ฐานันดรศักดิ์จีน

ชนชั้นฐานันดรจีน ประกอบด้วย กษัตริย์และขุนนางของจักรวรรดิจีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญขององค์การทางการเมืองและสังคมตามประเพณีจีนแม้ว่าแนวคิดเรื่องฐานันดรศักดิ์แบบสืบตระกูลจะปรากฏมาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นอย่างน้อย แต่ระบบฐานันดรศักดิ์ที่แน่นอนนั้นมีขึ้นครั้งแรกในช่วงราชวงศ์โจว หลายพันปีให้หลัง ระบบดังกล่าวเปลี่ยนแปลงรูปแบบค่อนข้างน้อย แต่เนื้อหาสาระมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง รูปแบบฐานันดรศักดิ์ชุดท้ายสุดมีอยู่ในสมัยราชวงศ์ชิง จนถูกล้มเลิกไปเมื่อเกิดการปฏิวัติซินไฮ่ของกลุ่มนิยมสาธารณรัฐเมื่อ ค.ศ. 1911 แต่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ยังให้ฐานันดรศักดิ์บางอย่างคงอยู่ต่อไป ภายหลัง พฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองแบบใหม่ทำให้ชนชั้นฐานันดรเสื่อมถอยลง ปัจจุบัน ฐานันดรศักดิ์หมดบทบาทลงแทบสิ้นเชิง แต่บุคคลบางกลุ่มยังคงถือหรืออ้างสิทธิในฐานันดรศักดิ์อยู่ แม้ไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันก็ตามในระบบฐานันดรศักดิ์จีน การมอบ เลื่อน หรือถอดฐานันดรศักดิ์เกิดขึ้นได้ทั้งในเวลาที่มีชีวิตอยู่และหลังเสียชีวิตแล้ว เช่น กวาน อฺวี่ (關羽) เมื่อมีชีวิตอยู่ มีศักดิ์ว่า "ฮั่นโช่วถิงโหว" (漢壽亭侯) เมื่อสิ้นชีพแล้ว ได้เป็น "จงฮุ่ยกง" (忠惠公) ในราชวงศ์ซ่ง ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้ามีศักดิ์ว่า "เสี่ยนหลิงอี้หย่งอู่อันอิงจี้หวัง" (顯靈義勇武安英濟王) ในราชวงศ์ยฺเหวียน และได้เป็นเจ้ามีศักดิ์ว่า "ซานเจี่ยฝูหมัวต้าเฉินเวย์-ยฺเหวี่ยนเจิ้นเทียนจุน-กวานเชิ่งตี้-จฺวิน" (三界伏魔大神威遠震天尊關聖帝君) ในราชวงศ์หมิง[1]

ใกล้เคียง

ฐานันดรศักดิ์เจ้านายฝ่ายเหนือ ฐานันดรศักดิ์ไทย ฐานันดรศักดิ์ยุโรป ฐานันดรศักดิ์จีน ฐานันดรศักดิ์เจ้านายมลายูปัตตานี ฐานันดรที่สี่ ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร ฐานันดรที่สามคือ? ฐานันดรศักดิ์ ฐานัฐพ์ โล่ห์คุณสมบัติ