ซูคราโลส
ซูคราโลส

ซูคราโลส

125 °C, 398 K, 257 °F ซูคราโลส (อังกฤษ: sucralose) เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ลักษณะเป็นผงสีขาวหรือไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีสูตรเคมีคือ C12H19Cl3O8 และเลขอีคือ E955[4] ซูคราโลสถูกค้นพบโดยบังเอิญในปี ค.ศ. 1976 โดยนักวิจัยจากคิงส์คอลเลจลอนดอน ร่วมกับเทตแอนด์ไลล์ (Tate & Lyle) บริษัทอุตสาหกรรมอาหารสัญชาติบริติช เทตแอนด์ไลล์จดสิทธิบัตรซูคราโลสในปีเดียวกัน[5] ซูคราโลสยังรู้จักในชื่อทางการค้าอื่น ๆ ได้แก่ Splenda, Zerocal และ Sukranaซูคราโลสเป็นไดแซ็กคาไรด์หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่มีที่มาจากซูโครส อันเกิดจากการรวมตัวกันของกลูโคสและฟรักโทส[6] ซูคราโลสสามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาคลอริเนชันหรือการแทนที่หมู่ไฮดรอกซิลในซูโครสด้วยอะตอมของคลอรีน[7] ซูคราโลสมีความหวานกว่าซูโครสประมาณ 320–1000 เท่า[8] หวานกว่าแอสปาร์แตมและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม 3 เท่า และหวานกว่าแซกคารีน 2 เท่าซูคราโลสได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัยจากองค์การอาหารหลายแห่ง เช่น องค์การอาหารและยาสหรัฐ คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของสหภาพยุโรป และคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในไทย[9] ใช้เป็นวัตถุให้ความหวานในขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม และอาหารทางการแพทย์[10] โดยปริมาณแนะนำที่ร่างกายรับได้ต่อวันอยู่ที่ 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน[11] อย่างไรก็ตามซูคราโลสไม่ให้พลังงานเนื่องจากร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้[12] ซูคราโลสไม่ก่อให้เกิดฟันผุ[13] และไม่ส่งผลต่อระดับอินซูลินในเลือด จึงปลอดภัยต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน[14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซูคราโลส http://www.chemspider.com/64561 http://www.thegoodscentscompany.com/data/rw1611711... http://ecb.jrc.ec.europa.eu/esis/index.php?GENRE=E... http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14647086 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16572525 http://www.genome.ad.jp/dbget-bin/www_bget?cpd:C12... //doi.org/10.1016%2Fj.jada.2003.09.021 http://www.foodinsight.org/Content/6/gestationaldi... http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2559_64_202_p...