ประวัติ ของ ซาดาร์

ยุคก่อนโรมัน

ชุมชนเริ่มแรกสุดที่ตั้งในบริเวณของเมืองซาดาร์ปัจจุบันนั้นถูกสร้างโดยกลุ่มคนซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยบันทึกของชาวกรีกในช่วง 400 ปีก่อนคริสตกาลกล่าวว่าว่าชนกลุ่มนี้คือ ชาวลิเบอร์เนียน(Liburnians) และในอาณาเขตทางตะวันตกที่ติดทะเลเอเดรียติกของโครเอเชียนั้นเคยเป็นดินแดนที่เรียกว่า Liburnia ชาวลิเบอร์เนียนนั้นเป็นผู้ชำนาญด้านการเดินเรือและคอยต่อสู้ยับยั้งการจะเข้ามาตั้งอาณานิคมของอาณาจักรกรีกโบราณในย่านนี้ พวกเขายังมีชื่อเสียงด้านการเป็นโจรสลัดค่อยออกปล้นเรือในช่วงหลังๆก่อนจะถูกอาณาจักรโรมันเข้ามาปกครองอีกด้วย

ซาดาร์เริ่มเป็นเมืองที่มีบทบาททางด้านการค้าในทะเลเอเดรียติกตั้งแต่ช่วง 700 ปีก่อนคริสตกาลโดยได้ติดต่อค้าขายกับชาวกรีกโบราณ ชาวฟินิเชีย และ ชาวอีทรัสคันในระยะนั้น ประมาณการณ์ว่าประชากรของซาดาร์อยู่ที่จำนวน 2,000 คน ด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ทำให้ซาดาร์เป็นเมืองหลักของอาณาจักรชาวลิเบอร์เนียน

สมัยโรมัน

อาณาจักรโรมันเริ่มเข้ามามีบทบาทในดินแดนของชาวลิเบอร์เนียนในช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาล แม้ว่าช่วงแรก ๆ นั้นทั้งสองฝ่ายจะสู้รบกันแต่ชาวลิเบอร์เนียนไม่ได้เข้าร่วมสงครามเมื่อฝ่ายโรมันทำการรุกไล่ชาวอิลลีเรียน (Illyrians) ที่ครอบครองดินแดนทางตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่านในสมัยนั้น จนเมื่อชาวอิลลีเรียนถูกกลืนเข้าเป็นประชากรของโรมันจนหมดสิ้นและโรมันได้ทำการตั้งเขต Illyricum ขึ้นเมื่อ 59 ปีก่อนคริสตกาล ซาดาร์จึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน

ไบแซนไทน์

อาณาจักรโครเอเชียโบราณและราชอาณาจักรฮังการี

การปิดล้อมโจมตีซาดาร์ใน ค.ศ. 1202

ใน ค.ศ. 1185 ซาดาร์ได้ก่อกบฏเพื่อให้หลุดจากการปกครองของสาธารณรัฐเวนิส และในระยะนั้นเมืองได้ไปขอความคุ้มครองจากวาติกันและราชอาณาจักรฮังการีแม้จะมีสถานะเป็นเมืองอิสระ จวบจนปี ค.ศ. 1202 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 (Pope Innocent III) ได้ประกาศเรียกคริสตศาสนิกชนให้ก่อสงครามครูเสดครั้งที่สี่ เพื่อนำดินแดนเยรูซาเลมกลับมาอยู่ในอำนาจของชาวคริสต์อีกครั้ง กองทหารที่จะเข้าร่วมสงครามครูเสดส่วนหนึ่งได้ตัดสินใจที่จะเดินทางจากเวนิสโดยทางทะเลไปขึ้นฝั่งที่อียิปต์ โดยได้ตกลงทำสัญญากับเวนิสให้สร้างกองเรือที่จะขนทหารข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนล่วงหน้าเป็นเวลา 1 ปี

เมื่อถึงเวลาที่จะเริ่มเดินทาง ทหารที่จะไปร่วมสงครามครูเสดกลับไม่สามารถรวบรวมเงินเพื่อชำระค่าสร้างเรือตามที่ตกลงไว้กับเวนิสได้ ทางเวนิสจึงได้ออกอุบายว่าจะยกยอมส่วนต่างของจำนวนเงินที่ต้องชำระให้ก่อน แต่กองทหารครูเสดนั้นต้องช่วยเวนิสในการกำราบเหล่าเมืองท่าริมทะเลเอเดรียติกที่แข็งขืนไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจของเวนิสและแผนการหลักคือการไปปิดล้อมโจมตีซาดาร์ เมื่อทางพระสันตะปาปาอินโนเซนส์ที่ 3 ทรงทราบถึงแผนการก็ทรงประนามและสั่งห้ามกองทหารไม่ให้โจมตีซาดาร์ซึ่งเป็นเมืองของชาวคริสต์ กระทั่งทหารที่เป็นผู้นำหลายๆคนเองก็ไม่เห็นด้วยและปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วม ทว่าหมู่ทหารส่วนใหญ่กลับเห็นพ้องที่จะให้ความร่วมมือตามแผนการณ์ของเวนิส

กองทหารที่จะไปทำสงครามครูเสดและกองกำลังของเวนิสออกเดินทางในวันที่ 8 ตุลาคมและไปถึงซาดาร์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน แม้ว่าซาดาร์จะได้ทำการเตรียมวางแนวป้องกันขวางปากอ่าวไว้และชาวเมืองต่างก็แขวนผ้าที่ประดับสัญญลักษณ์กางเขนเพื่อประกาศว่าเป็นชาวคริสต์เช่นเดียวกับเหล่าทหารครูเสด กระนั้นการปิดล้อมโจมตีซาดาร์ก็ดำเนินไปจนเมืองต้องพ่ายแพ้และตกอยู่ใต้อำนาจของสาธารณรัฐเวนิสเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนในที่สุด ชาวเมืองจำนวนมากต่างพากันหลบหนีไปอยู่ที่เมืองเล็กกว่าใกล้ ๆ เช่น นิน (Nin) บิโอกราด นา โมรู (Biograd na Moru) รวมถึงเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่รอบข้าง โดยการทำลายเมืองซาดาร์นี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่เมืองคาธอลิกถูกโจมตีโดยทหารที่เป็นคาธอลิกซึ่งจะไปรบในสงครามครูเสด[1]

สาธารณรัฐเวนิส

หลังสาธารณรัฐเวนิสล่มสลาย

ถูกผนวกเข้ากับอิตาลี

ซาดาร์ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นซารา และถูกล้อมด้วยดินแดนของรัฐชาวสลาฟใต้

ในปี ค.ศ. 1920 ซาดาร์ได้ถูกผนวกเข้าเป็นเขตโพ้นทะเลแห่งเดียวในการปกครองของอิตาลีที่ยังอยู่บนฝั่งดัลเมเทียในขณะที่พื้นที่ส่วนอื่นของดัลเมเทียกลายเป็นดินแดนของราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes) ในระยะนี้ชาวโครแอทที่อาศัยอยู่ในเมืองได้ถูกกดขี่จนต้องยอมย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานในเมืองอื่นรอบนอกที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาวสลาฟใต้ เมื่อชาวโครแอทย้ายออกไป ทางการอิตาลีก็ได้นำชาวอิตาลีจากแผ่นดินหลักเข้ามาเพิ่มจำนวนประชากรในเมืองทดแทน

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามยูโกสลาเวียจนถึงปัจจุบัน

ใกล้เคียง