สัตววิทยา ของ ชื่อพ้อง

ในระบบการตั้งชื่อทางสัตววิทยา ชื่อพ้องคือชื่อวิทยาศาสตร์ที่ต่างกันแต่เป็นของสัตว์ชนิดเดียวกัน เช่น มีชื่อสองชื่อสำหรับสปีชีส์เดียวกัน ในหลักเกณฑ์ของระบบการตั้งชื่อทางสัตววิทยา ชื่อแรกที่ถูกตีพิมพ์จะเป็น ชื่อพ้องหลัก (senior synonym) ชื่อที่เหลือจะกลายเป็น ชื่อพ้องรอง (junior synonyms)

ชื่อพ้องจะเป็น "ปรนัย หรือ โดยวัตถุ (objective)" ถ้าอ้างถึงสิ่งมีชีวิตเดียวกันอย่างชัดเจน ในกรณีนี้ถ้าอ้างถึงรูปร่างลักษณะหรือตัวอย่างต้นแบบเดียวกัน ไม่เช่นนั้น ชื่อพ้องจะเป็น "อัตนัย หรือ โดยบุคคล (subjective)" หมายความว่า มีลู่ทางสำหรับการโต้แย้ง นักวิจัยคนหนึ่งอาจพิจารณาชื่อสองชื่อเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวกัน ขณะที่คนอื่นอาจไม่เห็นด้วย

เช่น จอห์น เอ็ดวาร์ด เกรย์ (John Edward Gray) ตีพิมพ์ชื่อ Antilocapra anteflexa ในปี ค.ศ. 1855 ใช้สำหรับละมั่งอเมริกาบนพื้นฐานของเขาคู่ อย่างไรก็ตามตัวอย่างของเขาเป็นตัวอย่างที่ผิดปกติตัวอย่างหนึ่งของชนิด Antilocapra americana ที่ตีพิมพ์โดยจอร์จ ออต (George Ord) ในปี ค.ศ. 1815 ดังนั้นชื่อของออตจึงตั้งชื่อมาก่อน และ Antilocapra anteflexa ได้กลายชื่อพ้องอัตนัยรอง (junior subjective synonym)

ชื่อพ้องปรนัย (Objective synonyms) เป็นเรื่องธรรมดาของระดับสกุล เพราะนักวิจัยสองคนอาจมาถึงจุดตัดสินใจอย่างอิสระว่าสปีชีส์นั้นต่างจากชนิดอื่น ๆ ในสกุลอย่างพอเพียงที่จะตั้งสกุลของมันเอง ดังนั้นทุก ๆ ชื่อในสกุลใหม่ที่ใช้ชนิดต้นแบบเดียวกัน เป็นชื่อพ้องปรนัย (objective synonyms)

ที่ระดับชนิด ชื่อพ้องอัตนัยเป็นเรื่องธรรมดามากเพราะขอบเขตความแตกต่างมีขนาดใหญ่โตอย่างน่าประหลาดในสปีชีส์ หรือความไม่รู้เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะก่อนหน้าทั่ว ๆ ไป อาจทำให้นักชีววิทยาบรรยายลักษณะตัวอย่างที่ถูกค้นพบใหม่เป็นชนิดใหม่ อย่างไรก็ตามชื่อพ้องอัตนัยหาได้ยากมาก เช่นม้าป่ายุโรปบรรยายลักษณะโดยโยฮูนน์ ฟรีดริช เกม์ลลิน (Johann Friedrich Gmelin) ในปี ค.ศ. 1774 ในปี ค.ศ. 1784 พีตเตอร์ บอดเดอร์ต (Pieter Boddaert) ตั้งชื่อว่า Equus ferus โดยอ้างอิงการบรรยายลักษณะของเกม์ลลิน ต่อมาในปี ค.ศ. 1912 ออทโท อานโทเนียซ (Otto Antonius) กลับตีพิมพ์ในชื่อ Equus gmelini โดยไม่รู้ตัวก่อนว่ามีชื่อของบอดเดอร์ตอยู่แล้ว โดยอ้างถึงการบรรยายลักษณะของเกม์ลลินเช่นกัน ซึ่งชื่อทั้งสองนั้นอ้างการบรรยายลักษณะเดียวกัน ชื่อทั้งสองจึงเป็นชื่อพ้องอัตนัย

บางกรณีชื่อพ้องรองกลับเป็นที่แพร่หลายกว่าชื่อพ้องหลัก เกิดจากเมื่อชื่อหลักไม่ได้ถูกใช้อีกเลยตั้งแต่การบรรยายลักษณะครั้งแรก และชื่อพ้องรองกลับถูกใช้จนเป็นเรื่องปกติ ชื่อเก่าจะกลายเป็น "ชื่อตั้งไม่นิยม (nomen oblitum)" และชื่อรองเป็นที่ทราบว่าเป็น "ชื่อตั้งสงวนไว้ (nomen protectum)" นี้เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการสับสนจากผลของชื่อที่รู้จักกันดีไปแทนที่ชื่อที่ถูกต้องแต่ไม่ค่อยคุ้นเคยที่ต้องเพิ่มเติมในสิ่งตีพิมพ์ เช่น ชื่อวิทยาศาสตร์ของ มดคันไฟแดงต่างประเทศ มีชื่อว่า Solenopsis invicta ถูกตีพมพ์โดยบูเรน (Buren) ในปี ค.ศ. 1972 และชื่อนี้ก็ถูกสงวนไว้ เพราะความจริงแล้วชื่อแรกของมดชนิดนี้เป็น Solenopsis saevissima wagneri ถูกตั้งโดยแซนต์ชิ (Santschi) ในปี ค.ศ. 1916 มีเอกสารมากกว่าพันฉบับที่ตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ invicta ก่อนจะมีคนค้นพบว่าเป็นชื่อพ้อง และในปี ค.ศ. 2001 ICZN บังคับให้ invicta เป็นลำดับเหนือกว่า wagneri

ใกล้เคียง

ชื่อพ้อง รายชื่อนักร้องเพลงไทยสากลหญิง รายชื่อนักร้องเพลงไทยสากลชาย รายชื่อนักร้องเพลงลูกกรุง รายชื่อนักร้องชาวกัมพูชา รายชื่อนักร้องและกลุ่มศิลปินในเบเกอรี่มิวสิค รายชื่อนักร้องเพลงเพื่อชีวิต รายชื่อนักร้องเพลงลูกทุ่ง