งานสร้างภาพยนตร์ ของ ชั่วฟ้าดินสลาย_(ภาพยนตร์_พ.ศ._2553)

หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล

นักแสดงและผู้กำกับ

ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นการหวนกลับมาเขียนบทและกำกับอีกครั้ง ของ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล หลังจากห่างหายจากวงการไปนาน 13 ปี หลังจากกำกับภาพยนตร์เรื่อง อันดากับฟ้าใส [6]

หม่อมน้อยเคยร่วมงานกับ สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ และ สหมงคลฟิล์ม มาแล้ว เมื่อครั้งที่หม่อมเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ไทยจากเรื่อง เพลิงพิศวาส ปี พ.ศ. 2527 ที่ได้สร้างชื่อให้กับ สินจัย เปล่งพานิช ถึง 26 ปี และหม่อมน้อยจะกลับมาร่วมงานกับสหมงคลฟิล์ม อีกครั้งในรอบ 26 ปี กับภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานกำกับเรื่องที่ 9 ของหม่อมน้อย[7][5]

ซึ่งชั่วฟ้าดินสลายฉบับในปี พ.ศ. 2553 การสร้างชั่วฟ้าดินสลายในปี พ.ศ. 2553 เป็นการสร้างเป็นครั้งที่ 4 นำแสดงโดย อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม รับบท ส่างหม่อง, เฌอมาลย์ บุณยศักดิ์ รับบทเป็น ยุพดี และ ธีรพงษ์ เหลียวรักวงษ์ และ ช่างภาพมืออาชีพ มารับบทเป็น พะโป้ ร่วมด้วย ศักราช ฤกษ์ธำรง เป็นนักแสดงคู่บุญที่แสดงในภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล มาแล้วแทบทุกเรื่อง[5] ซึ่งเรื่องนี้เขามารับบทเป็น ทิพย์, เพ็ญเพชร เพ็ญกุล, และ ดารณีนุช โพธิปิติ

ที่มาของภาพยนตร์

ชั่วฟ้าดินสลาย (2498) เวอร์ชันที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของผู้ชม

ภาพยนตร์เรื่องนี้ สร้างจากวรรณกรรมอมตะของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ) หม่อมน้อยได้ให้ความเคารพในบทประพันธ์และสร้างอย่างใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งจะให้ทั้งความบันเทิงและสะท้อนแง่คิดคติสอนใจอย่างร่วมสมัยด้วย โดยการถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์โดยผู้กำกับภาพยนตร์ ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล เป็นการนำกลับมาสร้างใหม่เป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 30 ปี ถัดจากเวอร์ชันท้ายสุดเมื่อปี พ.ศ. 2523[8]

โดยบทประพันธ์นี้ได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือนิกร ฉบับวันอาทิตย์เมื่อ พ.ศ. 2486[5] ในลักษณะเรื่องสั้น และต่อมาจึงได้รับการแก้ไขและขยายเป็นนวนิยายขนาดเล็ก และตีพิมพ์โดยสำนักงานพิทยาคม เมื่อปี พ.ศ. 2494 และเคยสร้างเป็นละครเวทีโดย คณะศิวารมย์ ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์มาก่อนหน้านี้ 3 ครั้ง ในชื่อเดียวกับบทประพันธ์ ได้แก่ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2496 (สี, 16 ม.ม.) , ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2498 (35 ม.ม.) เป็นเวอร์ชันที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของผู้ชม และ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2523[5]

โดยหม่อมน้อย ได้กลับไปศึกษางานของ ครูมาลัย ชูพินิจ อีกครั้งหนึ่ง โดยที่คิดว่าจะรักษาวรรณกรรมเรื่องสั้นนี้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยคงบทประพันธ์เดิมไว้ 80 เปอร์เซ็นต์ โดยหม่อมน้อยกล่าวว่า การดำเนินเรื่องเลยจะใกล้เคียงกับในหนังสือมากกว่าในเวอร์ชันอื่นๆ ที่เคยทำมา" [9]

สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์

ฉากและสถานที่ถ่ายทำในภาพยนตร์เรื่องนี้ เนื่องจากฉากสำคัญของเรื่องเกิดขึ้นที่ปางไม้ในป่าลึกที่เขาท่ากระดานจังหวัดกำแพงเพชร อันเป็นอาณาจักรส่วนตัวของ “พะโป้” คหบดีใหญ่ผู้มั่งคั่งชาวพม่า ซึ่งผู้ประพันธ์ได้บรรยายไว้ว่า “ปลูกบ้านอยู่กว้างขวางใหญ่โต ราวกับปราสาทราชสำนักของเจ้าครองนครในสมัยโบราณ” ทางทีมงานภาพยนตร์ได้จัดฉากซึ่งเป็นคฤหาสน์ของพะโป้ขึ้นกลางป่าริมลำธารของวนอุทยานแห่งชาติขุนแจ อำเภอเวียงป่าเป้า โดยยึดถือการออกแบบตกแต่งจากศิลปกรรมล้านนาโบราณ เพื่อให้ตรงกับบทประพันธ์[8]

ส่วนภูมิประเทศรอบด้านนั้น ทางทีมงานได้เลือกภูมิทัศน์อันงดงามของจังหวัดเชียงรายเป็นสถานที่หลักในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้เกือบทั้งเรื่อง ทั้งที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ส่วนในป่าลึกและบนยอดเขาที่บ้านเย้าเล่าสิบ อำเภอแม่ฟ้าหลวง, บ้านปางผึ้ง ตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า เป็นต้น

เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ย้อนยุคไปในปี พ.ศ. 2476 จนถึงปี พ.ศ. 2486 และเรื่องราวเกิดขึ้นในภูมิภาคทางเหนือของประเทศไทยในระหว่างยุคนั้น ประกอบกับภูมิภาคของตัวละครผู้มีอิทธิพลสูงสุด คือ พะโป้ คหบดีม่ายชาวพม่า ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของทุกชีวิตในอาณาจักรเข่าท่ากระดาน ถือขนบประเพณีและวัฒนธรรมอันมีแบบแผน แบบราชสำนักไทยใหญ่และพม่า อันเป็นวัฒนธรรมอันมีอิทธิพลสูงในวัฒนธรรมล้านนาไทย ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงมีฉากสำคัญหลายฉากที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมอันสูงส่งและประณีตงดงาม เช่นฉากพีธีกรรม ฉากงานฉลองรับขวัญคู่สมรส ฉากงานบุญฉองวันเกิด หรือฉากงานเลี้ยงต้อนรับข้าหลวง ซึ่งมีการแสดงนาฏศิลป์และการละเล่นหุ่นกระบอก[10][8]

นอกเหนือจากการกำกับและการแสดงแล้ว ชั่วฟ้าดินสลายเวอร์ชันใหม่นี้ยังโดดเด่นด้วยการออกแบบงานสร้างในรูปแบบศิลปกรรมล้านนาโบราณและเครื่องแต่งกายตามขนบล้านนา รวมถึงพิธีกรรมยุคโบราณที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม[11]

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ จะสร้างฉากในหลากหลายสถานที่ ของจังหวัดเชียงราย ที่กล่าวว่าไม่มีใครไปถ่ายหนังจริงจังมากนัก[8]

เครื่องแต่งกาย

การออกแบบเครื่องแต่งกาย ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เนื่องจากเป็นภาพยนตร์ย้อนยุค เครื่องแต่งกายออกแบบเข้ากับยุคสมัย อารมณ์ และบรรยากาศของเรื่อง หลากหลายแบบทั้งสากล, ไทย และพม่า[12]

วัฒนธรรมการแต่งกายที่ถูกต้องตามขนบประเพณีและยุคสมัยของตัวละครเอกทุกตัว และจะสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผาต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรของตัวละครพะโป้ ที่เขากระดาน ตามที่ผู้ประพันธ์ได้ระบุไว้ว่า "มีบ่าวไพร่ทั้งที่เป็นพม่า ขมุ และมอญนับร้อย" ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกในยุคหลังๆ นี้ ที่นำเสนอภาพขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาไทย[8]

