ชิต_สิงหเสนี
ชิต_สิงหเสนี

ชิต_สิงหเสนี

ชิต สิงหเสนี เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2447[1] เป็นบุตรของพระตำรวจเอก นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) กับนางน้อม (สกุลเดิม สุวรรณทัต) มีพี่น้องร่วมบิดามารดากัน 4 คน ได้แก่[2]นายชิตได้เป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กในตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือมหาดเล็กห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลนายชิตถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ศาลฎีกาได้พิพากษาให้นายชิตได้รับโทษประหารชีวิต[3] และถูกนำตัวไปประหารชีวิตพร้อมกับนายบุศย์ ปัทมศริน และนายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งตกเป็นจำเลยร่วมในคดีเดียวกันที่เรือนจำบางขวาง เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 สิริอายุได้ 50 ปี 227 วันในเวลาต่อมาได้มีการวิเคราะห์และศึกษาเกี่ยวกับกรณีสวรรคต โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในภายหลังคดีได้รับการพิพากษา ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานในหมู่ผู้ศึกษาเรื่องดังกล่าวว่า นายชิต สิงหเสนี พร้อมทั้งจำเลยร่วมอีก 2 คนที่ถูกประหารชีวิตพร้อมกัน อาจเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีนี้[4]

ชิต_สิงหเสนี

อาชีพ มหาดเล็ก
คู่สมรส ชูเชื้อ สิงหเสนี
เกิด 5 กรกฎาคม 2447
บิดามารดา พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี)
น้อม สิงหเสนี
เสียชีวิต 17 กุมภาพันธ์ 2498 (50 ปี 227 วัน)
เรือนจำบางขวาง
สัญชาติ ไทย