ชาวมลายูเคป
ชาวมลายูเคป

ชาวมลายูเคป

ชาวมลายูเคป (อาฟรีกานส์: Kaapse Maleiers) บ้างเรียก ชาวมุสลิมเคป[2] หรือเรียก มลายู เฉย ๆ เป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์หรือชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศแอฟริกาใต้[3] ชาวมลายูเคปมีบรรพบุรุษเป็นผู้อพยพจากเอเชียใต้ อุษาคเนย์ มาดากัสการ์ และชนพื้นเมืองแอฟริกาที่อาศัยในเคป ช่วงอาณานิคมของดัตช์และบริเตน[3][4][5]บรรพชนของชาวมลายูเคปกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาสู่เคป เป็นทาสชาวชวามาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์[6] (ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย)[5] และสมรสข้ามชาติพันธุ์กับทาสมาดากัสการ์ อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกาอื่น ๆ[7] ต่อมามีผู้โดยสารเชื้อสายชายชาวอินเดียมุสลิมตั้งถิ่นฐานในเคปและสมรสกับหญิงมลายูเคป ลูกหลานของพวกเขาก็ถูกนับว่าเป็นชาวมลายูเคปด้วย[8] โดยชื่อ "มลายู" นี้ เป็นการเรียกชาวมุสลิมแบบรวม ๆ โดยมิได้จำแนกชาติพันธุ์หรือแหล่งกำเนิด ทั้งนี้พวกเขาใช้ภาษามลายูเป็นภาษากลางสำหรับการเผยแผ่ศาสนา[7] อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ชุมชนนี้ถูกเรียกว่า "มลายู"[4] อย่างไรก็ตามพวกเขามองว่าอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมนั้นโดดเด่นกว่าความเป็นมลายู จึงเรียกตนเองอีกอย่างว่า "ชาวมุสลิมเคป"[2]ชาวมลายูเคปส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองเคปทาวน์ อาหารของชาวมลายูเคปส่งอิทธิพลอย่างสูงต่ออาหารแอฟริกาใต้ และมีบทบาทสำคัญต่อการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในแอฟริกาใต้ พวกเขาได้พัฒนาภาษาอาฟรีกานส์เป็นภาษาเขียนโดยใช้อักษรอาหรับ[7] และสร้างมัสยิดแห่งแรกในดินแดนแอฟริกาใต้[9][10] แต่ปัจจุบันชาวมลายูเคปส่วนใหญ่พูดภาษาอาฟรีกานส์และภาษาอังกฤษด้วย แต่ไม่มีใครพูดภาษามลายูอีกแล้ว ยังหลงเหลือเพียงคำหรือวลีมลายูสั้น ๆ ที่ใช้อยู่บ้างในชีวิตประจำวัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชาวมลายูเคป //doi.org/10.1163%2F22134379-90003687 //doi.org/10.5774%2F37-0-16 //doi.org/10.5774/37-0-16 //www.worldcat.org/issn/0006-2294 http://www.maraisburg.co.za/2010/10/23/history-of-... http://www.anc.org.za/ancdocs/history/solidarity/i... http://v1.sahistory.org.za/pages/artsmediaculture/... http://www.sahistory.org.za/archive/history-muslim... http://www.sahistory.org.za/article/cape-malay http://www.sahistory.org.za/pages/library-resource...