ประวัติการใช้งาน ของ ซี-130_เฮอร์คิวลิส

เฮอร์คิวลิสที่กำลังปล่อยพลุที่เรียกว่าแองเจิล แฟลร์ส (Angel Flares ) เพราะรูปร่างของมัน

เฮอร์คิวลิสนั้นเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดและหนักที่สุดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน[7] ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน พ.ศ. 2506 เคซี-130เอฟได้ลงจอดบนเรือยูเอสเอส ฟอร์เรสทัล[8] นักบินเจมส์ แฟลทลีย์ที่ 3 ได้รับรางวัลเหรียยกล้าหาญในการบินในการให้ความร่วมมือในครั้งนั้น การทดสอบประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่มันก็ยังความคิดที่เสี่ยงเกินไป ดังนั้นซี-2 เกรย์ฮาวด์จึงถูกใช้ทำหน้าที่แทน เฮอร์คิวลิสลำดังกล่าวถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์การบินทางทะเลที่ฟลอริดา

ในขณะที่ซี-130 ทำหน้าที่ลำเลียงและขนเสบียงรายวัน มันก็ยังเป็นส่วนหนึ่งในปฏิบัติการรุกที่มีชื่อเสียงเช่นกัน

เอซี-130 ยังได้ทำสถิติเป็นเครื่องบินที่บินนานที่สุด ตั้งแต่วันที่ 22-24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เอซี-130ยูสองลำได้ทำการบิน 36 ชั่วโมงจากฐานบินในฟลอริดาไปยังเมืองเดกูในเกาหลีใต้ในขณะที่ทำการเติมเชื้อเพลิงไป 7 ครั้ง กันชิปได้ถูกใช้มาตั้งแต่สงครามเวียดนาม ยกเว้นการทิ้งระเบิดลิเบียในปีพ.ศ. 2529[9]

เอ็มซี-130 คอมแบททาลอนถูกใช้เพื่อการทิ้งระเบิดขนาดหนักที่สุดโลก บีแอลยู-82 และจีบียู-43/บี แบบแรกถูกใช้ในสงครามเวียดนามเพื่อเคลียร์ทางลงจอดให้กับเฮลิคอปเตอร์และกำจัดทุ่งกับระเบิด น้ำหนักและขนาดของอาวุธทำให้มันเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรทุกมันบนเครื่องบินทิ้งระเบิด จีบียู-43/บีเป็นผู้สืบทอดจากบีแอลยู-82 และทำหน้าที่คล้ายกัน

ในสงครามอินเดีย-ปากีสถานเมื่อปีพ.ศ. 2508 กองทัพอากาศปากีสถานได้ดัดแปลงเครื่องบินมากมายสำหรับทิ้งระเบิดและโจมตีสะพานและกองทหาร ไม่มีเครื่องบินลำใดถูกยิงตกในการรบ แม้ว่าจะมีหนึ่งลำที่ได้รับความเสียหาย[10]

มันยังถูกใช้ในปฏิบัติการเอ็นเท็บบ์เมื่อปีพ.ศ. 2519 ซึ่งอิสราเอลได้ส่งหน่วยคอมมานโดเข้าทำการโจมตีและช่วยเหลือผู้โดยสาร 103 คนในเครื่องบินที่ถูกจี้โดยผู้ก่อการร้ายชาวปากีสถานกับชาวเยอรมันที่สถานบินเอ็นเท็บบ์ในอูกันดา ทีมช่วยเหลือประกอบด้วยทหาร 200 นาย รถจี๊บ และเมอร์ซิเดส-เบนซ์สีดำหนึ่งคัน ถูกขนส่งทางอากาศจากอิสราเอลไปยังเอ็นเท็บบ์โดยเฮอร์คิวลิสสี่ลำโดยปราศจากการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ

ในสงครามหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ในปีพ.ศ. 2525 ซี-130 ของกองทัพอากาศอาร์เจนตินาได้เสี่ยงอันตรายด้วยการขนเสบียงทุกวันในตอนกลางคืนเพื่อหลบแนวปิดกั้น พวกมันยังทำการบินสำรวจในตอนกลางวันอีกด้วย มีหนึ่งลำที่ถูกยิงตก อาร์เจนตินายังมีเคซี-130 เพื่อเติมเชื้อเพลิงทางอากาศอีกด้วย และมันได้เติมเชื้อเพลิงให้กับ เอ-4 สกายฮอว์ค และดัซโซลท์-เบร์เกต์ ซูเปอร์ เอตังดาร์ท ซึ่งได้จมเรือของอังกฤษไป 6 ลำ อังกฤษได้ใช้เอซี-130 ของพวกเขาเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการลำเลียง

ในสงครามอ่าวเมื่อปีพ.ศ. 2534 ซี-130 เฮอร์คิวลิสถูกใช้โดยกองทัพอากาศ กองทัพเรือ และนาวิกโยธินสหรัฐ พร้อมกับกองทัพของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร

ในสงครามอัฟกานิสถานเมื่อปีพ.ศ. 2544 ซี-130 ถูกใช้โดยออสเตรเลีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ เกาหลีใต้ สเปน สหราชอาณาจักร และสหรัฐ

ในการบุกอิรักเมื่อปปีพ.ศ. 2546 เฮอร์คิวลิสถูกใช้โดยออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ หลังจากการรุกซี-130 ก็ถูกใช้โดยกองกำลังนานาชาติในอิรักแทน

ซี-130 หนึ่งลำของกองทัพอากาศอังกฤษถูกยิงตกในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2548 เมื่ออิรักใช้ปืนต่อต้านอากาศยานซียู-23 ยิงมันในขณะทำการบินที่ระดับ 1,648 ฟุตหลังจากที่ส่งหน่วยเอสเอเอส[11]

ซี-130ที แฟตอัลเบิร์ตของสหรัฐ

ซี-130ที แฟตอัลเบิร์ตเป็นรุ่นพิเศษเพียงลำเดียวของทีมบินผาดโผนบลูแองเจิล แม้ว่ามันจะทำงานให้กับกองทัพเรือ แต่นาวิกโยธินก็ใช้มันด้วยเช่นกัน ในงานแสดงบางงานแฟตอัลเบิร์ตจะเข้าร่วมแสดงด้วยเพื่อเป็นการสาธิตความสามารถในเครื่องยนต์ไอพ่นของมัน

ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552 มีการรายงานว่าแผนที่จะพัฒนาซี-130 อาจถูกระงับไปเพื่อเพิ่มทุนให้กับเอฟ-35 และโครงการเครื่องบินเชื้อเพลิงรุ่นใหม่[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซี-130_เฮอร์คิวลิส http://www.abc.net.au/news/stories/2005/05/17/1370... http://www.airforce-magazine.com/MagazineArchive/D... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601109&si... http://www.codeonemagazine.com/archives/2004/artic... http://www.defenceaviation.com/2007/06/c-130-hercu... http://www.HerkyBirds.com http://www.heyeng.com/herk.htm http://www.lockheedmartin.com/data/assets/7317.pdf http://www.youtube.com/watch?v=BjNyQvhsQE8 http://navysite.de/cvn/cv59.htm