ดาราจักรแอนดรอเมดา
ดาราจักรแอนดรอเมดา

ดาราจักรแอนดรอเมดา

ดาราจักรแอนดรอเมดา (อังกฤษ: Andromeda Galaxy; หรือที่รู้จักในชื่ออื่นคือ เมสสิเยร์ 31 เอ็ม 31 หรือ เอ็นจีซี 224 บางครั้งในตำราเก่า ๆ จะเรียกว่า เนบิวลาแอนดรอเมดาใหญ่) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ที่อยู่ห่างจากเราประมาณ 2.5 ล้านปีแสง[1] อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา ถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด สามารถมองเห็นเป็นรอยจาง ๆ บนท้องฟ้าคืนที่ไร้จันทร์ได้แม้มองด้วยตาเปล่าดาราจักรแอนดรอเมดาเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนดรอเมดา ดาราจักรทางช้างเผือก ดาราจักรสามเหลี่ยม และดาราจักรขนาดเล็กอื่น ๆ อีกกว่า 30 แห่ง แม้ดาราจักรแอนดรอเมดาจะเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ดาราจักรที่มีมวลมากที่สุด จากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรทางช้างเผือกมีสสารมืดมากกว่าและน่าจะเป็นดาราจักรที่มีมวลมากที่สุดในกลุ่ม[2] ถึงกระนั้น จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า ดาราจักร M31 มีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในดาราจักรของเรา[3] ผลการคำนวณเมื่อปี 2006 ประมาณการว่า มวลของดาราจักรทางช้างเผือกน่าจะมีประมาณ 80% ของดาราจักรแอนดรอเมดา คือประมาณ 7.1×1011 เท่าของมวลดวงอาทิตย์[4]ดาราจักรแอนดรอเมดามีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมซีเยที่สว่างที่สุดวัตถุหนึ่ง[5] และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วย อาจมองเห็นดาราจักรเป็นดวงเล็ก ๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของดาราจักรกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียวทั้งนี้ ดาราจักรแอนดรอเมดาและดาราจักรทางช้างเผือกคาดว่าจะปะทะและรวมกันเป็นดาราจักรรี (elliptical galaxy) ขนาดใหญ่ ในอีก 3.75 พันล้านปีข้างหน้า [6]เส

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดาราจักรแอนดรอเมดา http://www.newscientistspace.com/article/dn9282-an... http://adsabs.harvard.edu/abs/2005ApJ...635L..37R http://adsabs.harvard.edu/cgi-bin/nph-bib_query?bi... http://web.archive.org/web/20070712184703/http://s... //arxiv.org/abs/1407.6873 //doi.org/10.1088%2F0067-0049%2F214%2F1%2F1 http://dx.doi.org/10.1007%2Fs10511-006-0002-6 http://dx.doi.org/10.1086%2F499161 http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/4679220.... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/2014ApJS..214......