นิยาม ของ ช่วงอายุปีอาเซนเซียน

ช่วงอายุปีอาเซนเซียนถูกนำมาใช้โดยวรรณกรรมวิทยาศาสตร์โดยคาร์ล มาเยร์-อายมาร์ นักลำดับชั้นหินชาวสวิสในปี ค.ศ. 1858 โดยตั้งตามชื่อเมืองปีอาเซนซาในประเทศอิตาลี

ฐานของช่วงอายุนี้อยู่ที่ฐานของหินรุ่นแม่เหล็ก C2An (ฐานของหินรุ่นเกาส์และที่การสูญพันธุ์ของฟอรามินิเฟอราชนิดแพลงก์ตอน Globorotalia margaritae และ Pulleniatina primalis) และมี GSSP สำหรับหินช่วงอายุปีอาเซนเซียนอยู่ที่ปุนตาปิกโกลาในแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี[10]

ขอบบนของช่วงอายุปีอาเซนเซียน (ฐานของหินยุคควอเทอร์นารีและหินสมัยไพลสโตซีน) ถูกนิยามว่าเป็นการลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลโดยเป็นฐานของหินรุ่นมาสึยามะ (C2r) (ที่การสลับเกาส์–มาสึยามะ) และหินช่วงอายุไอโซโทป 103 เหนือจุดนี้ขึ้นไปเป็นการสูญพันธุ์ของซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กเนื้อปูน ได้แก่ Discoaster pentaradiatus และ Discoaster surculus[11]

ใกล้เคียง

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย ช่วงอายุชิบาเนียน ช่วงอายุปีอาเซนเซียน ช่วงอายุเมฆาลายัน ช่วงอายุซานเคลียน ช่วงอายุเจลาเซียน ช่วงอายุคาลาเบรียน ช่วงอายุนอร์ทกริปเปียน ช่วงอายุกรีนแลนเดียน ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ช่วงอายุปีอาเซนเซียน //doi.org/10.1016%2F0012-821X(96)00109-4 //doi.org/10.18814%2Fepiiugs%2F1998%2Fv21i2%2F002 //doi.org/10.18814%2Fepiiugs%2F1998%2Fv21i2%2F003 //doi.org/10.2307%2F3515337 //www.jstor.org/stable/3515337 http://palaios.sepmonline.org/content/12/4/380 http://quaternary.stratigraphy.org/correlation/POS... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.bgs.ac.uk/lexicon/lexicon.cfm?pub=RCG