อิทธิพลต่อภาษาสันสกฤต ของ ตระกูลภาษาดราวิเดียน

ภาษาสันสกฤตและกลุ่มภาษาดาวิเดียนมีอิทธิพลต่อกันในหลายด้าน มุมมองในยุคแรกมักเน้นอิทธิพลของภาษาสันสกฤตต่อกลุ่มภาษาดราวิเดียน ในด้านที่ว่ากลุ่มภาษาดราวิเดียน เช่น ภาษากันนาดา ภาษามลยาฬัม ภาษาทมิฬและภาษาเตลูกูได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตในด้านคำศัพท์ ไวยากรณ์ และรูปแบบการเขียนวรรณคดี

การศึกษาในปัจจุบัน เริ่มมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าภาษาสันสกฤตได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาดราวิเดียนมากขึ้นทั้งในด้านสัทวิทยาและโครงสร้างไวยากรณ์ ซึ่งพบตั้งแต่ราว 657 ปีก่อนพุทธศักราช ในยุคของภาษาสันสกฤตพระเวท โดยในยุคนี้ ภาษาสันสกฤตมีเสียงม้วนลิ้น ซึ่งภาษาในกลุ่มอินโด-อิเรเนียนไม่มีเสียงนี้ จึงเป็นข้อสังเกตว่าน่าจะได้รับหน่วยเสียงนี้มาจากภาษาอื่น ซึ่งกลุ่มภาษาดราวิเดียนมีหน่วยเสียงเหล่านี้มาก อิทธิพลในด้านไวยากรณ์ที่สำคัญคือ การใช่เครื่องหมาย iti และการใช้รูปอาการนามของคำกริยาซึ่งไม่พบในภาษาอเวสตะ ที่เป็นภาษาพี่น้องของภาษาสันสกฤตพระเวท

ใกล้เคียง

ตระกูลชินวัตร ตระกูลจิราธิวัฒน์ ตระกูลเจียรวนนท์ ตระกูลภาษาขร้า–ไท ตระกูลบุนนาค ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ตระกูลอักษรพราหมี ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลล่ำซำ