สภาครอบครัวและธรรมนูญครอบครัว ของ ตระกูลจิราธิวัฒน์

ภายหลังจากเกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ วันชัย จิราธิวัฒน์ ผู้นำองค์กรคนที่ 3 ปรับโครงสร้างองค์กร เปลี่ยนจากธุรกิจแบบกงสีมาสู่ความเป็นมืออาชีพมากขึ้น โดยให้วิโรจน์ ภู่ตระกูล ซีอีโอคนแรกของลีเวอร์ บราเธอร์ (ประเทศไทย) หรือยูนิลีเวอร์ มาช่วยจัดทำสภาครอบครัวและร่างธรรมนูญครอบครัว ตั้งแต่ปี 2541 ใช้เวลา 4 ปี หรือปี 2545 จึงแล้วเสร็จ ธรรมนูญครอบครัวมีไว้สำหรับ ทายาทและคู่สมรส 5 รุ่น

โครงสร้างการปกครอง

สำหรับโครงสร้างการปกครอง แบ่งเป็น 3 ส่วน[3]

  • ครอบครัว มีสภาครอบครัว (Family council) มีสุทธิชัย จิราธิวัฒน์เป็นหัวหน้าสภา และมีผู้ใหญ่ในครอบครัว 14 คน มาจากสมาชิกทุกกลุ่มนั่งเป็นบอร์ดในสภา สภาครอบครัวทำหน้าที่ดูแลเรื่องพื้นฐานของสมาชิกครอบครัวจิราธิวัฒน์ อย่าง สวัสดิการ ค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล การจัดงานแต่งงาน งานศพ ฯลฯ
  • ความเป็นเจ้าของ มี CG Board หรือมาจากเซ็นทรัล กรุ๊ป จากครอบครัวดูแล ยังมีคนนอกรวมเป็น 8-19 คน หน้าที่ของบอร์ดคือตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนมูลค่าเกินกว่า 3,000 ล้านบาท รวมถึงรายงานผลการดำเนินงานของธุรกิจครอบครัว การจ่ายเงินปันผลด้วย
  • ธุรกิจ มีทศเป็นหัวหน้า และปริญญ์ จิราธิวัฒน์ คุมการเงิน สำหรับหน้าที่ของกรรมการบริหารนี้คือจะตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนมูลค่าต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท โดยต้องแจ้ง CG Board ด้วย แต่ไม่ต้องตัดสินใจ

ธรรมนูญครอบครัว

ตระกูลจิราธิวัฒน์มีการกำหนดรายละเอียด​ กฎระเบียบ หรือข้อตกลงต่าง ๆ ดังนี้การแบ่งผู้ถือหุ้น ในส่วนของความเป็นเจ้าของ ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล คือ รุ่นที่ 2 หรือลูกคุณเตียงโดยตรง ซึ่งมีอยู่ 26 คน (ปัจจุบันเหลือ 23 คน) ทั้งนี้ทายาทในแต่ละสายเป็นผูได้รับประโยชน์ต่อ สมาชิกทั้ง 3 สาย ได้รับหุ้นในจำนวนที่เท่ากัน เริ่มมีการจ่ายเงินปันผลผู้ถือหุ้น ในปี พ.ศ. 2543 เป็นปีแรก ตระกูลไม่อนุญาตให้เขยหรือสะใภ้เข้ามาทำงานในเครือ เนื่องจากมองว่าแต่ละบ้านได้รับการเลี้ยงดู หรือเติบโตมาแตกต่างกัน ในด้านสวัสดิการ มีการกำหนดถึงขอบเขตของสิทธิ เช่น ฝั่งจิราธิวัฒน์ที่เป็นผู้หญิงอาจจะมีสิทธิในบางเรื่องบางอย่างน้อยกว่าผู้ชาย​ โดยเฉพาะในแง่ของการถ่ายทอดสิทธิสวัสดิการไปยังรุ่นถัดไป หรือในแง่ของการถือหุ้นที่อาจจะลดหลั่นลงมา ในการซื้อขายหุ้น ห้ามขายหุ้นให้แก่บุคคลอื่น แต่ขายหุ้นกันภายในครอบครัวได้[17]

ตระกูลมีเว็บไซต์ส่วนตัวเพื่อให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวเข้าไปศึกษารายละเอียดของสิทธิ บทบาท และขอบเขตที่สมาชิก จะได้รับ ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย การศึกษา การรักษาพยาบาล การแต่งงาน รวมไปถึงการจัดการงานศพ นอกจากนั้นยังมีกำหนดวาระที่สมาชิกต้องมาพบปะกัน โดยสมาชิกครอบครัวจะมาพบปะกันทุกไตรมาสที่บ้านศาลาแดง โดยจะมาพบกันใน 2 เทศกาลสำคัญ คือ วันตรุษจีน กับวันคริสต์มาส และมีการจัด Chirathivat MIM​ (Management Information Meeting) อีกปีละ 2 ครั้ง ทั้งใน กรุงเทพและต่างจังหวัด

ธรรมนูญครอบครัวมีการกำหนดกฎและบทลงโทษ ทั้งมีการตักเตือน ทำทัณฑ์บน มีการตัดเงินสวัสดิการ และหากยังไม่มีการปรับปรุง หรือยังคงทำผิดมากเกินกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ก็จะมีการใช้มาตรการสูงสุด เช่น ตัดเงินสวัสดิการที่เคยช่วยเหลือทั้งหมด นอกจากนั้นยังมีข้อคิดจากผู้ใหญ่ในตระกูล เช่น ให้อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว, ประหยัด, ขยัน มานะบากบั่น และซื่อสัตย์, มีความยุติธรรม, รับผิดชอบต่อหน้าที่, มีความต่อเนื่องของผู้บริหารทั้งคนในและคนนอก รวมทั้งการคิดค้นและสร้างนวัตกรรมใหม่ ข้อควรหลีกเลี่ยง เช่น การสูบบุหรี่, พูดมากไร้สาระ,​ไม่ตรงต่อเวลา, โลภ เอาแต่ได้, อวดเก่งแต่ไม่เก่งจริง, เอาเปรียบผู้อื่น,​ เกียจคร้าน, โกง ปากกับใจไม่ตรงกัน, ไม่ฟังความเห็นผู้อื่น, ดื้อรั้น สติปัญญาน้อย[2]

ใกล้เคียง

ตระกูลชินวัตร ตระกูลจิราธิวัฒน์ ตระกูลภาษาขร้า–ไท ตระกูลบุนนาค ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ตระกูลอักษรพราหมี ตระกูลล่ำซำ ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลเกมบอย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตระกูลจิราธิวัฒน์ http://www.brandage.com/article/7872/GEN-Y http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cac... http://www.wealthythai.com/web/contents/WT19080009... https://marketeeronline.co/archives/115193 https://readthecloud.co/ceo-9/ https://thepeople.co/tos-chirathivat-ceo-central-g... https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/849029 https://www.forbes.com/thailand-billionaires/list/ https://th.hellomagazine.com/hello-list/pachara-ch... https://th.hellomagazine.com/hello-list/thayawat-c...