การรักษา ของ ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ

การรักษาภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อมีหลักการดังต่อไปนี้

  1. การให้สารน้ำชดเชย (Volume Resuscitation)[6]
  2. การให้ยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุด (Early antibiotic administration)[6]
  3. การทำ Early goal directed therapy[6]
  4. การหาสาเหตุและควบคุมอย่างรวดเร็ว (Rapid source identification and control)
  5. การช่วยการทำงานของอวัยวะสำคัญไม่ให้ทำงานผิดปกติ (Support of major organ dysfunction)

สำหรับการเลือกสารกระตุ้นการหดตัวกล้ามเนื้อหลอดเลือด (vasopressors) พบว่า นอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine) ให้ผลเหนือกว่าโดพามีน (dopamine) ในภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ[7] แต่ยาทั้งสองชนิดก็ยังถูกระบุให้เป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกในแนวทางการรักษา[7]

การใช้สารต้านสารตัวกลาง (antimediator agents) นั้นอาจมีที่ใช้จำกัดในบางสถานการณ์ที่รุนแรง ซึ่งก็ยังเป็นที่ถกเถียงกัน[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ http://www.diseasesdatabase.com/ddb11960.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=785.... http://www.physorg.com/news194879092.html //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20101549 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21436167 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21491390 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21506056 http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2020/MB_cgi?field=... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.bestbets.org/bets/bet.php?id=829