ประวัติ ของ ชินโต

คำว่า "ชินโต" นี้ มาซาฮารุ อนาซากิ (Masaharu Anasaki. 1963 : 19 - 23) ได้อธิบายว่า มาจากอักษรจีนสองตัว คือ "เชน" (Shen) ซึ่งแปลว่า "เทพทั้งหลาย" ส่วน "เต๋า" (Tao) แปลว่า "ทาง" รวมความแล้ว แปลว่า "วิถีทางแห่งเทพทั้งหลาย" เพราะชาวญี่ปุ่นบูชาเทพเจ้าเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน เทพเหล่านี้เป็นเทพที่มีอยู่ในธรรมชาติ และการที่จะเข้าถึงองค์เทพได้นั้น จะต้องเข้าถึงธรรมชาติชินโตจึงสอนให้บุคคลเคารพในธรรมชาติเพื่อที่จะเข้าใจความเป็นชินโตให้มากขึ้น เราจะต้องศึกษาเทพนิยายและตำนานธรรมของคนญี่ปุ่นซึ่งมีมานานก่อนศตวรรษที่ 6 อันเป็นเรื่องราวที่แสดงถึงชาติกำเนิดของคนญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อกันว่าสืบสายเลือดมาจากเทพทั้งหลายทั้งปวง เทพเหล่านี้ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "คามิ" (Kami) แต่นักศาสนาบางท่านได้สันนิษฐานว่า คามิ คือ มานา (mana) คามิจะเป็นมานาหรือไม่ ยากที่จะระบุลงไปได้ เพราะแม้แต่นักศาสนาของญี่ปุ่นที่ชื่อ โมโตโอริ โนรินางะ (Motoori Norinaga) ยังไม่ยอมที่จะอธิบายกามิให้มากไปกว่าความหมายซึ่งเป็นที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไป ชินโต (「神道」, shintō, 神道?) เป็นศาสนาตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น และเคยเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศญี่ปุ่นในอดีต ชินโตเป็นศาสนาที่บูชา เทพเจ้า หรือที่เรียกว่า คามิ ( 神(かみ)) และจิตวิญญาณในธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ซุซะโนะโอะ เทพเจ้าแห่งทะเลและพายุในศาสนาชินโต คำว่าชินโต มาจากภาษาญี่ปุ่นสองคำในอักษรคันจิ คำว่า "ชิน" (神) ที่แปลว่า พระเจ้า และ "โต" (道) ที่หมายถึงวิถีชีวิต ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอะมิกุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต

ชินโตในระยะแรกไม่มีการสร้างศาลเจ้า จนกระทั่งศตวรรษที่3-4 ในศตวรรษที่4 เมื่อรัฐบาลยะมะโตะรวบรวมญี่ปุ่นจัดตั้งเป็นประเทศได้แล้ว ทำให้ชินโตถูกแบ่งเป็น 2ระดับคือ อะมะทสึ-คะมิ(Amatsu-kami) และ คคุทสึ-คะมิ(Koukutsu-kami)คำสอนอันแรกของชินโตที่ปรากฏขึ้นในกลางสมัยเฮอัน คือ ฮนจิสุยจะขุ(Honjisuijaku) ที่ได้ผนวกคำสอนของนิกายเทนได(Tendai) และ นิกายชินเง็น(Shingen)เข้าไว้ด้วยกัน รวมคำสอนของพระพุทธเจ้ากับเทพเจ้าที่มีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน มาแยกเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าเป็นหลักและเทพเจ้าสำคัญเป็นรอง โดยกล่าวว่าเทพเจ้าต่างๆในญี่ปุ่นล้วนเป็นปางหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาโปรดนั่นเองในสมัยใหม่กลุ่มนิกายเช่น อิเสะ(Ise) โยะชิดะ(yoshida) ฟุคโค(Fukko) ได้สร้างทฤษฎีที่เน้นความเป็นอิสระของชินโต เมื่อเข้าสู่สมัยเมจิได้มีการทำให้คำสอนกับพิธีกรรมของศาลเจ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยยึดถือพิธีกรรมของพระราชวงศ์เป็นหลัก นักบวชของชินโตมีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมเท่านั้น ส่วนประชาชนทุกคนถือเป็นสาวกกลายเป็น คกคะชินโต(Kokka Shintou)หรือชินโตที่เป็นของรัฐ หลังสงครามโลก ชินโตแต่ละนิกายได้ถูกบัญญัติให้เป็นศาสนาถูกต้องตาม กฎหมาย จากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงวัฒนธรรมของญี่ปุ่น สำรวจโดยอาสาสมัครของศาลเจ้าชินโตในปี ค.ศ.1994