การผลิต ของ ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย_2

การถ่ายทำและการออกอากาศ

ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2 มีการเดินทางคิดเป็นระยะทางประมาณ 50,000 กิโลเมตร (32,023 ไมล์) ใน 24 วัน รวมถึงไม่ได้มีการตั้งชื่อตอนแต่ละตอนที่ออกอากาศด้วย [2] และมีการเดินทางผ่านทั้งหมด 4 ทวีป[3] สำหรับการแข่งขันครั้งนี้มีการนำกติกาใหม่บางส่วนของเวอร์ชันอเมริกา มาใช้ เช่นกฎ Marked As Elimination (ทีมที่เข้าจุดพักเป็นลำดับสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออกจะต้องเข้าเป็นที่หนึ่งในเลกถัดไป มิฉะนั้นจะถูกปรับเวลา 30 นาทีแทน) โดยในฤดูกาลนี้ ทางผู้ผลิตรายการพยายามได้พยายามให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น โดยให้มีการขับรถด้วยตัวเองมากขึ้น และพยายามลดโอกาสในการขึ้นเครื่องบินในเที่ยวบินเดียวกันของผู้เข้าแข่งขันลง[4]

สำหรับซีซั่นนี้ (และ ซีซั่นที่ 3) มีบทลงโทษที่แตกต่างกันสองประการ สำหรับทีมที่เข้ามาเป็นลำดับสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก ขณะที่เอ็ดวินกับโมนิก้าถูก Marked As Elimination เนื่องจากเข้ามาเป็นทีมสุดท้ายในเลกแรกซึ่งไม่มีการคัดออก เทรี่กับเฮนรี่ถูกยืดเงินเนื่องจากเข้าเป็นลำดับสุดท้ายในเลก 6 ที่ไม่มีการคัดออกเช่นกัน และจะไม่ได้รับเงินใช้ในเลกต่อไป โดยผู้เข้าแข่งขันไม่ได้รับการแจ้งล่วงหน้าว่ากฎเรื่องการยืดเงินในกรณีนี้ยังคงมีการใช้อยู่ เรื่องของการเปลี่ยนกฎมาใช้กฎการยืดเงินนี้นำไปสู่การถกเถียงกันระหว่างเฮนรี่กับพิธีกร อลัน วู ที่จุดหยุดพักที่โซล, เกาหลีใต้ ในเลก 6 ที่ทีมเดิมจะไม่ให้เงินคืนกับอลัน[5] และในเลกต่อมาเทรี่กับเฮนรี่ก็ได้พบกับบทลงโทษเดิมในการแข่งขันครั้งนี้ (Marked As Elimination) หลังจากพวกเขาเข้ามาเป็นลำดับสุดท้ายอีกครั้ง โดยรวมฤดูกาลนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเนื่องจากการลงทุนที่เดินทางไกลผ่าน 4 ทวีปทำให้เป็นสถานที่ที่แตกต่างกันมากๆ รวมถึงมีผู้เข้าแข่งขันที่เป็นดาราเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ฤดูกาลนี้มีผู้ชมที่มากกว่าเดิมในฤดูกาลที่ 1 เป็นอย่างมาก

การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน

ซีซั่นนี้มีผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 10 ทีม จากผู้สมัครกว่า 2,500 คน ซึ่งผู้สมัครนี้ก็มีผู้เข้าแข่งขันที่เคยแข่งขันในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา รวมอยู่ด้วย คือ เค็นกับวิกซัน ที่ได้รับเลือกให้แข่งในฤดูกาลที่ 12 ของเวอร์ชันสหรัฐฯ[3] ซีซั่นนี้ปิดรับสมัครในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 (เป็นเวลาที่ขยายแล้ว 2 สัปดาห์จากกำหนดเดิม) ในการแข่งขันครั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นสามารถเข้าร่วมได้ หลังจากถูกห้ามในซีซั่นที่ 1 การสัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายมีขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2550 และการถ่ายทำมีขึ้นในช่วงเดือน มิถุนายนถึงกรกฎาคม ในปีเดียวกัน[6][7]

