ด้วงงวงมะพร้าว
ด้วงงวงมะพร้าว

ด้วงงวงมะพร้าว

ด้วงงวงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน หรือ แมงหวัง[2] ในภาษาใต้ (อังกฤษ: Red palm weevil, Red-stripes palm weevil, Asian palm weevil, Sago palm weevil) เป็นด้วงงวงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchophorus ferrugineusจัดว่าเป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มิลลิเมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีขนาดและลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ตัวผู้มีขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลาย ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหาร โดยด้วงงวงชนิดนี้นับเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะพืชจำพวกปาล์ม เช่น มะพร้าวหรือสาคู หรือลาน ในประเทศไทยพบมากที่ภาคใต้ ตัวหนอนจะอาศัยและกัดกินบริเวณยอดอ่อน ตัวเต็มวัยจะเกาะกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรง ซึ่งอาจทำให้ต้นตายได้ โดยจะบินออกหากินในเวลากลางวัน สามารถบินได้ไกลถึง 900 เมตร และอาจซ้ำกินซ้ำเติมจากที่ด้วงแรดมะพร้าว (Oryctes rhinoceros) ซึ่งเป็นด้วงกว่างกินแล้วด้วย ตัวเมียใช้เวลาวางไข่นาน 5-8 สัปดาห์ ในปริมาณเฉลี่ย 400 ฟองกระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่อินเดียจนถึงซามัว แต่ปัจจุบันได้แพร่กระจายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปในทวีปต่าง ๆ ของโลก[3]แต่ในปัจจุบัน ตัวหนอนของด้วงงวงชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมของการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยนิยมบริโภคกัน มีราคาซื้อขายที่สูงถึงกิโลกรัมละ 200-300 บาท โดยระยะจากไข่-หนอน-ดักแด้ใช้เวลา 60 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุ 2-3 เดือน[4] บางเจ้าจะนำ หนอนด้วงแรดมาแทน เพราะราคาถูกกว่า แต่อร่อยไม่เท่า