ขึ้นสู่อำนาจ ของ ช็อน_ดู-ฮวัน

ฮานาเฮว

ชอนจัดตั้งกลุ่มฮานาเฮว ซึ่งเป็นชมรมลับของเหล่าทหาร ตั้งขึ้นไม่นานหลังจากที่เขาได้รับตำแหน่งนายพล สมาชิกกลุ่มส่วนมากอยู่ในรุ่น 11 ของโรงเรียนนายร้อยทหารบกเกาหลี,เพื่อนกลุ่มอื่นๆและผู้สนับสนุนของเขา

เหตุการณ์การสังหารประธานาธิบดี พัก จองฮี

ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2522 ประธานาธิบดีพัก จองฮีถูกลอบสังหารโดย คิม เจคยู ผู้อำนายการสำนักข่าวกรองกลางเกาหลี ในขณะที่อยู่ในงานเลี้ยงอาหารค่ำ คิมได้เชิญนายพล จอง เซิงฮวา เสนาธิการทหารบก และ คิม จองโซบ รองผู้อำนวยการข่าวกรองกลางเกาหลี มารับประทานอาหารค่ำอย่างลับๆในห้องอื่นเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่า จอง เซิงฮวา จะปฏิเสธว่าไม่ได้ปรากฏตัวและมีส่วนข้องกับการสังหารประธานาธิบดีพัก แต่ความเกี่ยวข้องของเขาก็เป็นข้อพิสูจน์ว่ามีความสำคัญอย่างมากในเวลาต่อมา ในชั่วโมงแห่งความโกลาหล คิม เจคยูก็ไม่ได้ถูกจับเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพราะรายละเอียดในขั้นต้นยังไม่ชัดแจ้ง

เมื่อผ่านชั่วเวลาแห่งความสับสน ในกระบวนการตามรัฐธรรมนูญเรื่องผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี เช กิวฮา ขึ้นรักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี ไม่นานหลังจากนั้น นายพลจอง ซึงฮวาภายใต้ชื่อกองบัญชาการรักษาความมั่นคงของชอนได้มุ่งทำการสืบสวนการฆาตกรรมที่เกิดขึ้น ชอนได้มีคำสั่งอย่างทันทีให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่างแผนที่จะให้มีอำนาจเต็มใน "กองบัญชาการการสืบสวนร่วม"[4]

วันที่ 27 ตุลาคม ชอนจัดประชุมที่กองบัญชาการของเขา ได้เชิญบุคคลสำคัญ 4 คนซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของหน่วยข่าวกรองทั่วประเทศได้แก่ รองผู้บัญชาการฝ่ายต่างประเทศสำนักงานข่าวกรองกลาง,รองผู้บัญชาการฝ่ายกิจการภายในสำนักข่าวกรองกลาง,อัยการสูงสุดและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[4] ชอนให้แต่ละคนค้นหาข้อมูลที่ประตูที่เขาเข้ามา ก่อนที่จะให้พวกเขานั่งและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตายของประธานาธิบดี ชอนประกาศว่าหน่วยข่าวกรองกลางต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ให้เหตุการณ์การสังหารประธานาธิบดี เพราะฉะนั้นจึงต้องสอบสวนเหตุการณ์นี้ ชอนประกาศว่าจะไม่ให้หน่วยงานข่าวกรองกลางมีอำนาจบริหารงบประมาณเป็นของตัวเองอีกต่อไป

สำหรับหน่วยข่าวกรองกลาง "ในการดำเนินการที่มีความอิสระในการตัดสินใจในงบประมาณของพวกเขาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถที่จะยอมรับได้ เพราะฉะนั้น พวกเขาสามารถดำเนินการในหน้าที่ของพวกเขาที่ได้รับมอบอำนาจจากกองบัญชาการการสืบสวนร่วมเท่านั้น"— ช็อน ดู-ฮวัน, ผู้บัญชาการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคง และ กองบัญชาการการสืบสวนร่วม , 27 ตุลาคม 2522

ชอนยังได้มีคำสั่งต่อจากนั้นให้หน่วยข่าวกรองทุกหน่วยรายงานไปยังสำนักงานของเขาทุกวันเวลา 08.00 น. และเวลา 17.00 น. ทุกวัน ดังนั้นชอนจึงสามารถตัดสินใจว่าข้อมูลอะไรที่ทำให้เขาสามารถบัญชาการได้มากขึ้น ในอีกก้าวหนึ่ง ชอนได้ควบคุมหน่วยงานข่าวกรองทุกหน่วยทั่วทั้งประเทศ และชอนได้ตั้งรองผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองด้านต่างประเทศให้ดูแลรับผิดชอบกิจการของหน่วยข่าวกรองกลางในแต่ละวัน

