การทำงาน ของ ชูสง่า_ฤทธิประศาสน์

ชูสง่า รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ในระหว่างปี พ.ศ. 2497 ถึงปี พ.ศ. 2498[2] ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ในระหว่างปี พ.ศ. 2498 ถึงปี พ.ศ. 2502[3] และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในระหว่างปี พ.ศ. 2504 ถึงปี พ.ศ. 2512[4] และได้รับแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5]

ชูสง่า ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคชาติไทย และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ครม.37)[6] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[7] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ชูสง่า ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติไทย

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ชูสง่า ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญยัติแห่งชาติ 2 สมัย คือ

  1. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2516
  2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2520