ลักษณะทางวรรณกรรม ของ ชินาลังการ

คัมภีร์นี้ใช้คาถาแต่งเป็นกลบท คล้ายคลึงกับงานวรรณกรรมภาษาของกาลีทาส, ภารวิ และมาฆะ กวีเอกสมัยศตวรรษที่ 5 ศตวรรษที่ 6 และศตวรรษที่ 7 ที่ใช้ภาษาสันสกฤตในการรจนาผลงาน จึงคาดว่าท่านผู้รจนาคัมภีร์ชินาลังการอาจได้รับอิทธิพลจากบรรดากวีสันสกฤตเหล่านี้ [8]

ลักษณะเด่นในทางวรรณกรรมของชินาลังการคือการใช้สัมผัสใน (ปทาสัตติ) การใช้เสียงซ้ำ (อนุปปาสะ) การใช้คำซ้ำ (ยมก) การใช้คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันจากว้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้ายของแต่ละคาถา (ปฏิโลมยมก) การใช้พยัญชนะซ้ำกัน การใช้บาทคาถาหลัง มีเสียงเหมือนบาทหน้า (ปฏิโลมกะ) การใช้ใช้อักษรที่มีฐานเสียงเดียวกันในคาถานั้นๆ (สมตา) และการผูกบทหลายบทเป็นบทสมาสยาวๆ [9]