ชาลส์_สก็อต_เชอร์ริงตัน
ชาลส์_สก็อต_เชอร์ริงตัน

ชาลส์_สก็อต_เชอร์ริงตัน

เซอร์ ชาลส์ สก็อต เชอร์ริงตัน (อังกฤษ: Charles Scott Sherrington, 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1857 – 4 มีนาคม ค.ศ. 1952) เป็นนักสรีรวิทยา นักประสาทวิทยา และพยาธิแพทย์ชาวอังกฤษ เป็นผู้พิสูจน์ว่ารีเฟล็กซ์เป็นกระบวนการที่เกิดร่วมกันของเซลล์ประสาทหลายเซลล์ และอธิบายการจัดระเบียบการส่งกระแสประสาท เพื่อให้เกิดการหดเกร็ง-คลายกล้ามเนื้อที่เป็นคู่ปฏิปักษ์ (Reciprocal innervation) จากผลงานนี้ ทำให้เชอร์ริงตันได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ร่วมกับเอดการ์ แอเดรียนในปี ค.ศ. 1932ชีวประวัติอย่างเป็นทางการระบุว่าชาลส์ สก็อต เชอร์ริงตันเกิดที่เมืองอิสลิงตันในปี ค.ศ. 1857 เป็นบุตรของเจมส์ นอร์ตัน เชอร์ริงตันกับแอนน์ เธอร์เทล[3] บิดาของเขาเสียชีวิตก่อนเขาจะเกิด ทำให้เชอร์ริงตันเติบโตมากับเคเล็บ โรส ผู้ผลักดันให้เขาเรียนด้านการแพทย์ เชอร์ริงตันเรียนที่โรงเรียนอิปสวิชและราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งอังกฤษ ก่อนจะเรียนต่อที่วิทยาลัยฟิตซ์วิลเลียมของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จากนั้นเขามีโอกาสทำงานในหลายเมืองของยุโรป เช่น สทราซบูร์ โตเลโด และเบอร์ลิน ระหว่างค.ศ. 1891–1895 เชอร์ริงตันทำงานที่สถาบันบราวน์เพื่อการวิจัยสรีรวิทยาและพยาธิวิทยาขั้นสูงของมหาวิทยาลัยลอนดอน[4] และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล[5] ก่อนจะดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เวย์นฟลีตด้านสรีรวิทยาของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เขาดำรงตำแหน่งนี้จนเกษียณในปี ค.ศ. 1936[2] ด้านชีวิตส่วนตัว เชอร์ริงตันแต่งงานกับเอเทล แมรี ไรต์ในปี ค.ศ. 1891 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 1 คน เชอร์ริงตันเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันที่เมืองอีสต์บอร์นในปี ค.ศ. 1952[6]เชอร์ริงตันมีผลงานที่สำคัญคือการค้นพบว่ารีเฟล็กซ์เกิดจากการทำงานแบบเชื่อมโยงกันของหลายเซลล์ประสาท โดยอิงจากหลัก reciprocal innervation หรือการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหนึ่ง จะส่งผลให้กล้ามเนื้อที่เป็นคู่ตรงข้ามคลายตัวเพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลบล้างความเชื่อเดิมที่ว่ารีเฟล็กซ์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเดี่ยว ๆ ในวงรีเฟล็กซ์[7][8] นอกจากนี้เชอร์ริงตันยังเป็นผู้ริเริ่มใช้ศัพท์จุดประสานประสาท (synapse) เพื่ออธิบายโครงสร้างที่ใช้ส่งผ่านสารสื่อประสาทและกระแสไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาท[9][10]

ชาลส์_สก็อต_เชอร์ริงตัน

ศิษย์เก่า
สถาบันที่ทำงาน
อาจารย์ที่ปรึกษา
พลเมือง บริติช
เกิด 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1857(1857-11-27)
อิสลิงตัน มิดเดิลเซ็กส์ อังกฤษ สหราชอาณาจักร
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก
รางวัลที่ได้รับ
เสียชีวิต 4 มีนาคม ค.ศ. 1952 (94 ปี)
อีสต์บอร์น ซัสเซกซ์ อังกฤษ สหราชอาณาจักร
สาขา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชาลส์_สก็อต_เชอร์ริงตัน //doi.org/10.1098%2Frsbm.1952.0016 //www.jstor.org/stable/768811 http://neurotree.org/neurotree/peopleinfo.php?pid=... http://nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laurea... https://www.britannica.com/biography/Charles-Scott... https://archive.org/details/sherringtonhisli0000ec... https://www.nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/l... https://www.nobelprize.org/prizes/medicine/1932/sh... https://journals.physiology.org/doi/pdf/10.1152/jn... https://royalsocietypublishing.org/doi/pdf/10.1098...