ชุมชนชาวจีน ของ ชาวจีนในประเทศปากีสถาน

การาจี

ประมาณปี ค.ศ. 1904 มีชาวจีนมุสลิมจำนวนหนึ่งอพยพเข้ามาจากประเทศจีน และได้ตั้งถิ่นฐานในเมืองการาจี[1] อย่างไรก็ตาม ชุมชนชาวจีนแต่เดิมก็ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม โดยบรรพบุรุษของพวกเขานับถือศาสนาพุทธ แต่ภายหลังได้หันไปนับถือศาสนาอื่น หรือไม่นับถือเลย โดยกลุ่มชนเชื้อสายจีนกลุ่มนี้กว่าร้อยละ 30 ได้ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม[3]

กลุ่มชนเชื้อสายจีนของการาจีในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นรุ่นที่สอง รุ่นแรกที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ส่วนมากได้เสียชีวิตหมดแล้ว และรุ่นที่สามส่วนมากให้อพยพไปสู่ประเทศอื่น[3] โดยส่วนมากอพยพไปสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา หรืออพยพไปประเทศจีน[1] พวกเค้าแทบจะไม่สวมเสื้อผ้าจีน แต่รักษาภาษาจีน แม้ไม่นานมานี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางภาษา ซึ่งหันมาพูดภาษาอูรดู[1][3] ที่ผ่านมาชุมชนชาวจีนได้จัดตั้งคณะกรรมการสมาคมเชื้อสายจีน เพื่อแสดงความเป็นปึกแผ่นของชุมชน พวกเขาตั้งอยู่ใกล้กับ Pakistan Employees Cooperative Housing บนถนนตาริก (Tariq) ในเขตเซดดาร์[3] โดยเป็นที่ตั้งของร้านอาหารจีน 15 ร้าน และเขตนี้บางครั้งจึงถูกเรียกว่า "ไชน่าทาวน์"[4]

นอกจากร้านอาหารจีนแล้ว ช่าวปากีสถานเชื้อสายจีนยังประกอบอาชีพช่างเสริมสวย ช่างทำรองเท้า ทำฟัน โดยส่วนมากเป็นรุ่นที่สองโดยสืบทอดจากรุ่นบรรพบุรุษ[3] โดยหมอฟันเชื้อสายจีนส่วนมากจะเจาะจงลูกค้าที่มีรายได้ต่ำในเมือง และส่วนมากพวกเขาไม่มีใบประกอบอาชีพอย่างเป็นทางการ ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเขาเคยอาศัยอยู่ท่ามกลางชุมชนชาวจีนในประเทศมาเลเซีย และเคยทำงานช่วยเหลือเกี่ยวฟัน แตต่อมาได้อพยพมายังประเทศปากีสถานเพื่อฝึกหัดเป็นทันตแพทย์ด้วยตัวเอง เนื่องจากการาจีในช่วงนั้นขาดแคลนหมอฟัน โดยขณะนี้ได้มีโรงเรียนทันตกรรมที่ไฮเดอราบาด รัฐซินด์[5]

ละฮอร์

ในเมืองละฮอร์ ชาวจีนมุสลิมได้จัดตั้งมัสยิดเรียกว่า จินีมัสญิด (Chini Masjid) หรือมัสยิดจีน พวกเขาได้แต่งงานข้ามเชื้อชาติกับคนในท้องถิ่น[6] โดยที่นี่ชาวจีนได้ผลิตรองเท้าสองยี่ห้อ และมีชื่อเสียง ได้แก่ Hopson และ Kingson[7]

ชนกลุ่มน้อยจากจีน

มีปนระชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากของจีนคือชาวอุยกูร์ และทาจิก ที่อพยพมาจากเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศปากีสถาน[8] มีผู้อพยพกว่าพันคนในปี ค.ศ. 1940 ได้อพยพเข้ามาด้วยความเกรงกลัวคอมมิวนิสต์ในจีน [9] และอพยพมากว่าร้อยคนจากเมืองโฮตาน ใน ค.ศ. 1954[10] ต่อมาคลื่นผู้อพยพเข้ามาอีกในปี ค.ศ. 1963 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1974

ในปี ค.ศ. 2009 มีการประมาณการว่ามีประชากรประมาณ 3,000 คน โดย 800 คนอยู่ในเมืองกิลกิต ประมาณ 2,000 คนอาศัยอยู่ในเมืองราวัลปินดี อีกกว่า 100 อาศัยอยู่ในเมืองซุซต์บนคาราโครัมไฮเวย์ ส่วนที่เหลือกระจายกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศ[8] นอกจากนี้ทางการจีนได้เรียกร้องสมาชิกของขบวนการอิสลามเตอรกีสถานตะวันออก (East Turkestan Islamic Movement) ที่ได้กระทำการในเมืองละฮอร์ด้วย[11]

ชุมชนชาวอุยกูร์ในปากีสถานนั้น ได้มีความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าบ้านปากีสถานเป็นอย่างดี มีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ระหว่างสองฝ่าย และส่วนมากพูดภาษาอูรดูได้มากกว่าพูดภาษาอุยกูร์ โดยกลุ่มเชื้อสายอุยกูร์จะทำธุรกิจเล็กๆ[9] เมื่อไม่นานมานี้พวกเขาได้ทำการนำเข้าเซรามิกจากจีน และผลิตภัณฑ์จากซินเจียง มาส่งขายภายในปากีสถาน[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชาวจีนในประเทศปากีสถาน http://people.com.cn/GB/junshi/192/6442/6446/20010... http://chinese.people.com.cn/GB/42314/8773453.html http://news.sina.com.cn/w/2008-07-17/163214178431s... http://gb.cri.cn/19224/2008/02/06/2225@1939584.htm http://www.musilin.net.cn/baike/2009/0223/article_... http://www.atimes.com/atimes/South_Asia/KI11Df01.h... http://www.chinaqw.com/hqhr/hrdt/200907/19/172004.... http://www.chinatownology.com/chinatown_karachi.ht... http://www.chowk.com/ilogs/68006/47736 http://dawn.com/report/lifestyles/mino1.htm