รูปแบบของดรามา ของ ดรามา_(ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)

อนุกรมวิธานนักประพันธ์บท (Screenwriters Taxonomy) โต้เถียงว่าการแบ่งประเภทภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์นั้นอิงจากบรรยากาศ, ตัวละคร และเรื่องราว[5] ด้วยเหตุนี้การแบ่งประเภทว่าเป็น "ดรามา" และ "สุขนาฏกรรม" นั้นกว้างเกินไปที่จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นประเภท ดังนั้น อนุกรมวิธานอธิบายว่าดรามาเป็น "รูปแบบ" (type) โดยมีอย่างน้อย 10 รูปแบบย่อย[9] เช่น:

  • ดรามากึ่งสารคดี (docudrama) คือ การแปลงให้เป็นบทละครหรือภาพยนตร์ของเหตุการณ์จริงโดยไม่ได้มีความถูกต้องเสมอไป และข้อเท็จจริงทั่วไปนั้นมีความจริงอยู่มากหรือน้อย[10] ความแตกต่างระหว่างดรามากึ่งสารคดีและสารคดีนั้น สารคดีใช้บุคคลจริงเพื่ออธิบายประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์ปัจจุบัน ขณะที่ดรามากึ่งสารคดีใช้นักแสดงที่ได้รับการฝึกฝนอย่างเชี่ยวชาญเพื่อสวมบทบาทในเหตุการณ์จริงซึ่งได้่รับการแปลงบทเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น อาชญากรซ่อนเขี้ยว (ค.ศ. 2015) และ ตามล่ารหัสฆ่าฆาตกรอำมหิต (ค.ศ. 2007)
  • บันเทิงคดีอิงเอกสาร (docufiction) ซึ่งแตกต่างจากดรามากึ่งสารคดีที่บันเทิงคดีเอกสารเป็นการรวมกันระหว่างสารคดีและบันเทิงคดีเข้าด้วยกัน โดยมีภาพหรือเหตุการณ์จริงผสมรวมเข้ากับฉากที่สร้างขึ้นใหม่[11]
  • หัสนาฏกรรม (comedy drama) คือ เรื่องเล่าที่มีความจริงจังแต่มีตัวละครบางตัวหรือฉากบางฉากซึ่งน่าตลกขบขันโดยตัวเอง[12] เช่น เดอะเบสต์เอ็กโซติกมาริโกลด์โฮเทล (ค.ศ 2011), ลุกขึ้นใหม่ หัวใจมีเธอ (ค.ศ. 2012) และ ชีวิตมหัศจรรย์ ทรูแมน โชว์ (ค.ศ. 1998)
  • ไฮเปอร์ดรามา (hyperdrama) ได้รับการประดิษฐ์คำโดยศาสตราจารย์ในวงการภาพยนตร์ เค็น ดานซีเกอร์ เพื่ออธิบายเรื่องเล่าที่มีตัวละครหรือสถานการณ์เกิดจริงจนถึงจุดที่กลายเป็นนิทานอุทาหรณ์[6] (fable), ตำนาน หรือเทพนิยาย[6] (fairy tale) เช่น คุณจิ้งจอกจอมแสบ (ค.ศ. 2009) และ มาเลฟิเซนต์ กำเนิดนางฟ้าปีศาจ (ค.ศ. 2014)
  • ไลท์ดรามา (light drama) เรื่องเล่าเบิกบานหรือสบายใจหากแต่มีความเคร่งขรึม[13] เช่น คุณนายตัวดี สาวใช้ตัวดำ (ค.ศ. 2011) และ ด้วยรักและมิตรภาพ (ค.ศ. 2011)
  • ดรามาจิตวิทยา (psychological drama) คือดรามาที่ให้ความสำคัญกับชีวิตเบื้องลึกและปัญหาทางจิตใจของตัวละคร[14] เช่น เคลียร์บัญชีแค้นจิตโหด (ค.ศ. 2003), อาชญากรรม / ความหวัง / การสูญเสีย (ค.ศ. 2006) และ ตีให้ลั่น เพราะฝันยังไม่จบ (ค.ศ. 2014)
  • ดรามาเสียดสี (satire) อาจมีอารมณ์ขันแทรกอยู่ แต่ผลลัพธ์โดยทั่วไปนั้นคือการวิจารณ์สังคมอย่างแหลมคมซึ่งจะไม่ใช่เรื่องตลกแม้แต่น้อย ดรามาเสียดสีมักใช้การแฝงนัย (irony) หรือ การกล่าวเกินจริง เพื่อเปิดเผยความผิดพลาดในสังคมหรือบุคคลผู้มีอิทธิพลต่ออุดมการณ์ของสังคม[15] เช่น อัจฉริยะผ่าโลกเพี้ยน (ค.ศ. 2006) และ กิวฟอร์สโมกกิง (ค.ศ. 2005)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดรามา_(ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) http://www.documentaryisneverneutral.com/words/doc... http://www.merriam-webster.com/dictionary/drama //www.worldcat.org/oclc/85485014 //www.worldcat.org/oclc/986993829 //www.worldcat.org/oclc/993983488 http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015... https://www.allmovie.com/subgenre/psychological-dr... https://www.audible.com/pd/Falling-in-Love-with-Ro... https://documentarystudies.duke.edu/courses/produc... https://www.worldcat.org/oclc/85485014