ซัลลีจญ์
ซัลลีจญ์

ซัลลีจญ์

ซัลลีจญ์ (อาหรับ: الزليج, อักษรโรมัน: zillīj; ปรากฏการสะกดทั้ง Zellij, zillij หรือ zellige) เป็นรูปแบบของงานกระเบื้องโมเสก ทำมาจากกระเบื้องที่แกะด้วยมือเป็นชิ้น ๆ[1](p335)[2](p41)[3](p166) โดยทั่วไปแล้วกระเบื้องชิ้นแต่ละชิ้นจะมีสีที่แตกต่างกันไป และต่อเข้าด้วยกันเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ บนพื้นฐานของการฝังหินขัดเป็นลวดลาย โดยเฉพาะเป็นรูปแม่ลายเรขาคณิตอิสลาม เช่นรูปดาวหลายแฉก[1][4][5][6] ศิลปะอิสลามรูปแบบนี้เป็นหนึ่งในลักษณะเด่นหลักของสถาปัตยกรรมในโลกอิสลามตะวันตก พบในสถาปัตยกรรมโมร็อกโก, อัลจีเรีย, ในแหล่งอิสลามยุคแรก ๆ ของตูนิเซีย และในอนุสรณ์อัลอันดะลุส ในคาบสมุทรไอบีเรีย นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา ซัลลีจญ์กลายมาเป็นองค์ประกอบการตกแต่งมาตรฐานสำหรับผนังตอนล่าง, ในน้ำพุ, สระน้ำ, บนหออะษาน และเป็นลายปูพื้น[1][5]หลังศตวรรษที่ 15 มา ซัลลีจญ์แบบดั้งเดิมได้หมดความนิยมลงในหลายพื้นที่ ยกเว้นเพียงแค่โมร็อกโก ที่ซึ่งยังคงมีการผลิตซัลลีจญ์มาถึงปัจจุบัน[1](pp414–415) นอกจากนี้ยังพบในงานประดับของสิ่งปลูกสร้างยุคใหม่ เช่น มัสยิดฮัสซานที่ 2 ในกาซาบล็องกา ซึ่งใช้โทนสีใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากรูปแบบดั้งเดิม[7] อิทธิพลของซัลลีจญ์ยังปรากฏพบในงานกระเบื้องของสเปนที่ผลิตในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และงานลอกเลียนในยุคสมัยใหม่[8](p102)[2](p41)