ช้างแอฟริกา
ช้างแอฟริกา

ช้างแอฟริกา

ช้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน (อังกฤษ: African elephant) เป็นช้างสกุลหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา จากหลักฐานฟอสซิลที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกามาตั้งแต่ยุคไพลสโตซีนช้างแอฟริกา จัดอยู่ในสกุล Loxodonta (/โล-โซ-ดอน-ตา/; เป็นภาษากรีกแปลว่า "ฟันเอียงข้าง"[2]) ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชนิด คือ[2]ซึ่งแต่เดิมนั้นช้างแอฟริกาถูกจัดให้มีเพียงชนิดเดียว คือ Loxodonta africana และที่เหลือก็เป็นชนิดย่อยซึ่งกันและกัน แต่ในปี ค.ศ. 2001 เริ่มมีนักวิทยาศาสตร์บางคนสังเกตเห็นถึงความแตกต่าง จึงมีการถกเถียงกันเป็นระยะเวลานานนับทศวรรษ จนกระทั่งได้ข้อสรุปในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษาด้านพันธุกรรมดีเอ็นเอ ในนิวเคลียสของสัตว์ตระกูลช้าง พบว่าเป็นคนละชนิดกันอย่างแน่นอน แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่าทั้ง 2 ชนิดนั้นเดิมเคยเป็นชนิดเดียวกันมาก่อน แต่ได้แยกสายวิวัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อ 2.6-5.6 ล้านปีที่แล้วโดยเชื่อว่า มีการถ่ายทอดยีนระหว่างประชากรกันได้ แต่เมื่อช้างเอเชียวิวัฒนาการเกิดขึ้นมาและแพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วทวีปแอฟริกา แต่ต่อมาก็ได้สูญพันธุ์หมด ประชากรช้างแอฟริกาแท้ ๆ ก็ถูกตัดขาดออกจากกัน[4]ช้างแอฟริกาโดยรวมแล้ว มีขนาดใหญ่กว่าช้างเอเชียมาก ตัวผู้มีความสูงในขณะยืนประมาณ 3.64 เมตร (12 ฟุต) โดยวัดจากหัวไหล่ และมีน้ำหนักประมาณ 5,455 กิโลกรัม (12,000 ปอนด์) ในขณะที่ตัวเมียมีความสูงในขณะยืนประมาณ 3 เมตร (10 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 3,636 ถึง 4,545 กิโลกรัม (8,000 ถึง 10,000 ปอนด์) มีใบหูที่ใหญ่กว่าช้างเอเชีย เพื่อใช้โบกระบายความร้อนออกจากเส้นเลือดฝอยที่มีระบบมากมายในแผ่นใบหู รวมทั้งมีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย งาของตัวผู้จะมีความสั้นและหนากว่า ขณะที่งาของตัวเมียจะเรียวยาวและบางกว่า[5] และจะงอยที่ปลายงวงจะมี 2 จะงอย ต่างกับช้างอินเดียที่มีเพียงจะงอยเดียว และมีหน้าผากที่ลาดกว่า จะงอยปากล่างสั้นและกลมกว่าช้างเอเชียที่แคบและยาวกว่า[6] แต่โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุเพียง 50 ปี ซึ่งน้อยกว่าช้างเอเชีย [7][8] แม้ช้างแอฟริกาจะมีขนาดร่างกายใหญ่และส่วนหัวใหญ่โตกว่าช้างเอเชียก็ตาม แต่ทว่ากลับมีขนาดของสมองเล็กกว่า [9]ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ทั้งบนภูเขาและที่ราบต่ำ ทั้งบริเวณที่เป็นแนวหินและป่าทึบ สามารถข้ามลำธาร ว่ายน้ำหรือปืนภูเขาสูงได้ดี ชอบอาบน้ำ คลุกโคลนหรือคลุกดินหรือทราย ชอบใช้งวงพ่นดินหรือทรายไปทั่วตัว ชอบอยู่ในป่าโปร่ง ไม่กลัวแสงแดด มีอุปนิสัยดุร้ายกว่าช้างเอเชีย แต่ปกติจะไม่ทำร้ายมนุษย์ก่อน เว้นหากได้รับบาดเจ็บ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา หรือในแอฟริกากลาง เช่น แถบทะเลสาบชาด ในสมัยโบราณ ชาวอียิปต์มีความสามารถในการจับช้าง และชาวคาร์เธจ เคยใช้เป็นช้างศึกในสงครามพิวนิค ขณะที่ชาวโรมันเคยซื้อไปใช้ละเล่นในละครสัตว์ แต่ก็ต้องเปลี่ยนมาใช้ช้างเอเชียในที่สุด เพราะฉลาดและฝึกได้ง่ายกว่า [10]