ประวัติ ของ ชาวจีนแต้จิ๋ว

บริเวณที่อยู่อาศัยของชาวจีนแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ง จีนแผ่นดินใหญ่ (สีแดง)

ในอดีตคนเหล่านี้ถูกเรียกว่าเหอเลา (Helao) หรือฝูเลา (Fulao) เนื่องจากส่วนใหญ่อพยพมาจากมณฑลเหอหนาน และมณฑลซานซีผ่านทางมณฑลฝูเจี้ยน โดยที่ยังคงรักษาภาษาและประเพณีจากจีนภาคกลางตอนเหนือไว้อย่างดี ตามที่ได้ถูกบันทึกไว้ในพันธุประวัติและจารึกโบราณ คนเหล่านี้ที่แต่เดิมอพยพไปทางภาคใต้ของมณฑลฝูเจี้ยนโดยเฉพาะที่ฉวนโจว (Quanzhou) และผู่เถียน(Putian) ได้ตั้งถิ่นฐานในเฉาซานเป็นกลุ่ม ๆ และในไม่ช้าก็กระจายไปทั่วพื้นที่เฉาซาน ความโดดเดี่ยวทางภูมิศาสตร์และความยากลำบากในการเดินทางในอดีตทำให้พวกเหอเลาและฝูเลากลายเป็นประชากรที่ค่อนข้างใกล้ชิดกัน เมื่อไม่นานมานี้การศึกษาการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมสนับสนุนว่า แม้ว่าชาวจีนฮั่นทั้งหมดมีความเกี่ยวดองกันอย่างแท้จริงและมีรากเหง้าเดียวกัน ชาวแต้จิ๋วกลับมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดที่สุดกับบริเวณหมินหนาน (Minnan) ของมณฑลฝูเจี้ยน และพวกที่มาจากเทือกเขาไตฮัง (Taihang) ของจีนภาคกลางตอนเหนือ[3]

คนที่พูดภาษาถิ่นกวางตุ้งเรียกพวกเขาว่า "ฮกโล่" มีความหมายตามตัวอักษรว่า "ผู้ชายจากฮกเกี้ยน" แม้ว่าคำว่า"แต้จิ๋ว" ถูกใช้ในอาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) ในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 คำว่า "แต้จิ๋ว" กลายมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว (Chaozhou Fu) ชื่อเมืองที่พวกเขาจากมา

ชาวแต้จิ๋วในสิงคโปร์

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากสภาพความอดอยากแร้นแค้น ชาวแต้จิ๋วมากมายจากบ้านเกิดมาที่สิงคโปร์เพื่อเริ่มชีวิตใหม่ ผู้อพยพชาวแต้จิ๋วรุ่นแรก ๆ สามารถระบุถิ่นกำเนิดได้ 8 อำเภอ ได้แก่ เฉาอัน, เฉิงห่าย, เฉาหยาง, เจิ้งหยาง, เหราผิง, ผู่หนิง, ฮุ่ยหลาย และหนานอ้าว นอกจากผู้อพยพใหม่ที่ออกจากท่าเรือซานโถวแล้ว ยังมีชาวแต้จิ๋วที่ย้ายมาจากสยามและหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซีย

ทุกวันนี้ภาษาถิ่นแต้จิ๋วใหญ่เป็นอันดับสองในเกาะนครรัฐแห่งนี้รองจากฮกเกี้ยน

ชาวแต้จิ๋วในไต้หวัน

ลูกหลานชาวแต้จิ๋วส่วนใหญ่ในไต้หวันได้กลืนกลายเป็นฮกเกี้ยนไปแล้ว พวกเขาพูดภาษาฮกเกี้ยนแทนที่จะเป็นแต้จิ๋ว