ราชวงศ์ ของ ฐานันดรศักดิ์จีน

กษัตริย์

กษัตริย์อยู่ ณ จุดสูงสุดของชนชั้นฐานันดร ฐานันดรศักดิ์ของกษัตริย์นั้นเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ดังนี้

ยุคแรกสุด อันเป็นช่วงที่ประวัติศาสตร์เจือปนไปด้วยตำนาน กษัตริย์จีนเรียกว่า "หฺวัง" (皇) หรือ "ตี้" (帝) กษัตริย์ที่เรียกขานด้วยคำดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในนาม "สามราชาห้าจักรพรรดิ" (三皇五帝)

กษัตริย์ในสมัยต่อมา คือ ราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ชาง เรียกตนเองว่า "ตี้"[2]

กษัตริย์ช่วงราชวงศ์โจวเรียกตนว่า "หวัง" (王) หรือ "กั๋วหวัง" (國王)

จนกระทั่งฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) แห่งราชวงศ์ฉิน คิดค้นคำว่า "หฺวังตี้" (皇帝) ขึ้นใช้เรียกตนเองเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล โดยนำตำแหน่งเดิม คือ "หฺวัง" ที่แปลว่า มิ่งมงคล กับ "ตี้" ที่แปลว่า เจ้า หรือเทพเจ้า มารวมกัน คำนี้มักแปลกันว่า "จักรพรรดิ" (emperor) และนับแต่นั้น กษัตริย์จีนก็เรียกว่า "หฺวังตี้" มาจนราชวงศ์สุดท้าย คือ ราชวงศ์ชิง ล่มสลายลงใน ค.ศ. 1911

ฐานันดรศักดิ์ของกษัตริย์มักส่งผ่านจากบิดาสู่บุตร ซึ่งมักเป็นบุตรคนหัวปีที่เกิดจากภรรยาหลวง หรือมิฉะนั้น ก็เป็นบุตรคนหัวปีของภรรยาที่มีศักดิ์รองลงมา แต่กฎดังกล่าวไม่ตายตัว โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาการสืบราชบัลลังก์ซึ่งนำไปสู่สงครามกลางเมือง

คู่ครองของกษัตริย์

ดูบทความหลักที่: ระบบวังหลังของจีน

หนังสือ โจวหลี่ (周禮) ซึ่งเขียนขึ้นอย่างสองร้อยปีก่อนคริสตกาล ระบุว่า คู่ครองของกษัตริย์มีฐานันดรศักดิ์จากสูงไปต่ำดังนี้

  • หฺวังโฮ่ว (皇后) มี 1 ตำแหน่ง
  • ฟูเหริน (夫人) มี 3 ตำแหน่ง
  • ผิน (嬪) มี 9 ตำแหน่ง
  • ชื่อฟู่ (世婦) มี 27 ตำแหน่ง
  • ยฺวี่ชี (御妻) มี 81 ตำแหน่ง

ใกล้เคียง

ฐานันดรศักดิ์เจ้านายฝ่ายเหนือ ฐานันดรศักดิ์ไทย ฐานันดรศักดิ์ยุโรป ฐานันดรศักดิ์จีน ฐานันดรศักดิ์เจ้านายมลายูปัตตานี ฐานันดรที่สี่ ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร ฐานันดรที่สามคือ? ฐานันดรศักดิ์ ฐานัฐพ์ โล่ห์คุณสมบัติ