การบังคับบัญชา ของ ญะมาอะห์_อิสลามียะห์

นายอาบู บาการ์ บาเชียร์ ครูสอนศาสนาชาวอินโดนีเซีย (อพยพมาจาก เยเมน) คือบุคคลที่เชื่อว่าเป็นผู้นำทางศาสนาของกลุ่มญะมาอะห์ อิสลามียะห์ หรือ เจมาห์ อิสลามิยาห์ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่า นายบาเชียร์ก็ดำรงฐานเป็นแกนนำด้านการปฏิบัติการเช่นเดียวกัน นายบาเชียร์เข้าร่วมกับกลุ่มดารุล อิสลาม ในช่วงทศวรรษที่ 1970 และถูกทางการอินโดนีเซียจับกุมไปขังเนื่องจากการเคลื่อนไหวทางศาสนา แต่ได้รับการปล่อยตัวออกมาระยะหนึ่ง และได้หลบหนีไปยังประเทศมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ. 2528 หลังจากที่ศาลอินโดนีเซียมีคำสั่งให้จับกุมตัวนายบาเชียร์ไปคุมขังอีกครั้งหนึ่งระหว่างที่พำนักอยู่ในมาเลเซีย นายบาเชียร์ได้รวบรวมอาสาสมัครเพื่อไปร่วมทำสงครามต่อต้านกองทัพรัสเซียที่บุกยึดประเทศอาฟกานิสถาน โดยได้รับเงินสนับสนุนจากซาอุดิอาระเบีย ขณะเดียวกันนายบาเชียร์ก็ยังคงติดต่อกับพวกพ้องที่มีแนวคิดเดียวกันในอินโดนีเซียอย่างสม่ำเสมอ

หลังจากที่ระบอบเผด็จการของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต้ยุติลงเมื่อปี พ.ศ. 2541 นายบาเชียร์ เดินทางกลับไปยังประเทศอินโดนีเซีย และเปิดโรงเรียนสอนศาสนาขึ้นที่เมืองโซโล บนเกาะชวา ซึ่งประชนชนส่วนใหญ่บนเกาะนี้ เป็นชาวมุสลิม พร้อมก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภานักรบมุสลิมแห่งอินโดนีเซีย (Indonesia Mujahedeen Council) ซึ่งเป็นแกนนำเครือข่ายนักรบมุสลิมในอินโดนีเซีย

นายบาเชียร์ปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย และหลังจากเกิดเหตุลอบวางระเบิดที่เกาะบาหลี เมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2545 ทางการอินโดนีเซีย ได้เรียกตัวนายบาเชียร์มาให้ปากคำเกี่ยวกับกรณีการลอบโจมตีที่เคยเกิดขึ้นหลายครั้งก่อนหน้านั้น ปัจจุบันนายบาเชียร์ถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน โดยมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมและความเกี่ยวพันกับการก่อการร้ายที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

ในขบวนการกลุ่มแกนนำมีความรับผิดชอบต่างๆกัน ผู้นำสูงสุดเรียกว่าเอเมียร์ รองลงไปคือสภาผู้นำ (มากาซ) และสภาที่ปรึกษา (ซูเราะห์) จากนั้นจึงแบ่งไปสู่ระดับภาค (มันติกิ) แต่ละภาคมีการบังคับบัญชาในระดับกองพัน (ซาลาล) หมวด (เกอดาซ) และหมู่ (เฟียซ) โดยแบ่งออกเป็นสี่ภาคด้วยกันคือ[4]

ในแต่ละภูมิภาค มีหน่วยงานหลักห้าฝ่ายคือ

  • ฝ่ายจาริกเชิญชวน มีหน้าที่หาสมาชิก
  • ฝ่ายฝึกอาวุธ
  • ฝ่ายเศรษฐกิจ ทำหน้าที่เรี่ยไรและรับบริจาคเงิน
  • ฝ่ายองค์กรบังหน้า ปรากฏตัวในรูปมูลนิธิ โรงเรียนสอนศาสนา และพยายามแทรกซึมเข้าไปในองค์กรต่างๆ
  • ฝ่ายต่างประเทศ เชื่อมโยงกับขบวนการในภูมิภาคอื่นที่มีอุดมการณ์เดียวกัน