ประวัติ ของ ดำรงค์_พิเดช

จากเหตุการณ์คืนวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ปฏิบัติการทวงคืนผืนป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน นำโดยนายดำรงค์ พิเดช ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชขณะนั้น ถือเป็นครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของกรมอุทยานฯ[2] โดยมีการระดมกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานฯจากทั่วประเทศกว่า 4000 นาย ลงพื้นที่รื้อถอนรีสอร์ต จำนวน 9 แห่ง รวมพื้นที่ 1,857 ไร่ โดยในการรื้อถอนครั้งนี้มีรีสอร์ทขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่วังน้ำเขียว ทับลาน รวมอยู่ด้วยคือ บ้านทะเลหมอกรีสอร์ท ที่มีมูลค่าการลงทุนกว่า 200 ล้าน ในเนื้อที่ 70 กว่าไร่[3] ซึ่งระหว่างปฏิบัติการก็มีกลุ่มคนที่มาขัดขวางการรื้อถอน

ภายหลังการรื้อถอนบ้านทะเลหมอกรีสอร์ท ได้มีข่าวโยกย้ายนายดำรงค์ ขณะเดียวกันได้มีการรวมกลุ่มของสมาคมศิษย์เก่าคณะวนศาสตร์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิเพื่อนช้าง สมาคมอุทยานแห่งชาติ และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เครือข่ายการจัดการวิกฤตป่าไม้และน้ำ 15 องค์กร สนับสนุนการการปฏิบัติหน้าที่ของอธิบดีกรมอุทยานฯ ว่าเป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยชอบที่ข้าราชการที่ดีทั้งหลายพึงต้องปฏิบัติ เป็นการพิทักษ์ ปกป้องพื้นที่ป่าไม้ที่ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่อุทยานฯ เป็นความกล้าหาญของข้าราชการที่กล้ากระทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าจะถูกกดดันจากอิทธิพลรอบด้าน และกระแสผลประโยชน์ของเงินทุน แม้ว่าตนเองจะเกษียณอายุราชการในอีกไม่กี่วันข้างหน้าก็ตาม[4] ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดความฮึกเหิมในการทำหน้าที่ และคนที่เป็นอธิบดีคนต่อไปถ้าไม่ดำเนินการตามนี้ สังคมก็จะจับตาและตั้งคำถามต่อไป จนเกิดปรากฏการณ์ดำรงค์ พิเดช ขึ้น[5]

เรื่องปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานมีความสำคัญมากเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ การดำเนินการรื้อถอนบ้านพักและรีสอร์ทที่บุกรุกพื้นที่จึงเป็นไปตามข้อบังคับของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งศูนย์มรดกโลกได้ส่งตัวแทนเข้ามาติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และมีข้อมติจากคณะกรรมการมรดกโลกให้ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งจะนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 36 ที่ประเทศรัสเซีย เช่น แก้ปัญหาและติดตามการบุกรุกพื้นที่มรดกโลกอย่างใกล้ชิด และมีการปรับปรุงแนวเขตที่เหมาะสม มีการพิจารณาขยายผนวกพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่บุกรุก ลดกิจกรรมการเลี้ยงปศุสัตว์ ลดผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนห้วยโสมง การดำเนินการถนนสาย 304 เพื่อเชื่อมต่อผืนป่า เป็นต้น[6]

การศึกษา

  • จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รร.อุทัยทวีเวช อ.เมือง จ.อุทัยธานี
  • จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รร.สันติราษฎร์บำรุง กทม.
  • จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วนศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จบการศึกษาระดับปริญญาโท พัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

ตำแหน่งหน้าที่

  • ผู้ช่วยโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำอ่างขาง บ้านหลวง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
  • เจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  • ผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ ห้วยน้ำดัง จ.เชียงใหม่ (เริ่มต้นบรรจุเป็นข้าราชการ)
  • หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำดอยตุง อ.แม่จัน จ.เชียงราย
  • หัวหน้าฝ่ายป้องกันรักษาป่า สำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย (สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15)
  • ป่าไม้จังหวัดเชียงราย
  • ป่าไม้เขตเชียงราย (สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15)
  • ผู้อำนวยการโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ บ้านเย้า (หนองห้า) อ.เชียงคำ จ. พะเยา
  • ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาเกษตรบนพื้นที่สูงตามแนวทางพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ เช่น บ.ปางขอน ต.ห้วยชมภู อ.เมือง จ.เชียงราย, บ.ธารทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย, บ.ห้วยหยวกป่าโซ่ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เป็นต้น
  • ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้
  • รองอธิบดีกรมป่าไม้
  • 6 พฤศจิกายน 2548 อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • 1 ตุลาคม 2549 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • 6 พฤษภาคม 2551 รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • ที่ปรึกษามูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด
  • 6 กันยายน 2554 อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (เกษียณ 30 กันยายน 2555)
  • 12 ธันวาคม 2555 หัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย (ทป.)
  • 20 สิงหาคม 2556 ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • 19 กรกฎาคม 2557 ที่ปรึกษาฝ่ายสังคมจิตวิทยา ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  • 6 ตุลาคม 2557 สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
  • 5 ตุลาคม 2558 สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)

งานการเมือง

ดำรงค์ พิเดช ได้จัดตั้งพรรคการเมือง และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย โดยภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย[7] แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทยได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 คน รวมถึงนายดำรงค์ด้วย[8]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดำรงค์_พิเดช http://thaipublica.org/2011/10/dumrong-pidech/ http://alumni.forest.ku.ac.th/PopMembDet.php?gener... http://www.dailynews.co.th/crime/6948 http://www.dailynews.co.th/politics/148016 http://www.dailynews.co.th/politics/155473 http://www.thairath.co.th/content/edu/269888 http://www.thairath.co.th/content/newspaper/281735 http://www.thairath.co.th/content/region/279375 http://www.thairath.co.th/people/view/pol/8401 http://news.voicetv.co.th/thailand/50630.html