ฉากรักในภาพยนตร์

ฉากรักในภาพยนตร์

ภาพยนตร์เรื่องนี้ นอกจากจะมีเครื่องแต่งกายและสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์แล้ว ยังมีฉากรักในภาพยนตร์เรื่องนี้อีกด้วย ซึ่งอนันดา เอเวอริงแฮม เปลือยกายเล่นจริงให้สมบทบาทตัวละคร การที่อนันดาเข้าฉากรักในภาพยนตร์นั้น มีเทคนิกคือด้วยการใช้ผ้าผืนเล็กๆ แล้วเอาเทปใสแปะไว้ เป็นเทคนิกที่ใช่ในแต่ละฉาก[13]

ส่วนเรื่องคนจะวิจารณ์นั้นอนันดาก็ได้ชี้แจงว่าตนเองมองว่าเป็นการทำงานตามบทบาทเท่านั้น และไม่ได้คิดว่าเสียหายอะไร อนันดา กล่าวว่า ผมว่าหนังมันก็คือหนัง แล้วผมว่าเราควรจะโตกันได้แล้ว ผมว่าผมไม่ได้ทำในสิ่งที่คนอื่นๆ ในชีวิตจริงเขาไม่ได้ทำกัน กลับกัน ถ้าผมเล่นเป็นตัวที่เลวๆ ยิงคนตายอะไรแบบเนี้ย ผมว่าอันนั้นยังแรงกว่าการที่มาแก้ผ้าอีกนะ ผมว่าเรื่องแก้ผ้า เรื่องเซ็กซ์มันเป็นเรื่องธรรมชาติ[14]

เป็นภาพยนตร์ที่มีฉากรักจนเป็นประเด็นให้ที่พูดถึงด้วยความฮือฮา ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล อยากให้มองภาพยตร์ที่พูดถึง ตัณหาราคะโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดกับตัวละครที่มีความรู้มีการศึกษา รู้ดีรู้ชั่ว รู้จักศีลธรรม แต่บุคคลเหล่านี้ได้กระทำในสิ่งที่เรียกได้ว่าผิดต่อศีลธรรมในพุทธศาสนา คือจะพูดง่ายๆ หนังเรื่องนี้จะพูดถึงความหายนะของผู้ที่กระทำบาป"”[15]

เพลงประกอบและดนตรีประกอบ

เพลง ชั่วฟ้าดินสลาย ประพันธ์คำร้องโดย ครูมารุต ผู้กำกับภาพยนตร์เมื่อปี พ.ศ. 2498 ทำนองโดย แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ขับร้องโดย พูลศรี เจริญพงษ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงเงินพระราชทาน โดยภาพยนตร์ปีเรื่องนี้ ได้ เจนนิเฟอร์ คิ้ม มาร้องเพลงในภาพยนตร์เรื่องนี้[16]

การสร้างสรรค์ดนตรีประกอบเรื่องนี้ โดยนักประพันธ์ดนตรีมือรางวัลคือ จำรัส เศวตาภรณ์ ที่เคยได้รางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยมแห่งเอเชียจากภาพยนตร์ของหม่อมน้อยเรื่อง นางนวล ในปี พ.ศ. 2530 [5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชั่วฟ้าดินสลาย_(ภาพยนตร์_พ.ศ._2553) http://www.eternity-themovie.com http://www.eternity-themovie.com/ http://www.imdb.com/title/tt1740482/ http://www.majorcineplex.com/movie_update_detail.p... http://www.majorcineplex.com/movie_update_detail.p... http://www.nangdee.com/breakingnews/bnews_preview.... http://www.posttoday.com/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%... http://www.sahamongkolfilm.com/th/filmdetail.php?i... http://www.sahamongkolfilm.com/th/indexSiteNews.ph... http://www.sahamongkolfilm.com/th/newsdetail.php?i...