ดิเล็มมาเทียม
ดิเล็มมาเทียม

ดิเล็มมาเทียม

บทความนี้อ้างอิงคริสต์ศักราช/คริสต์ทศวรรษ/คริสต์ศตวรรษ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของเนื้อหา ดิเล็มมาเทียม (อังกฤษ: false dilemma, false dichotomy) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยซึ่งเกิดจากข้อตั้งที่จำกัดทางเลือกอย่างผิด ๆ โดยเหตุผลไม่ได้วิบัติเพราะการอนุมานที่ผิด ๆ แต่เกิดจากข้อตั้งที่ผิดอยู่ในรูปแบบเป็นการเลือกเชิงตรรกศาสตร์ว่า ทางเลือกทางใดทางหนึ่งที่ระบุจะต้องเป็นจริงเป็นปัญหาเพราะกันทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้เช่น เมื่อกล่าวว่า "ก. พูดต่อต้านระบบทุนนิยม ดังนั้น เขาต้องเป็นคอมมิวนิสต์"ทางเลือกที่ถูกกันออกก็คือ ก. อาจไม่ใช่คอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่ใช่นักทุนนิยมด้วยดิเล็มมาเทียมมักมีรูปแบบเป็นข้อความตรงข้ามกันสองอย่าง โดยทั้งสองอาจเป็นเท็จ รูปแบบการอนุมานหลายอย่างสัมพันธ์กับดิเล็มมาเทียม เช่น constructive dilemma, destructive dilemma และ disjunctive syllogismปกติแล้วดิเล็มมาเทียมจะใช้เมื่อให้เหตุผลแบบนิรนัย (deductive argument)แต่ก็พบในรูปแบบ defeasible argument ด้วยที่เรามักสร้างดิเล็มมาเทียมขึ้นอาจเป็นเพราะว่า ต้องการทำเหตุการณ์ให้เป็นเรื่องง่าย ๆ โดยใช้วลีที่แบ่งความจริงออกเป็นสองพวก ซึ่งอาจมีอยู่ในโครงสร้างภาษาบางอย่างแล้วด้วยซ้ำ (เช่น สำนวนอังกฤษว่า either...or)หรืออาจเป็นเพราะต้องการความชัดเจนแล้วปฏิเสธความคลุมเครือที่มีอยู่โดยธรรมชาติในคำพูดรูปแบบต่าง ๆ

ใกล้เคียง

ดิเล็มมาปลอม ดิเอ็กซ์แฟกเตอร์ ประเทศไทย ดิเลนิ แดเนียล-เซลวาร์แนม ดิเอ็ดซัลลิแวนโชว์ ดิเอ็กซ์แฟกเตอร์ (สหราชอาณาจักร) ดิเอ็มควอเทียร์ ดิเอ็มโพเรียม ดิเอ็มดิสทริกต์ ดิเอ็กซ์เพ็นเดโบรส์ ดิ เอ็กซ์เพ็นเดเบิลส์ โคตรคนทีมมหากาฬ 3