ่งนำรูปแบบมาจากเดลีเมืองหลวงของจักรวรรดิโมกุล โดยหอดูดาวลักษณะแบบนี้ได้ทรงสร้างทั้งหมด 5 แห่งต่างสถานที่กัน รวมถึงที่ชัยปุระ และเดลี ซึ่งหอดูดาวจันตาร์มันตาร์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุด และยังเก็บรักษาอยู่ในสภาพดีที่สุดอีกด้วย โดยได้รับการยกย่องโดยองค์การยูเนสโกว่า "เป็นการแสดงออกถึงความชาญฉลาดทางดาราศาสตร์และแนวความคิดทางจักรวาลวิทยาของราชสำนักในช่วงปลายของยุคโมกุล" ("an expression of the astronomical skills and cosmological concepts of the court of a scholarly prince at the end of the Mughal period")[1] งานบูรณะซ่อมแซมส่วนใหญ่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดของพันตรีอาเธอร์ การ์เรต (Major Arthur Garrette) นักดาราศาสตร์ ซึ่งแต่งตั้งเป็น "Assistant State Engineer" โดยสำนักงานอำเภอชัยปุระ[2]ชันตรมันตระ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก ในปีค.ศ. 2010[3]