ช่องเขามานา
ช่องเขามานา

ช่องเขามานา

ช่องเขามานา (อังกฤษ: Mana Pass; อักษรจีน: 玛那山口) หรือ มานาลา, ชีร์บิตยา, ชีร์บิตยา-ลา และ ดังกรี-ลา[1] เป็นช่องเขาระหว่างเทือกเขาหิมาลัย ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนทิเบตกับอินเดีย อยู่ที่ความสูง 5,545 เมตร (18,192 ฟุต) เป็นช่องที่เดินทางด้วยพาหนะที่สูงที่สุดในโลก[2] ถนนที่ใช้สัญจรสร้างในช่วงปี ค.ศ. 2005–2010 สำหรับปฏิบัติการทางทหารโดยองค์การถนนพรมแดน (Border Roads Organisation) ของอินเดีย[3] สามารถมองเห็นถนนเหล่านี้ได้บนกูเกิล เอิร์ธช่องเขามานาตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาตินันทาเทวี (Nanda Devi National Park) ห่างจากตอนเหนือของเมืองมานา 24 กิโลเมตร และ 27 กิโลเมตรจากเมืองพัทรีนาถ (Badrinath) เมืองที่มีความสำคัญของศาสนาฮินดูในรัฐอุตตราขัณฑ์ ช่องเขาแห่งนี้เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสรัสวตี แม่น้ำสาขาของแม่น้ำอลกนันทา (Alaknanda River) ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาที่ยาวที่สุดของแม่น้ำคงคา[4] นอกจากนี้ยังเป็นจุดที่เหมาะสำหรับการปีนยอดเขาชอคามบา (Chaukhamba)ช่องเขามานาเป็นเส้นทางสัญจรและค้าขายระหว่างรัฐอุตตราขัณฑ์กับทิเบตมาตั้งแต่โบราณ คำว่า "มานา" มาจาก "มณีภัทรอาศรม" (Manibhadra Ashram) ซึ่งเป็นเมืองโบราณในเขตเมืองมานา[4] ในปี ค.ศ. 1624 นักบวชชาวโปรตุเกสจากคณะเยสุอิต 2 รูปคือ อังตอนีอู ดือ อังดราดือ (António de Andrade) และมานูแอล มาร์กึช (Manuel Marques) เป็นชาวยุโรป 2 คนแรกที่เดินทางเข้าทิเบตผ่านช่องเขาแห่งนี้[5] มีการใช้ช่องเขามานาเรื่อยมาจนประเทศจีนประกาศปิดเส้นทางในปี ค.ศ. 1951 ต่อมาในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1954 ประเทศจีนและประเทศอินเดียได้ร่วมกันลงนามในข้อตกลงยินยอมให้ชนพื้นเมืองและผู้แสวงบุญมีสิทธิ์ในการเดินทางเข้าออกสองประเทศผ่านช่องเขาแห่งนี้[6]

ใกล้เคียง

ช่องเวิร์คพอยท์ ช่องเขาขาด ช่องเขาเสือกระโจน ช่องเขา ช่องเขาเกรตเซนต์เบอร์นาร์ด ช่องเขาลิตเทิลเซนต์เบอร์นาร์ด ช่องเหนือเบ้าตา ช่องเขาครัว-เดอ-แฟร์ ช่องเจ็ด ช่องเขาฟัวร์คา