ในซีซั่นนี้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 ทีมนั้นมีทีมที่เป็นทีมพี่น้องที่กลับมารวมตัวกัน เพื่อนสมัยเด็กและคู่เดท[3] เอเดรียนเป็นผู้เข้าแข่งขันคนแรกของดิ อะเมซิ่ง เรซทุก ๆ ฤดูกาลทั้งของสหรัฐอเมริกาและเอเชีย ที่มีปัญหาทางการได้ยิน[8] ซีซั่นนี้ยังมีการนำเสนอผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายคน โมนิก้า โล เคยเป็นตัวแทนของเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เข้าประกวด Miss Chinese International Pageant ปี 1997 และเธอก็ชนะการประกวดด้วย[9] พอลล่า เทเลอร์ เป็นนางแบบ นักแสดง และวีเจทางช่องแชนแนลวีไทยแลนด์[4] พาเมล่า และ วาเนสซ่า ชอง เป็นน้องสาวของ วินซ์ ชอง นักร้องมาเลเซียที่มีชื่อเสียง[10] คินาร์โยชิ (หรือ คินาร์) เป็นนักแสดงและนางแบบชาวอินโดนีเซีย เธออยู่ในโฆษณาโทรทัศน์และภาพยนตร์ของอินโดนีเซีย โดยเคยได้รับรางวัล Citra award สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมในปี พ.ศ. 2549[11] นอกจากนี้ยังเคยเข้าร่วมแข่งขันในรายการ Seleb Dance และรายการเดียวกันของอินเดีย Nach Baliye อีกทั้งยังชนะการแข่งรายการ Fear Factor Indonesia ด้วย โซฟีเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ ให้กับ ดิสคัฟเวอรี แชนแนลอีกด้วย [12] และเป็นนักข่าวในงานภาพยนตร์อาเซียนอีกด้วย[13] มาร์ค เนลสัน เป็นนายแบบ และหนึ่งในพิธีกรรายการกีฬา Sports Unlimited ในช่อง ABS-CBN ของฟิลิปปินส์ ขณะที่เพื่อนร่วมทีม โรวิลสัน เฟอร์นันเดส เป็นพิธีกรรายการกีฬา Gameplan และยังเป็นบรรณาธิการบริหารของนิตยสาร Maxim ฉบับของฟิลิปปินส์ และทั้งคู่ก็เป็นพิธีกรรายการ The Duke ทางAXN (เลิกออกอากาศแล้ว)[14]

ในซีซั่นนี้มีผู้เข้าแข่งขันเพียง 2 คนที่ไม่ใช่ชาวเอเชียแท้ ๆ ซึ่งก็คือ เฮนรี่ รี้ด เขาเป็นนาวิกโยธินสหรัฐในตำแหน่ง Senior Chief Petty Officer ที่เกษียณอายุแล้ว ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยแข่งคู่กับภรรยาชาวฟิลิปปินส์ ตรินิแดด (รู้จักกันในชื่อเทรี่)[15] และอีกคนหนึ่งคือ ออเรเลีย เชนาท เดิมเธอมาจากประเทศฝรั่งเศส แต่ปัจจุบันอาศัยและเป็นตัวแทนของประเทศฮ่องกง โดยแข่งคู่กับโซฟี เต็ง ซึ่งเป็นชาวสิงคโปร์ แต่แข่งขันในตัวแทนของประเทศฮ่องกงเช่นกัน[16][1] และเนื่องจากการแข่งขันในฤดูกาลนี้มีผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นส่วนใหญ่จึงน่าจะเป็นการดึงให้มีผู้ชมมากขึ้น

การตลาด

ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2 มีผู้สนับสนุนหลัก 6 บริษัท (อาวีว่า, คาลเท็กซ์, โนเกีย เอ็นซีรีส์, โซนี่, บินตาน ลากูน รีสอร์ต และ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด)[17] ผู้สนับสนุนมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันโดยการให้รางวัล หรือในบางภารกิจของการแข่งขัน ก็จะมีสิ่งที่เกี่ยวกับบริษัทผู้สนับสนุนเหล่านี้อยู่ด้วย ฤดูกาลนี้มีการออกอากาศตอนพิเศษ 2 ตอน คือ Racers Revealed ที่ออกอากาศ 3 สัปดาห์ก่อนการแข่งขันจะออกอากาศ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแนะนำตัวผู้เข้าแข่งขันและการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน[18] และ Memories ที่ออกอากาศ 1 สัปดาห์หลังจากตอนสุดท้ายออกอากาศ มีเนื้อหาเกี่ยวกับความทรงจำของผู้เข้าแข่งขันในระหว่างการแข่งขัน และไฮไลต์ของการแข่งขัน ซึ่งคล้ายกับที่เคยทำใน ซีซั่นที่ 1

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย_2 http://www.alivenotdead.com/allanwu/Where-d+the+Fi... http://www.asiamediajournal.com/pressrelease.php?i... http://www.aviva-asia.com/index.cfm?pageid=52 http://amazing-race-asia.axn-asia.com/ http://amazing-race-asia.axn-asia.com/season2/ http://amazing-race-asia.axn-asia.com/season2/down... http://amazing-race-asia.axn-asia.com/season2/team... http://amazing-race-asia.axn-asia.com/season2/team... http://amazing-race-asia.axn-asia.com/season2/team... http://amazing-race-asia.axn-asia.com/story/351/