พันตรี พัก จุนกวาง ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของชอนในเวลานั้นได้วิจารณ์ว่า

"ชอนอยู่ต่อหน้าองค์กรที่ทรงอำนาจมากที่สุดภายใต้ประธานาธิบดีพัก จองฮี เป็นที่น่าประหลาดใจว่าชอนสามารถควบคุมหน่วยงานต่างๆได้ และใช้ความสามารถของเขาทำให้เขาได้รับประโยชน์จากสถานการณ์นั้น และในขณะนั้นดูเหมือนว่าเขาจะมีอำนาจที่โตขึ้นอย่างมาก"— พัก จุงกวาง, ขณะที่อยู่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคง และ กองบัญชาการการสืบสวนร่วม

รัฐประหาร 12 ธันวาคม

ในเดือนธันวาคม ช็อน ดู-ฮวันพร้อมกับโนห์ แทวู,จอง โฮยอง,ยู ฮักซอง,ฮโย ซัมซูและเพื่อนร่วมรุ่น 11 ของโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยอาศัยความได้เปรียบจากสถานการณ์การเมืองที่บอบบางและการเติบโตขึ้นของกลุ่มฮานาเฮว การได้ตัวผู้บัญชาการคนสำคัญและการล้มล้างกลุ่มองค์กรของหน่วยข่าวกรองของชาติ

ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ชอนออกคำสั่งโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากประธานาธิบดี ชเว คยูฮา โดยการออกคำสั่งโดยมิชอบให้จับกุมตัวผู้บัญชาการทหารบก จอง ซึงฮวาในฐานสมคบคิดกับคิม เจคยูสังหารประธานาธิบดี ระหว่างการจับกุมมีการปะทะกันเกิดขึ้น พันตรี คิม โอราง ที่ปรึกษาของนายพลจอง ได้เสียชีวิตระหว่างการปะทะ

การรวมอำนาจ

ในต้นปี พ.ศ. 2523 ชอนได้รับการเลื่อนยศเป็น พลโท และเขาได้เริ่มเข้ามาสนใจในตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลาง ในวันที่ 14 เมษายน ชอนได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลาง

ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในกวางจู และ การใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 ชอนได้ทำการขยายเขตการใช้กฎอัยการศึกไปทั่วประเทศ โดยกล่าวหาว่ามีข่าวลือว่าเกาหลีเหนือจะแทรกซึมเข้าสู่เกาหลีใต้ เพื่อบังคับใช้กฎอัยการศึก กำลังทหารจะถูกส่งไปยังหลายๆส่วนของประเทศ สำนักงานหน่วยข่าวกรองกลางซึ่งจัดการข่าวลือเหล่านี้ภายใต้คำสั่งของชอน นายพลวิกแฮม (กองทัพอเมริกันที่ประจำการในเกาหลี) รายงานว่า การมองโลกในแง่ร้ายของชอนในการประเมินสถานการณ์ภายในประเทศและความตึงเครียดของเขาในเรื่องการคุกคามของเกาหลีเหนือดูเหมือนจะเป็นข้ออ้างในการเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี[5] การขยายกฎอัยการศึกในการปิดมหาวิทยาลัย ห้ามการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง การเพิ่มข้อจำกัดกับฝูงชน เหตุการณ์ในวันที่ 17 พฤษภาคมจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้อำนาจเผด็จการทหาร

ชาวเมืองหลายคนมีความไม่พอใจเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการที่กองกำลังทหารมาตั้งอยู่ในเมือง ในวันที่ 18 พฤษภาคม ประชาชนเมืองกวางจูได้จัดการเคลื่อนไหวซึ่งได้เป็นที่รู้จักกันในเหตุการณ์ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในกวางจู ชอนมีคำสั่งให้หยุดยั้งเหตุการณ์นี้และได้ส่งกองกำลังทหารเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในเมือง และนำไปสู่การฆาตกรรมหมู่ตลอดระยะเวลาสองวัน ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยและความตายของนักเคลื่อนไหวในเมืองกวางจูนับร้อยคน

เส้นทางสู่ประธานาธิบดี

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2523 ชอนมีคำสั่งยุบสภาแห่งชาติ ลำดับต่อมาได้ก่อตั้งคณะกรรมการนโยบายป้องกันชาติฉุกเฉินขึ้น และตั้งตัวเองเป็นหนึ่งในคณะกรรมการนั้น ในวันที่ 17 กรกฎาคม ชอนลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง และก็ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในคณะกรรมการที่ตนตั้งขึ้นเท่านั้น

วันที่ 5 สิงหาคม ชอนได้เลื่อนยศเป็นนายพลผู้มีอำนาจเต็ม ในวันที่ 22 สิงหาคม ชอนได้รับอนุญาตให้กลับจากหน้าที่สู่ทหารกองหนุน