ขบวนการผลิตทางเคมี ของ ซินแก๊ส

ขบวนการผลิตหลักของซินแก๊สคือการใช้การเปลี่ยนรูปไอน้ำ (steam reforming) ได้แก่การดูดกลืนความร้อนจากมีเทนด้วยพลังงาน 206 kJ/mol

ปฏิกิริยาแรก เป็นการดูดกลืนความร้อนระหว่างไอน้ำกับถ่านโคกร้อนๆ ทำให้เกิดคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจน (หรือชื่อเดิมแก๊สน้ำ) เมื่อถ่านโคกเย็นลงจนขบวนการดูดกลืนความร้อนจบลง ก็จะมีอากาศเย็นเข้ามาแทนที่ไอน้ำ

เริ่มปฏิกิริยาที่สองและที่สาม เป็นขบวนการคายความร้อน โดยป้อนคาร์บอนไดออกไชด์ จนถ่านโค้กร้อน แล้วจึงเริ่มขบวนการดูดกลืนความร้อนอีกครั้ง คราวนี้จะได้คาร์บอนมอนอกไซด์ ได้แก๊สผู้ผลิต (Producer gas:ชื่อเดิม) จากนั้นก็จะเริ่มขบวนการดูดและคายความร้อนซ้ำอีกจนกระทั่งถ่านโค้กหมดสภาพ แก๊สผู้ผลิตจึงมีค่าพลังงานน้อยกว่าแก๊สน้ำ ดังนั้น จึงใช้ออกซิเจนแทนอากาศเพื่อลดปัญหาค่าพลังงานแก๊สผู้ผลิตลดลงในขบวนการท้าย ๆ

ในขบวนการผลิตแอมโมเนียในสเกลที่ใหญ่ขึ้น มีความต้องการไฮโดรเจนสังเคราะห์จากแก๊สธรรมชาติดังนี้

CH4 + H2O → CO + 3 H2

แต่ถ้าต้องการไฮโดรเจนสูงขึ้น ต้องใช้ไอน้ำมากขึ้น แก๊สน้ำจะเกิดปฏิกิริยาดังนี้

CO + H2O → CO2 + H2

ใกล้เคียง