ที่มาของศัพท์เชิงวิชาการในมุมมองทางประวัติศาสตร์ ของ ชาวกีซา

ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด ปีเตอรส์ อาจารย์วัยเกษียรของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก คณะอิสลามและตะวันออกกลาง กล่าวว่า ก่อนอิสลามและช่วงต้นอิสลาม คำว่า อะฮ์ลุลบัยต์ เป็นฉายานามของกุเรช และเป้าหมายของ บัยต์ คือ วิหารกะอ์บะฮ์ ณ นครมักกะฮ์  คำนี้เริ่มถูกใช้ในวงกว้างมากขึ้นจนมีกลิ่นไอทางด้านการเมืองเข้ามา และมีการอ้างอิงและรายงานเกี่ยวกับโองการที่ 33 ของซูเราะฮ์อะห์ซาบ ที่มาของคำนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่อุษมานถูกฆ่าและช่วงต้นของยุคราชวงศ์อะมะวี ตรงกับช่วงการปกครองของอาลีหลังจากที่ถูกลิดรอนสิทธิอันชอบธรรมไปเป็นเวลา 25 ปี คำดังกล่าวข้างต้นจึงหมายถึง อะฮ์ลุลบัยต์ ที่มีเฉพาะ ท่านศาสดาแห่งอิสลาม อาลี ฟาติมะฮ์ ฮะซันและฮุเซน ตามคำกล่าวของปีเตอรส์ ว่าคำนี้มีปรากฏในฮะดีษต่างๆมากมายเกี่ยวกับโองการข้างต้นที่รายงานจากมุฮัมหมัด เช่นฮะดีษ บุคคลห้าท่านที่อยู่ภายใต้เสื้อคลุม (อาลิอะบา).[4]

Laura Veccia Vaglieri เขียนไว้ในสารานุกรมอิสลามว่า โองการก่อนหน้านี้กล่าวถึงบัญชาต่าง ๆ สำหรับบรรดาภรรยาของท่านศาสดา จึงใช้คำสรรพนามที่เป็นพหูพจน์ของเพศหญิง แต่สำหรับโองการนี้คำสรรพนามเป็นพหูพจน์ของเพศชาย จึงไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับบรรดาภรรยาของท่านศาสดา หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้หมายถึงพวกท่านเพียงอย่างเดียว ดังนั้นโองการนี้หมายถึงใคร? คำว่า "อะฮ์ลุลบัยต์ หมายถึง "ครอบครัวท่านศาสดา" เท่านั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติครอบครัวของศาสดาจะมีความโดดเด่นเหนือกว่าบรรดาเครือญาติทั้งหมดของมุฮัมหมัด ไม่ว่าจะเป็นเผ่าของท่านทั้งชาวอันศอรหรือทั้งหมดที่มีอยู่ในสังคม ทว่ามีเรื่องเล่าที่มีอยู่ในฮะดีษต่าง ๆ มากมาย ตามรายงานต่าง ๆ นี้ มุฮัมหมัดได้ใช้เสื้อคลุมของท่านคลุมหลานทั้งสอง ฮะซัน ฮุเซน ฟาติมะฮ์บุตรีของท่าน และอาลี ผู้เป็นราชบุตรเขยในหลายโอกาส (เช่นเหตุการณ์มุบาฮะละฮ์) ห้าท่านนี้คือบุคคลผู้ที่ได้รับฉายานามว่า "อัศฮาบกีซา" อย่างไรก็ตามมีความเพียรพยายามที่ให้บรรดาภรรยาของท่านศาสดาเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย แต่จำนวนบุคคลที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษนั้นมีเพียงห้าท่านนี้เท่านั้น[5]