สัทวิทยา ของ ตระกูลภาษาดราวิเดียน

ภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมมีเสียสระสั้นและยาวของเสียง a e i o u มีสระสั้นยาวต่างกันเป็นคู่ชัดเจน ไม่มีสระประสม เสียงกักเกิดจากโคนฟัน กลายเป็นเสียงรัวเกิดจากโคนฟัน โดยยังคงเป็นเสียงกักในภาษาโกตะและภาษาโตทะ ภาษามลยาฬัมสามารถรักษาเสียงกักดั้งเดิมในการเขียน ในภาษาทมิฬโบราณมีการใช้สระที่อกเสียงคล้ายกับเสียงกักอื่นๆ เสียงนาสิกที่เกิดจากเพดานอ่อนเกิดเฉพาะก่อนเสียง k ในภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม เช่นเดียวกับในภาษาลูกหลานหลายภาษา เสียงนี้ไม่จัดเป็นหน่วยเสียงในภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม แต่เป็นหน่วยเสียงในภาษามลยาฬัม ภาษาโคนที และภาษาโกนทะ เสียงเสียดแทรกจากเส้นเสียงพบในภาษาทมิฬโบราณ

ภาษากลุ่มดราวิเดียนไม่มีการแยกระหว่างเสียงที่มีและไม่มีลม ในขณะที่ภาษาดราวิเดียนบางภาษา เช่น ภาษามลยาฬัม ภาษากันนาดาและภาษาเตลูกูได้ยอมรับคำยืมจำนวนมากจากภาษาสันสกฤตและภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนอื่นๆ ทำให้มีการแยกเสียงที่ก้องและเสียงที่มีลม ส่วนในภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่นๆจะมีวิธีการออกเสียงที่แปลกไป ในขณะที่ภาษาทมิฬมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาฟิน ภาษาเกาหลี ภาษาไอนุและภาษาของชนพื้นเมืองในออสเตรเลียส่วนใหญ่คือไม่แยกระหว่างเสียงกักก้องและไม่ก้อง

มีคำจำนวนมากที่ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยเสียงสระซึ่งช่วยให้การเรียงคำแบบรูปคำติดต่อง่ายขึ้น ตัวเลขจาก 1-10 มีความหลากหลายในตระกูลภาษาดราวิเดียน ตัวอย่างเช่น ตัวเลขจากภาษาทมิฬและภาษามลยาฬัมใกล้เคียงกับภาษาโกลามี เลข 5-10 ยืมมาจากภาษาเตลูกู คำที่บอกอันดับที่สองยืมมาจากกลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียนเป็นต้น

ใกล้เคียง

ตระกูลชินวัตร ตระกูลจิราธิวัฒน์ ตระกูลเจียรวนนท์ ตระกูลภาษาขร้า–ไท ตระกูลบุนนาค ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ตระกูลอักษรพราหมี ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลล่ำซำ